วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

พ.ร.บ. ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 มีอะไรในกอไผ่

พ.ร.บ. ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 มีอะไรในกอไผ่
กมล กมลตระกูล
มีประชาชนจำนวนมากวิเคราะห์วิจารณ์ว่า พ.ร.บ. ทุนรัฐวิสาหกิจ คือใบอนุญาตปล้นชาติ ปล้นแผ่นดินโดยการนำสมบัติของแผ่นดินและของประชาชนทั้งชาติไป “ขายกิน” กันในหมู่พวกพ้อง และบริษัทข้ามชาติ โดยไม่ผิดกฎหมาย
ข้อกล่าวหาข้างต้นมีมูลหรือไม่ ควรจะต้องมา พิจารณากันดู
มาตรา 4 ใน พ.ร.บ. นี้ ระบุว่า “ ในกรณีที่รัฐบาลมีนโยบายที่จะนำทุนบางส่วนหรือทั้งหมดของรัฐวิสาหกิจใดมาเปลี่ยนสภาพเป็นหุ้นในรูปแบบของบริษัทให้กระทำได้ตาม พ.ร.บ. นี้”
มาตรานี้ชัดเจนตามข้อกล่าวหาข้างต้นอย่างสมบูรณ์ คือ การให้อำนาจคณะกรรมการจำนวน 15 คนมีอำนาจนำทรัพย์สินจำนวนมหาศาลของแผ่นดินหรือของประชาชนไปขายได้ตามชอบใจ โดยมีมาตรา 22 มารองรับว่า “ เมื่อมีการจดทะเบียนเป็นบริษัทแล้ว ให้การดำเนินกิจการของบริษัทเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือ กฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชน” ซึ่งหมายความว่าใครจะเข้ามาซื้อหุ้นก็ได้ และเมื่อคุมเสียงข้างมากได้ก็สามารถลดทุนหรือ ถอนทุน หรือ จ่ายเงินปันผลไห้มากตามชอบใจได้
ตัวอย่าง เช่น เมื่อบริษัทข้ามชาตินำเงินเข้ามาซื้อรัฐวิสาหกิจ 1 หมื่นล้านบาท พอวันรุ่งขึ้นคณะกรรมการบริหารซึ่งแต่งตั้งโดยผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ก็ลงมติให้ลดทุนลงทุนที 1 หมื่นล้านบาท เพราะเหตุว่า ทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจนั้นมีมูลค่าสูงกว่าราคาที่ประเมินกันในท้องตลาด ประกอบกับมีลูกค้าแน่นอน ซึ่งสามารถนำมาเป็นฐานรายได้ เพื่อนำไปกู้เงินกับธนาคารนำเงินมาดำเนินการได้
หรือถ้าบริษัทข้ามชาติหน้าบางหน่อย ก็อาจจะใช้วิธีการแบ่งเงินปันผลเมื่อเวลาสิ้นปีด้วยยอดเงินจำนวนเดียวกันก็ได้
โดยวิธีการนี้ก็เท่ากับว่าบริษัทข้ามชาติได้รัฐวิสาหกิจไปฟรีๆ แล้วจะมาสับโขกขึ้นราคากับคนไทยอย่างไรก็ได้ ตามที่บัญัติไว้ในมาตรา 4 นี้
มาตรา 7 ระบุว่า “ การตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ โดย ค.ร.ม. ให้แต่งตั้งโดยระบุตัวบุคคล”
มาตรานี้แสดงถึงความไม่โปร่งใสอย่างเจตนา เพราะไม่มีกระบวนการสรรหา คัดเลือกที่ประชาชน นักวิชาการ วุฒิสภา หรือสภาทนายความ และองค์กรอิสระมีส่วนร่วม จึงสามารถฮั้วเอาสมัครพรรคพวกที่ไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติและประชาชนมาเป็นกรรมการได้ถึง 6 คนจาก 15 คน
มาตรา 13 กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ “ เสนอความเห็นต่อ ค.ร.ม. เพื่อพิจารณาอนุมัติในหลักการและแนวทางให้ดำเนินการนำทุนบางส่วนหรือทั้งหมดของรัฐวิสาหกิจมาเปลี่ยนสภาพเป็นหุ้นในรูปแบบของบริษัท”
สมบัติของคนทั้งชาติทำไมจึงไม่ให้รัฐสภาเป็นผู้ตัดสิน และให้ประชาชนได้ลงประชามติให้ความเห็นชอบก่อน หรือ ให้วุฒิสภาให้ความเห็นชอบก่อน แต่มอบอำนาจให้คนเพียง 15 คนซึ่งมาจากการแต่งตั้งเป็นคนตัดสิน น่าคิดนะครับ
มาตรา 24 มาตรานี้สำคัญมาก โดยระบุว่า “ ให้บรรดากิจการ สิทธิ หนี้ ความรับผิด และสินทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจโอนไปเป็นของบริษัท”
“ในกรณีหนี้ที่โอนไปเป็นของบริษัท เป็นหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันอยู่แล้ว ให้กระทรวงการคลังค้ำประกันหนี้ต่อไป “
“ สิทธิตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงสิทธิตามสัญญาเช่าที่ดินที่เป็นที่ราชพัสดุหรือสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ที่รัฐวิสาหกิจมีอยู่ในวันจดทะเบียนบริษัทนั้นด้วย”
“ ส่วนสิทธิในการใช้ราชพัสดุหรือสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่รัฐวิสาหกิจเคยมีอยู่ตามกฎหมายที่ราชพัสดุหรือกฎหมายอื่น ให้บริษัทมีสิทธิในการใช้ที่นั้นต่อไปตามเงื่อนไขเดิม “
มาตรานี้คือการเอากะทิ อันหมายถึงอภิสิทธิ์ หรือ สิทธิพิเศษต่างๆที่ได้ใช้อำนาจรัฐอนุมัติให้เป็นกรณีพิเศษเพราะเป็นรัฐวิสาหกิจ และบางกิจการเป็นเรื่องของสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ไปถวายให้กับเอกชนหรือ บริษัทข้ามชาติ อย่างให้เปล่า แต่ประชาชนกลับต้องมารับภาระ คือ กระทรวงการคลังก็ยังต้องค้ำประกันหนี้ต่อไป
อภิสิทธิ์ สิทธิพิเศษ และสิทธิประโยชน์ในสาธารสมบัติของแผ่นดินก็ต้องยกให้เอกชนหรือ บริษัทข้ามชาติไปหมด
มาตรา 26 คล้ายกับมาตราข้างต้น คือตอกย้ำการให้สิทธิพิเศษต่อบริษัทที่แปรรูปเป็นของเอกชนโดยระบุว่า “ กฎหมายอื่นมีบทบัญญัติให้อำนาจรัฐวิสาหกิจดำเนินการใดๆต่อบุคคล ทรัพย์สิน หรือสิทธิของบุคคล หรือมีบทบัญญัติให้การดำเนินการของรัฐวิสาหกิจนั้นได้รับยกเว้นไม่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการใด หรือได้รับยกเว้นการปฎิบัติตามกฎหมายในเรื่องใด หรือมีบทบัญญัติให้สิทธิพิเศษแก่รัฐวิสาหกิจนั้นเป็นกรณีเฉพาะ หรือมีบทบัญญัติคุ้มครองกิจการ พนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ ให้ถือว่าบทบัญญัตินั้นมีผลใช้บังคับต่อไป”
เป็นเรื่องที่แปลกแต่จริงที่ว่า รัฐต้องการยุบรัฐวิสาหกิจ แต่กลับคงอภิสิทธิ์และสิทธิพิเศษต่างๆ รวมทั้งข้อยกเว้นต่างๆที่ให้ไว้กับรัฐวิสาหกิจ เพราะถือว่าเป็นกิจการของรัฐ และมีจุดประสงค์เพื่อการให้บริการประชาชน แต่กลับคงสิทธินี้ไว้ให้กับเอกชนต่อไปเมื่อแปรรูปไปแล้วเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจในการหากำไรสูงสุด มิใช่เพื่อการบริการอีกต่อไป
การแปรรูปแบบนี้จะไม่เรียกว่าการเอาผลประโยชน์ของชาติของแผ่นดินไปขายได้อย่างไรครับ
การรถไฟซึ่งมีที่ดินทั่วประเทศในย่านใจกลางเมืองคิดเป็นมูลค่านับแสนๆล้านบาทซึ่งยังไม่เคยมีการประเมินมูลค่าที่แท้จริง แต่ตามตัวเลขที่ขาดทุนก็อาจจะถูกขายไปด้วยราคาถูกๆอย่างจงใจแล้วแถมการคุ้มครองทุกอย่างข้างต้น จึงเป็นอย่างที่ ดร. วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์ กล่าวไว้ว่า “ซื้อรัฐวิสาหกิจ แถมประเทศไทย”
คราวนี้ลองมาดูว่าทรัพย์สินของแผ่นดินที่กำลังจะถูกปล้นนั้นมีอะไรบ้าง กำไรหรือ ขาดทุนกันแน่









ทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจไทย
รัฐวิสาหกิจไทยมีทั้งสิ้น 72 แห่ง ตามตัวเลขของ สำนักรัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ กรมบัญชีกลาง มีทรัพย์สินทั้งสิ้นในปี พ.ศ. 2540 มีมูลค่า 4 ล้านล้าน 7 หมื่น 2 พัน 6 ร้อย 19 บาท เท่ากับงบประมาณแผ่นดิน 4 ปี หรือ รายได้จากการส่งออกประมาณ 3 ปี และน้อยกว่า จีดีพี เพียง 1 ล้านล้านบาท
รัฐวิสาหกิจทั้งหมดนี้ มีเงินทุนทั้งสิ้น 8 แสน 2 หมื่น 5 พัน 9 ร้อย 56 บาท หรือ เกือบเท่างบประมาณแผ่นดินใน 1 ปี
รัฐวิสาหกิจทั้งหมดนี้นำรายได้ส่งเข้ากระทรวงการคลัง ณ วันที่ 30 กันยายน 2540 เป็นเงิน 6 หมื่น 7 พัน 5 ร้อย 69 ล้านบาท หรือ ประมาณ ร้อยละ 8 ของงบประมาณแผ่นดิน และว่าจ้างงานถึง 3 แสน 5 พัน 8 ร้อย 93 คน

รัฐวิสาหกิจที่มีทรัพย์สินมากที่สุดใน 10 อันดับแรกในปี 2540 ได้แก่
สำนักรัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ กรมบัญชีกลาง หน่วย : ล้านบาท
ประเภทรัฐวิสาหกิจ
ทรัพย์สิน
เงินทุน
รายได้ / กำไร / %
รายได้นำส่งคลัง
1.ธนาคารแห่งประเทศไทย
813,943
33,834
36,533 /11,049 / 30%
14,531 (130%)

2.ธนาคารกรุงไทย
781,348
62,294
78,154/6,088/ 7.5%
1,200 (20%)
3.การไฟฟ้าฝ่ายผลิต
316,060
101,042
127,135 / 12,827/10 %
8,449 ( 65%)
4.ธนาคารอาคารสงเคราะห์
294,960
15,917
48,433 / 6,586 / 13%
1,272 ( 15%)
5. ธนาคารออมสิน
278,654
26,913
23,924 / 4,916/ 20%
0
6.องค์การโทรศัพท์
260,444
192,530
45,561 / 22,553 / 50%
10,523 ( 46%)
7. ธ.ก.ส.
229,773
6,317
16,968 / 640 / 4%
0
8. ป.ต.ท.
140,810
33,983
239,166 / 2,289/5%
3,500 (150%)
9. การไฟฟ้าภูมิภาค
138,318
56,045
93,810/9,066 / 10%
3,610 ( 40%)
10.การบินไทย
136,312
1,572
87,576 / 4,004 / 5%
1,950 ( 48%)
11. การทางพิเศษ
127,223
36,227
3,007 /601/19%
430 ( 71%)










รวม
3,517,845
566,674
722,113 /74,531/10%
45,465





รายชื่อรัฐวิสาหกิจที่ขาดทุนสูงสุด 10 แห่ง


รายชื่อรัฐวิสาหกิจ
ทรัพย์สิน
เงินทุน
รายได้
ขาดทุน

1.ข.ส.ม.ก.
9,686
(9,447)
6,681
(2,474)

2.การปิโตรเลียม บางจาก
23,172
6,890
27,966
(2,191)

3.การรถไฟ
44,700
17,417
8,465
(1,643)
4.การท่องเที่ยว,ททท
2,164
1,287
2,524
(345.80)
5.องค์การอุตสาหกรรมห้องเย็น
266
(1,342)
72
(158)
6.องค์การสวน พฤกษศาสตร์
389
373.5
2.9
(126.30)
7.องค์การส่งเสริมสินค้าและพัศดุพันภัณฑ์
502
(605)
1,866
(125)
8. องค์การทอผ้า
503
92
475
(85.90)
9.โรงงานน้ำตาล กรมโรงงานอุตสาหกรรม
649
383
808
(37.90)
10. องค์การส่งเสริมโคนม
942
443
1,686
(36)
รวม



7,222


การแปรรูปฯตาม “ยาสั่ง” จากไอเอ็มเอฟ
นโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างเร่งด่วนเป็น “ยาสั่ง” (กินแล้วตาย) จากไอเอ็มเอฟ (จดหมายแสดงเจตจำนงค์ ฉบับที่ 3-5) หรือ letter of intent) ซึ่งได้มีการทำตามโดยการแก้ไข พ.ร.บ. (เพื่อขายชาติ)ต่างๆถึง 11 ฉบับ มาตั้งแต่รัฐบาลชวน-ธารินทร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออก พ.ร.บ. ทุนรัฐวิสาหกิจ
จากตัวเลขข้างต้นจะเห็นได้ว่า รัฐวิสาหกิจไทยมีทั้งสิ้น 72 แห่ง ตามตัวเลขของ สำนักรัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ กรมบัญชีกลาง มีทรัพย์สินทั้งสิ้นในปี พ.ศ. 2540 มีมูลค่า 4 ล้านล้าน 7 หมื่น 2 พัน 6 ร้อย 19 บาท เท่ากับงบประมาณแผ่นดิน 4 ปี หรือ รายได้จากการส่งออกประมาณ 3 ปี และน้อยกว่า จีดีพี เพียง 1 ล้านล้านบาท
รัฐวิสาหกิจทั้งหมดนี้ มีเงินทุนทั้งสิ้น 8 แสน 2 หมื่น 5 พัน 9 ร้อย 56 บาท หรือ เกือบเท่างบประมาณแผ่นดินใน 1 ปี
รัฐวิสาหกิจทั้งหมดนี้นำรายได้ส่งเข้ากระทรวงการคลัง ณ วันที่ 30 กันยายน 2540 เป็นเงิน 6 หมื่น 7 พัน 5 ร้อย 69 ล้านบาท หรือ ประมาณ ร้อยละ 8 ของงบประมาณแผ่นดิน และว่าจ้างงานถึง 3 แสน 5 พัน 8 ร้อย 93 คน
นี่คือ ชิ้นปลามัน ที่ไอเอ็มเอฟ ผู้เป็นหัวหน้ากองหมู่ทลวงฟันของบริษัททุนข้ามชาติ มองเห็น และบีบให้แปรรูปเพื่อจะได้เขมือบชิ้นปลามันนี้
อันที่จริง การก่อตั้งรัฐวิสาหกิจในทุกประเทศขึ้นมาเพราะถือว่าเป็นหน้าที่หรือ พันธกิจอย่างหนึ่งในหลายๆอย่างของรัฐ ในการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน โดยเฉพาะในกิจการบริการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการพื้นฐาน อันเนื่องจากเป็นการลงทุนสูง ซึ่งเอกชนจะทำได้ยาก หรือ ทำแล้วก็ต้องคิดราคาค่าบริการแพง เพื่อเอาทุนกลับคืนมา
การที่รัฐนำเงินภาษีอากรของประชาชนมาลงทุน หรือ การเข้าค้ำประกันเงินกู้ของรัฐวิสาหกิจ(การไฟฟ้าฝ่ายผลิต) จึงสามารถกู้เงินก้อนโตมาได้ เช่น กรณีการสร้างเขื่อน หรือ การวางเครือข่ายโทรศัพท์ หรือ การสร้างระบบขนส่งมวลชน การสร้างทาง การสร้างสนามบิน และสาธารณูปโภคอื่นๆ จึงถือว่าเป็นการปฎิบัติตาม “สัญญาประชาคม”
ดังนั้นจึงเป็นการชอบธรรมอย่างยิ่งที่จะต้องคิดค่าบริการประชาชนในราคาถูก แม้ว่าจะขาดทุนก็ตาม เพราะ เงินที่ขาดทุนก็มาจากภาษีของประชาชน เงินลงทุนก็มาจากภาษีอากรของประชาชน รัฐ หรือ รัฐวิสาหกิจ เป็นเพียงผู้ทำหน้าที่จัดการ หรือ ตัวกลาง
ถ้าหากรัฐไม่ทำหน้าที่นี้ ประชาชนก็ไม่จำเป็นต้องมีรัฐ และถ้ารัฐคิดจะเอาอัฐยายมาหากำไรจากยาย เราก็ไม่มีความจำเป็นต้องเสียภาษีให้รัฐ แต่มาจ่ายให้กับเอกชนแทน
ถึงกระนั้น รัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่แม้ว่าจะมีการคอรัปชั่นและบริหารงานอย่างไม่โปร่งใส ก็ยังทำกำไร และนำเงินส่งเข้าคลังทุกปี ตามตารางข้างต้น
รัฐวิสาหกิจที่ขาดทุนนั้นมีเพียงไม่กี่แห่ง แต่เมื่อเฉลี่ยแล้ว รัฐวิสาหกิจยังเป็นแหล่งรายได้อันมหาศาลของรัฐ คือ เป็นผู้นำรายได้ส่งคลังคิดเป็นร้อยละ 8 ของเงินงบประมาณแผ่นดินทีเดียว
ด้วยหลักรัฐศาสตร์สากล และเหตุผลข้างต้น ถ้ารัฐบาลจะใช้รัฐวิสาหกิจมาค้าหากำไรจากการให้บริการกับประชาชน ดังนั้นประชาชนก็ไม่จำเป็นต้องเสียภาษีให้รัฐบาล และไม่จำเป็นต้องมีรัฐบาลอีกต่อไป
ในมุมกลับ อะไรจะเกิดขึ้นถ้าทุนต่างชาติ หรือ ทุนยักษ์เข้ามาเป็นเจ้าของ โดยมีเป้าหมายเพื่อค้ากำไรสูงสุด
ดังนั้น การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้เอกชน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มทุนข้ามชาติ หรือ กลุ่มทุนยักษ์ ซื้อไปค้าหากำไรจากกิจการพื้นฐานที่ทุกคนจำเป็นต้องใช้บริการ โดยเป็นกิจการผูกขาดไร้คู่แข่งด้วย จึงเป็นการตัดสินใจที่ไม่ถูกต้องตามหลักของรัฐศาสตร์ อย่างไม่มีข้อสงสัย
หากหันมามองในมุมมองของความมั่นคงของชาติ การบริการของรัฐวิสาหกิจในด้านการสื่อสาร และพลังงานการบิน ธนาคาร นั้นเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติโดยตรงในยุคนี้ เป็นการสมควรหรือที่จะให้เอกชน หรือ ต่างชาติมาถือครอง หรือ บริหาร
ยังไม่เคยปรากฏมาก่อนเลยว่า เมื่อแปรรูปรัฐวิสาหกิจไปแล้ว ประชาชนในประเทศนั้นๆดีขึ้นเลย
การแปรรูปรถไฟในประเทศอังกฤษในสมัยของ มากาเรต แทชเชอร์ ซึ่งทั้งๆที่เป็นเมืองผู้ดีก็ยังมีกลิ่นเหม็นฉาวโฉ่ไปทั่วโลก ดังนี้
ลองหันมาดูตัวอย่างรูปธรรม ในกรณีการแปรรูปการรถไฟของประเทศอังกฤษ อีกสักกรณีหนึ่ง สิ่งแรกที่เกิดขึ้น คือ การฉ้อโกงทรัพย์สินของประชาชนอย่างถูกกฎหมายเพื่อให้พรรคพวกได้ร่ำรวย โดยการขายในราคาถูกๆ เช่น เส้นทาง Porterbrook ROSCO ได้ถูกขายสัมปทานไปในราคา 527 ล้านปอนด์ ในเดือนมกราคม 1966 แล้วถูกขายต่อ ในเวลา 7 เดือนต่อมาในราคา 825 ล้านปอนด์
กลุ่มนักธุรกิจที่ซื้อ คือคนใกล้ชิดและผู้ที่เคยให้เงินสนับสนุนพรรคอนุรักษ์นิยมของนางสิงห์ แทชเชอร์ ได้กำรไไปเหนาะๆ ถึง 298 ล้านปอนด์
สัมปทานอีกเส้นหนึ่ง คือ Eversholt ROSCO ถูกขายสัมปทานไปในราคาเพียง 580 ล้านปอนด์ แต่ถูกขายต่อในเวลา 1 ปีต่อมาในราคา 726 ล้านปอนด์ คนใกล้ชิดของพรรคอนุรักษ์นิยม ของนางแทชเชอร์ รับเงินกันไปบานตะไท อีก 146 ล้านปอนด์

เรื่องไม่จบเพียงแค่นั้น หลังจากแปรรูปรัฐวิสาหกิจแล้ว คนงานที่มีอยู่ จำนวน 159.000 คน ได้ถูกปลดออกเหลือเพียง 92000 คน คนงานดูแลรักษารางจำนวน 31000 คนก็ถูกปลดลดเหลือ 15000 คน อุบัติเหตุจึงเกิดขึ้นเป็นประจำ และร้อยละ 40 ของตารางรถไฟที่เคยวิ่งอย่างตรงเวลาเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ กลับวิ่งไม่ตรงเวลา และก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจถึงวันละ 250000 ปอนด์ โดยที่ราคาค่าโดยสารเพิ่มขึ้นจากเดิมอีก 100 เปอร์เซนต์
เมื่อปัญหาเกิดขึ้นบริษัทที่ซื้อสัมปทานก็ไม่ยอมปรับปรุง โดยอ้างว่าขาดทุนและเรียกร้องให้รัฐช่วย เป็นเงินถึง 5 หมื่นล้านปอนด์ เพื่อการปรับปรุง ซึ่งไม่แตกต่างจากกรณีของไทยที่รัฐต้องลงทุนสร้างโครงสร้างส่วนขยายของรถไฟฟ้า เพื่อให้มีคนใช้มากขึ้นและเป็นการแก้ปัญหาการจราจร โดยไม่ต้องมีเงื่อนไขในการลดราคาให้ผู้โดยสาร
นั่นหมายความว่าการแปรรูปรัฐวิสาหกิจในด้านสาธารณูปการไม่ได้ช่วยลดงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลลงเลย แต่กลับต้องอุ้มบริษัทเอกชนต่อ
เมื่อเป็นเช่นนี้ ชาวอังกฤษถึงร้อยละ 77 ต่างเรียกร้องให้รัฐบาลอังกฤษซื้อกิจการคืนกลับมาเป็นของรัฐ และรัฐบาลของนายโทนี่ แบร์ก็กำลังดำเนินการอยู่ แต่ราคาซื้อคืนนั้นไม่ใช้ราคาเดิมเสียแล้ว
เมื่อปีที่แล้ว บริษัทที่ซื้อสัมปทานรถไฟไปได้รายงานตัวเลขขาดทุนถึง 300 ล้านปอนด์ แต่กลับจ่ายเงินปันผลถึง 100 ล้านปอนด์ให้กลับผู้ถือหุ้น
ครับ นี่ คือ ความโปร่งใสของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่เกิดขึ้นมาแล้วในประเทศที่เป็นแบบอย่างของระบอบประชาธิปไตย และประเทศที่ตรงกันข้ามอย่างอาเจนตินา ซึ่งล้วนมีกระบวนการและผลลัพท์ที่ไม่แตกต่างกัน
นั่น คือ กรรมและภาระจะต้องตกอยู่กับประชาชนตาดำๆอย่างแน่นอน
ประเทศอาเยนตินาเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ได้ได้เริ่มดำเนินนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างจริงๆจังๆในปี 1991 หลังจากที่ได้รับเลือกตั้งมาเป็นเวลา 2 ปี
ภายในเวลาเพียง 2 ปี รัฐบาลของประธานาธิบดี มีเนมและรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจ โดมิงโก คาวาโย ได้แปรรูปรัฐวิสาหกิจและขายสัมปทานของรัฐออกไปถึง 250 แห่ง โดยได้รับเงินสดจากการขายกิจการของรัฐเป็นเงินถึง 3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ
พนักงานรัฐวิสาหกิจถูกปลดจากจำนวน 5 แสน 9 หมื่น คน เหลือ 2 แสน 6 หมื่น คน
หลังจากการแปรรูป 10 ปี เงิน 3 หมื่นล้านเหรียญหายไปหมด ประเทศอาเยนตินาประสบวิกฤตเศรษฐกิจล้มละลายในปี 2002 นายโดมิงโก คาวาโยหลบหนี ข้อหาฉ้อโกงและรับสินบน 13 คดี คิดเป็นเงินหลายร้อยล้านเหรียญหนีไปอยู่อเมริกา
ประธานาธิบดีมีเนมและญาติพี่น้องต่างก็เจอข้อหาทำนองเดียวกันและคดียังอยู่ในศาลนับจำนวนไม่ถ้วน

ตัวอย่างรูปธรรม คือ การขายสายการบิน Aerolineas Argentinas ซึ่งเป็นสายการบินแห่งชาติของอาเยนตินา นายแอนโทนี ฟายย่า ได้เขียนรายงานไว้ในหนังสือพิมพ์วอชิงตัน โพสท์ ฉบับประจำวันที่ 6 สิงหาคม 2001 ว่า
สายการบินแห่งชาติอาเยนตินามีเครื่องบิน 28 ลำมีศูนย์ฝึกนักบินที่ใหญ่ที่สุดในลาตินอเมริกา มีสำนักงานหรูอยู่ที่ ร๊อกกี้เฟลเลอร์ เซนเตอร์ ในเมืองนิวยอร์ก และ โรม เป็นเจ้าของสิทธิเส้นทางบินคิดเป็นมูลค่าตลาด 636 ล้านเหรียญ มีกำไรจากการประกอบการร้อยละ 5.6 ต่อปี
ประธานาธิบดีมีเนมได้ขายไปให้แก่สายการบิน ไอบีเรียของรัฐบาลสเปน เป็นเงินแค่ 260 ล้านเหรียญ โดยสามารถใช้เครื่องบินทั้งหมดมาค้ำประกันเงินกู้เพื่อนำมาจ่าย แล้วโอนให้เป็นหนี้ของบริษัท
สายการบินอาเยนตินาที่เคยเป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดในลาตินอเมริกา ซึ่งมีเส้นทางบินไปทั้ง อเมริกา ยุโรปและออสเตรเลีย ถูกลดเที่ยวบินให้เหลือบินเฉพาะภายในทวีปลาตินอเมริกา และส่งผู้โดยสารต่อให้สายการบินไอบีเรียผู้เป็นบริษัทแม่ รวมทั้งการถอนทุนโดยการขายสำนักงานหรูที่มีอยู่ในประเทศต่างๆทั่วโลก
ปัจจุบันสายการบินอาเยนตินาอยู่ในสภาพกึ่งล้มละลาย
หวังว่าผู้อ่านคงจะได้คำตอบว่า พ.ร.บ. ทุนรัฐวิสาหกิจนั้น เป็น พ.ร..บ. ปล้นชาติ ปล้นประชาชน และ ขายชาติ “ หรือ ไม่ครับ
ผมไม่ขอแสดงความเห็นหรือ สรุป แต่ขอให้ท่านผู้อ่านตัดสินด้วยวิจารณญาณของท่านเองครับ



ภาคผนวก

รัฐวิสาหกิจแบ่งออกได้ 6 ประเภทตามข้อมูลของกรมบัญชีกลาง

1. ประเภทที่หารายได้ให้รัฐ
โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง
สำนักงานสลากินแบ่งรัฐบาล

2.1 ประเภทที่เป็นสาธารณูปโภค
การไฟฟ้าฝ่ายผลิต
การไฟฟ้านครหลวง
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
การประปานครหลวง
การประปาส่วนภูมิภาค

2.2 ประเภทที่สาธารณูปการ
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย
การท่าเรือแห่งประเทศไทย
การรถไฟแห่งประเทศไทย
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ
องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย
การสื่อสารแห่งประเทศไทย
องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย
บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย
การเคหะแห่งชาติ
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

รัฐวิสาหกิจ 2 ประเภทนี้นำรายได้ส่งเข้าคลังในปี 2540 เป็นจำนวนเงิน 32,438 ล้าน บาท และจ้างพนักงาน 199,505 คน

3. ประเภทที่ตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการตามนโยบายพิเศษของรัฐ

3.1 สถาบันการเงิน
ธนาคารกรุงไทย จำกัด
ธนาคารออมสิน
ธนาคารอาคารสงเคราะห์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
สำนักงานธนานุเคราะห์

สถาบันการเงินเหล่านี้นำรายได้ส่งเข้าคลังในปี 2540 เป็นเงิน 2,490 ล้านบาท และจ้างพนักงาน 41,573 คน

3.2 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ
การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
องค์การเหมืองแร่ในทะเล
องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้

องค์การเหล่านี้ นำรายได้ส่งเข้าคลังในปี 2540 เป็นเงิน 3,500 ล้านบาท และจ้างพนักงาน 5,853 คน





3.3 เกษตรกรรมและพาณิชยกรรม
องค์การส่งเสริมกิจการโคนม
องค์การสวนยาง
องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร
องค์การสพานปลา
องค์การอุตสาหกรรมห้องเย็น
องค์การตลาด
องค์การคลังสินค้า
บริษัท ไม้อัดไทย จำกัด
โรงพิมพ์ตำรวจ กรมตำรวจ
โรงงานไพ่ กรมสรรพสามิต
องค์การสุรา กรมสรรพสามิต
องค์การเภสัชกรรม
องค์การรับส่งสินค้าและพัศดุภัณฑ์
บริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด
บริษัท การบินไทย จำกัด
บริษัท ขนส่ง จำกัด
บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด
บริษัท ลำพูนจังหวัดพาณิชย์ จำกัด
บริษัท จังหวัดสุรินทร์ จำกัด
บริษัท ปราจีนบุรีจังหวัดพาณิชย์ จำกัด

บริษัททั้ง 20 นี้ นำรายได้ส่งเข้าคลังในปี 2540 เป็นเงิน 2,495 ล้านบาท และจ้างพนักงาน 36,736คน



3.4 ประเภทส่งเสริม

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
การกีฬาแห่งประเทศไทย
องค์การสวนสัตว์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่แห่งประเทศไทย
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง

หน่วยงานเหล่านี้ นำรายได้าง่คลังในปี 2540 เป็นจำนวน 8,486 ล้านบาท และจ้างพนักงาน 2,255 คน

4. ประเภทที่ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เดิมเพื่อความมั่นคงของประเทศ

องค์การผลิตอาหารสำเร็จรูป
องค์การแก้ว
องค์การทอผ้า
องค์การแบตเตอรี่
องค์การฟอกหนัง

องค์การ 5 แห่งนี้ นำรายได้ส่งเข้าคลังในปี 2540 เป็นจำนวนเงิน 5.9 ล้านบาท และจ้างพนักงาน 2,328 คน





5. ประเภทที่ตั้งขึ้น หรือ ได้มาด้วยเหตุผลอื่น

โรงงานน้ำตาล กรมโรงงานอุตสาหกรรม
บริษัท สหโรงแรมไทยและการท่องเที่ยว จำกัด

สองหน่วยงานนี้ องค์การ 5 แห่งนี้ นำรายได้ส่งเข้าคลังในปี 2540 เป็นจำนวนเงิน 15.3 ล้านจ้างพนักงาน 596 คน

6. รัฐวิสาหกิจอื่นๆที่มิได้จัดประเภทไว้

บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด(มหาชน)
องค์การรถไฟฟ้ามหานคร
สถาบันการบินพลเรือน
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด
บริษัท ปตท. สผ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
ธนาคารแห่งประเทศไทย
บริษัท ท่าอากาศสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด
องค์การจัดการน้ำเสีย
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
องค์การบริหาหรสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์
รัฐวิสาหกิจประเภทที่ 6 นี้ นำรายได้เข้าคลังในปี 254 เป็นจำนวนเงิน 14,843 ล้านบาท และจ้างพนักงาน 6,923 คน
รัฐวิสาหกิจทั้ง 72 แห่ง มีทรัพย์สิน 957,527 ล้านบาท มีกำไร 10,051 ล้านบาท และ นำรายได้ส่งเข้าคลัง 14,843 ล้านบาท

ไม่มีความคิดเห็น: