วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

ฉันทามติวอชิงตัน

ตามรอย....ลาตินอเมริกา
กมล กมลตระกูล
ในทศวรรษที่แล้ว ภาวะเศรษฐกิจของประเทศลาตินอเมริกาเกือบทุกประเทศอยู่ในภาวะตกสะเก็ดเหมือนกับ เมืองไทยในขณะนี้ ในบางประเทศแย่เสียยิ่งกว่าเสียอีก โดยมีภาวะเงินเฟ้อตั้งแต่ปีละ 200-1000 เปอร์เซนต์ เช่น ประเทศ บราซิล เมกซิโก และอาเยนตินา
ในทศวรรษนั้น วอชิงตันมีความเป็นห่วงมาก เพราะขบวนการฝ่ายซ้าย และระบอบเผด็จการทางทหารขวาจัดยังมีความเข้มแข็งอยู่ในบางประเทศ และเกรงว่า ความล้มเหลวทางเศรษฐกิจ จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และ จะลุกลามไปเหมือนเกมส์โดมิโน ที่ประเทศหนึ่งล้ม ประเทศอื่นๆก็จะล้มตามกันไปเป็นแถว
ด้วยเหตุนี้ วอชิงตัน จึงได้สั่งให้ นักเศรษฐศาสตร์ ชื่อ จอห์น วิลเลียมเซิ่น เขียนใบสั่งยาขึ้นมา เพื่อเยี่ยวยาอาการป่วยทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศลาตินอเมริกาเหล่านี้
ใบสั่งยาของนาย วิลเลียมเซิ่น มีด้วยกัน 10 ขนาน ดังนี้ โดยมีชื่อว่า Washington Consensus
1. การจัดงบประมาณประจำปีของรัฐไม่ให้เกินดุลย์ เพื่อว่ารัฐบาลจะได้ไม่ต้องพิมพ์เงินออกมามากขึ้น อันเป็นสาเหตุหนึ่งของเงินเฟ้อ
2. การจัดลำดับความสำคัญของงบประมาณแผ่นดิน โดยไม่ขึ้นต่อแรงบีบคั้นของกลุ่มอำนาจทางการเมือง เช่นกองทัพ หรือ กลุ่มผลประโยชน์ของพรรคการเมืองที่ต้องการดึงงบเข้าหาตนให้มากที่สุด หรือ กลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจกลุ่มใหญ่ๆ
3. การปฏิรูปการเก็บภาษีอากร เช่นภาษีที่ดิน เพื่อการเก็งกำไร และ ภาษีมรดก เพื่อป้องกันการคอรัปชั่น แต่ให้ลดภาษีสินค้าการเกษตร สินค้าอุปโภคและบริโภคให้ต่ำลง
4. ปล่อยให้อัตราดอกเบี้ยขึ้นลงลอยตัว ขึ้นกับกลไกของตลาด และปล่อยให้การเคลื่อนย้ายทุนขึ้นกับอัตราดอกเบี้ยที่ถูกกว่า และการแข่งขันการเสนอบริการอย่างเสรี
5. ปล่อยให้อัตราการแลกเปลี่ยนเงิน ลอยตัวขึ้นกับกลไกของตลาด ไม่กำหนดตายตัวเป็น หลาย อัตรา
6. ยกเลิกระบบโควต้า และการกำหนด จำกัดยอดจำนวนสินค้าเข้าออก โดยใช้อัตราภาษีอากร เป็นเครื่องมือ เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศ เพราะเป็นการทำให้อุตสาหกรรมในประเทศเลี้ยงไม่โต ขาดประสิทธิภาพ ขาดมาตรฐาน ไม่เป็นผลดีต่อผู้บริโภค ความจำเป็นที่ต้องแข่งขันกับอุตสาหกรรม หรือ การบริการจากต่างประเทศ จะทำให้เกิดการปรับปรุงคุณภาพ การบริการ และ วิธีการผลิตเพื่อความอยู่รอด
7. ยกเลิกการกีดกันการลงทุนจากต่างประเทศ ทุกประการ ให้สิทธิบริษัทต่างชาติเท่าๆกับบริษัทในประเทศ
8. โอนกิจการของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ เข้าตลาดหลักทรัพย์ เพราะรัฐวิสาหกิจ ในลาตินอเมริกานั้นมียอดรายรับคิดเป็นเงินถึง ร้อยละ 10 ของผลผลิตรวมภายในชาติ ( GDP)
9. ยกเลิกกฏหมายที่ ปฏิปักษ์กับการลงทุนจากต่างชาติทุกข้อ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพ และการแข่งขันอย่างเสรี
10. ปฏิรูปกฏหมายว่าด้วยการถือครองที่ดิน เพื่อเป็นหลักประกันว่า ประชาชนพื้นฐานจะมีโอกาสเป็นเจ้าของที่ดินได้โดยไม่แพ้กลุ่มเจ้าของทุนขนาดใหญ่
ใบสั่งยาข้างต้นจำนวน 10 ขนานนี้ ได้มีการเลือกนำไปใช้ในหลายประเทศ ทั่วทั้งลาตินอเมริกา แต่ละประเทศก็เลือกยาแต่ละขนานที่คิดว่าเหมาะสมกับอาการป่วยทางเศรษฐกิจภายในชาติของตน
ใบสั่งยาข้างต้นดูเหมือนจะเป็นเจตนาดีของหมอใจดีที่ต้องการเยียวยาคนไข้ให้หายจากป่วย แต่ผลของการนำยาขนานต่างๆข้างต้นมาใช้ ได้ก่อให้เกิดผลร้ายข้างเคียงในระยะยาวอย่างไม่อาจจะประเมินได้
ในกรณีของชิลีนั้น ในปี ค.ศ. 1983 วิกฤติการณ์ของสถาบันการเงินคล้ายๆกับที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ของไทยในปัจจุบัน คือ สถาบันการเงินจำนวน 10 สถาบัน ซึ่งมีส่วนแบ่งในตลาดถึงร้อยละ 45 ของระบบการเงินการธนาคารทั้งหมด ได้ถูกรัฐบาลสั่งปิด หรือ เข้าควบคุม
ระบบธนาคารที่อ่อนแอ แต่ กลับเข้มแข็งการเมือง นั้นทำให้การควบคุมการดำเนินงานของธนาคารให้มีลักษณะ เป็นสถาบันมืออาชีพ (Professional ) กลายเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
ภาวะเช่นนี้ก็เหมือน กับภาวะที่ดำรงอยู่ในเมืองไทยอย่างไม่มีผิด
รัฐบาลชิลีต้องควักกระเป๋าเงินภาษีอากรของประชาชนเป็นจำนวนถึง 3 หมื่นล้านเหรียญอเมริกัน หรือ 8 แสนล้านบาทเข้ากู้สถานการณ์
เช่นเดียวกันกับรัฐบาลเม๊กซิโก
รัฐบาลเวเนซูเอลล่า ก็ใช้เงินจำนวนที่ไม่น้อยกว่ากันนี้ เข้ากู้สถานการณ์ไม่ให้ระบบการเงินในประเทศล้ม
ทุกประเทศข้างต้นจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ (ช่วยเถือ)จากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ เช่นธนาคารโลก หรือ ไอ.เอ็ม.เอฟ (ซึ่งเอกชนเป็นเจ้าของ) เพราะรัฐบาลไม่มีเงินเพียงพอที่จะเข้าอุ้มสถาบันการเงินเกือบครึ่งหนึ่งที่กำลังจะล้มพัง
ในภาวะที่ไม่มีทางเลือกเช่นนี้ ก็เหมือนคนจนที่ต้องจำนอง หรือ ขนทรัพย์สินทุกชนิดเข้าโรงจำนำ และถูกเรียกดอกเบี้ยเท่าไรก็ต้องยอม เพราะไม่มีอำนาจจะต่อรอง หรือ หน้าตักหมดแล้วนั้นเอง
วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ หรือ อันที่จริง คือ วิกฤติการณ์ทางการเงินการธนาคาร ในประเทศลาตินอเมริกันข้างต้น เปิดโอกาสให้สถาบันการเงินระหว่างประเทศกระโดดเข้ามาเป็นอัศวินม้าขาวกอบกู้สถานการณ์โดยไม่มีใครว่ากล่าวได้
ผลที่ตามมา คือ ในทุกวันนี้ ธนาคารต่างชาติได้เข้าถือหุ้นควบคุม กิจการการธนาคารในประเทศเวเนซูเอลล่ากว่าร้อยละ 40
ส่วนเม๊กซิโกซึ่งเป็นประเทศใหญ่หน่อย ธนาคารต่างชาติก็ได้เข้าถือหุ้นควบคุมไว้ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 25 เข้าไปแล้ว
ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศเล็ก ก็ คงหนีไม่พ้นวัฏจักรข้างต้น เพราะว่าวิกฤติการทั้งทางการเงินการธนาคารที่เกิดขึ้นไม่มีใครรู้ว่า เป็นการวางแผนให้นายธนาคารของไทย และนักธุรกิจเรามีสายตาสั้นมองเห็นแต่ประโยชน์เฉพาะหน้าจากอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกันระหว่างภายในประเทศ และภายนอกประเทศ ทำให้ได้กำไรงามจากการเป็นนายหน้า
ทุนจากกองทุนรวม และนักลงทุนต่างชาติที่โถมเข้ามาเมื่อ 4-5 ปีที่แล้วในตลาดหลักทรัพย์ไทย ทำให้เศรษฐกิจแบบฟองสบู่เฟื่องฟู พอแมลงเม่ากระโดดเข้ามามากๆ ทำให้หุ้นมีราคาสูง ถึงจุดหนึ่ง ทุนต่างชาติเห็นว่าได้กำไรงามพอแล้ว ก็เทขายแล้วไปปั่นต่อในตลาดหลักทรัพย์ประเทศอื่นๆที่ยังขาดความเข้มแข็ง เพื่อสร้างสถานการณ์เช่นเดียวกัน
สิ่งที่เราจะเห็นในไม่ช้า คือ การล้มของบริษัทเงินทุนขนาดเล็ก และขนาดกลาง รวมทั้งธนาคารด้วย แล้วก็จะมีอัศวินม้าขาวจากต่างชาติที่มาในรูปสถาบัน หรือ องค์การระหว่างประเทศ หรือ รัฐบาลต่างประเทศ เช่นพี่เบิ้มอินทรีกระโดดเข้ามากู้สถานะการโดยยื่นเงื่อนไขที่เราไม่มีทางปฏิเสธได้ เช่น การเข้ามาถือหุ้นในธนาคารไทยได้อย่างไม่ถูกจำกัด หรือ การเข้าถือหุ้นในกิจการรัฐวิสาหกิจที่มีกำไรมหาศาล เช่นการไฟฟ้าฝ่ายผลิต หรือ องค์การโทรศัพท์ ฯลฯ ซึ่งเป็นกิจการผูกขาด ไม่เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันอย่างเสรี (ราคาค่าบริการจึงสูงลิบลิ่ว แม้แต่ค่าบริการอินเตอร์เนท)
นั่นก็คือ การผูกขาดต่อไปข้างหน้าจะเป็นการผูกขาดให้ทุนต่างชาติเข้ามากินหัวกระทิ แทนรัฐฯ เช่นเดียวกับองค์การโทรศัพท์ของประเทศเม๊กซิโก และ กิจการน้ำมันของประเทศเม๊กซิโก
มีใครคิดบ้างไหมว่า เหตุการณ์ทั้งหมดข้างต้นที่เกิดขึ้นทั้งในเมืองไทย และในลาตินอเมริกา คือ แผนการหนึ่งของกระบวนการ Globalization นั่นเอง
นักการเมืองไทยนั้นหัวไวกว่าของต่างชาติตรงที่ว่าไม่ต้องรอให้ถึงจุดวิกฤติ แล้วให้ยอดชายนายคลินตันกระโดดเข้ามาเสนอมาตรการช่วยเหลืออย่างที่ได้อนุมัติงบประมาณพิเศษเข้ากู้สถานการณ์ในเม๊กซิโก แต่ได้เป็นผู้เสนอขายทั้งหุ้นในรัฐวิสาหกิจ และ ที่ดินให้ต่างชาติถือได้อย่างเสรีมากขึ้นไปแล้ว เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อเอาหน้าในขณะนี้
ในแง่ของผู้บริโภค ก็อาจจะได้รับการบริการ และการคิดราคา หรือ การคิดดอกเบี้ย ที่มาตรฐานและยุติธรรมขึ้นก็ได้ นะครับ
เพราะที่ผ่านๆมาก็สูบเลือดกันเองทั้งน้..า...น
ทางออกในระยะสั้นนั้นยังมองไม่ค่อยจะเห็น แต่ทางออกในระยะยาวนั้นพอมี ถ้ารัฐบาลมีวิสัยทัศน์ยาวไกลเพียงพอ เพราะเศรษฐกิจของชาติ จะดีหรือไม่ดี ค่าของเงินจะแข็งมั่นคง เงินจะเฟ้อหรือไม่เฟ้อนั้น ก็ขึ้นอยู่กับรายรับ และรายจ่าย 2 ตัวเท่านั้น
ถ้าเรามีแหล่งเพิ่มรายรับได้แน่นอนชัดเจน และสามารถลดรายจ่ายรายใหญ่ๆที่เป็นตัวดึงเอาเงินตราออกนอกประเทศได้ ปัญหาก็จะบรรเทาเบาบางลง
รายจ่ายรายใหญ่ที่สุดรายการหนึ่ง ที่ดึงเอารายรับของเงินรายได้ของชาติออกไปอย่างมหึมา นั้น คือ รายจ่ายด้านน้ำมันเชื้อเพลิงปีละหลายแสนล้านบาท
คำถามคือ เราจะต้องเพิ่มการส่งออกสักเท่าไร ต้องถางป่ามาปลูกมันสำปะหลังอีกกี่ล้านไร่ ต้องทำลายป่าชายเลนอีกกี่ล้านไร่ เพื่อทำรายได้มาชดเชยกับรายจ่ายค่าน้ำมันเชื้อเพลิง โดยเฉพาะน้ำมันเบนซินที่ใช้ในการขนส่ง เผาผลายไปกับภาวะรถติดเดือนละเท่าไร ปีละเท่าไร
คำตอบ คือ จะต้องเปลี่ยนโครงสร้างการขนส่งทั้งหมดของชาติเสียใหม่ ให้หันมาพัฒนาการใช้รถไฟเป็นเส้นทางการขนส่งทั่วประเทศแทนรถ 10 ล้ออย่างทุกวันนี้ รวมทั้งทุ่มเงินพัฒนาให้เป็นเส้นทาง หรือ ปัจจัยการเดินทางของผู้โดยสารแทนการใช้รถยนต์โดยสารให้มากที่สุด
ถ้ามัวแต่คิดสร้างถนนเพิ่มอย่างโครงการมอเตอร์เวย์ มูลค่าหลายแสนล้านบาท ซึ่ง หมายถึงว่ารายจ่ายไหลออกนอกประเทศทั้งด้านการสั่งเข้ารถยนต์ และการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง รวมทั้งมลภาวะจะตามมา ซึ่งสวนทางกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
นั่นเป็นด้านการลดรายจ่าย ส่วนด้านรายรับนั้น ก็ให้ดูสิงค์โปร์ ว่ารายรับหลักของเขา คือ อะไร เรามีทางที่จะแย่งส่วนแบ่งการตลาดของอุตสาหกรรมการบริการบางประเภทมาจากสิงค์โปร์ได้บ้างไหม เช่น การเป็นศูนย์ของ Container Shipping Industry ซึ่งมีเม็ดเงินปีละ ไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านเหรียญ เป็นเดิมพัน โดยการวางโครงการระยะยาวในการขุดคอคอดกระ และสร้าง Container terminal ขึ้นมาในบริเวณนั้น
ปัญหามีอยู่ว่า จะมีนักการเมืองคนไหนกล้าคิดโครงการใหญ่ๆที่ต้องใช้วิสัยทัศน์มองเห็นรายได้ และการแข่งขันในอนาคต รวมทั้งต้องเวลาสร้างเกิน 10 ปี ขึ้นไปไหม

ความชอบธรรมในการใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา

ความชอบธรรมในการใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา
กมล กมลตระกูล

หลังจากที่ประเทศไทยประกาศใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา รัฐบาลสหรัฐฯก็ประกาศจัดอันดับประเทศไทยเป็นประเทศถูกจับตามองทันที ซึ่งแสดงถึงความไร้ศีลธรรม ไร้คุณธรรม โดยคำนึงถึงแต่ผลประโยชน์เหนือมนุษยธรรมของบริษัทยาและรัฐบาลสหรัฐฯ
อันที่จริงประเทศไทยมีความชอบธรรมและได้ดำเนินการตามปฏิญญาโดฮาของที่ประชุมองค์การค้าโลกทุกประการ
ในปฏิญญาโดฮาระบุว่า “ ข้อตกลงเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาขององค์การค้าโลกไม่ห้ามและไม่ควรกีดกันสมาชิกในการนำมาตรการมาใช้ป้องกันความเจ็บไข้ได้ป่วยของประชาชน สมาชิกสามารถและควรตีความและนำไปปฏิบัติเพื่อปกป้องสุขภาพของคนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยเฉพาะเพื่อสนับสนุนให้ทุกคนเข้าถึงยาได้อย่างสมบูรณ์”
ในข้อที่ 5 ได้ขยายความอธิบายไว้อย่างไม่มีที่สงสัยดังนี้ “ สมาชิกขององค์การค้าโลกมีสิทธิประกาศใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร ( Compulsory Licenses) และมีเสรีภาพในการพิจารณาถึงความจำเป็นในการประกาศใช้สิทธินี้ และไม่ถือว่าเป็นการละเมิดข้อตกลงเรื่องการปฏิบัติเหมือนคนในชาติ ( National Treatment) และเรื่องการปฏิบัติต่อทุกชาติเสมอกัน(Most Favour Nation-MFN)”
อย่างไรก็ตามนี่เป็นครั้งแรกที่กระทรวงสาธารณสุขในยุคของคุณหมอมงคล ณ สงขลา เป็นรัฐมนตรี และคุณหมอ วิชัย โชควิวัฒน์เป็นอธิบดีที่กล้าประกาศความเป็นไทโดยการประกาศใช้ “สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา” เพื่อปกป้องคุ้มครองชีวิตผู้ป่วยโรคเอดส์
ในขณะที่กระทรวงสาธารณสุขในยุคก่อนๆกลับทำตรงกันข้ามคือไปประกาศตัวอยู่ใต้ระบอบสิทธิบัตรยาล่วงหน้าตั้ง 10 ปี ก่อนจะมีผลบังคับใช้ ซึ่งยังไม่เคยมีการประเมินตัวเลขว่ามีผู้ป่วยที่ไม่มีเงินซื้อยาราคาแพงตายไปแล้วกี่ร้อยกี่พันคนในช่วง 10 ปีนั้น
ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศแรกที่ประกาศใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา ว่าไปแล้วประเทศไทยประกาศใช้สิทธินี้ช้าไปด้วยซ้ำ ประเทศอัฟริกาใต้ได้ประกาศใช้สิทธินี้ไปตั้งแต่ปี 2003 เช่น เดียวกับอีกหลายๆประเทศ เช่น แซมเบีย ซิมบับเว กานา มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสวาซีแลนด์
สหรัฐอเมริกาก็ประกาศใช้ “สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา” ในภายหลังเกิดเหตุการณ์เครื่องบินวิ่งถล่มตึกเวิลด์ เทรด และมีการส่งสารแอนแทรกไปทางไปร์ษณีย์ไปยังหน่วยงานของรัฐหลายแห่ง อเมริกามียาป้องกันไม่พอเพียง จึงประกาศใช้สิทธินี้ในการผลิตยาCiprofloxacine ซึ่งเจ้าของสิทธิบัตร คือ บริษัท Bayer ของประเทศเยอรมัน
การประกาศใช้ “สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา” เป็นเรื่องที่บริษัทยากลัวที่สุด เพราะเกรงว่าจะกลาย เป็นไฟลามทุ่ง อันที่จริงก็เกิดขึ้นจริง คือ บราซิลได้ประกาศเอาอย่างไทยทันที
การประกาศใช้ “สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา” เป็นสิทธิตามข้อตกลงขององค์การค้าโลกซึ่งยอมรับหลักการสากลว่าชีวิตผู้ป่วยสำคัญกว่ากำไร แต่ไม่ค่อยจะมีประเทศไหนกล้าใช้สิทธินี้ เพราะเกรงว่า อันธพาลโลกจะพาลหาเหตุมากลั่นแกล้งทางการค้า เช่นการตัดจีเอสพี หรือการใช้มาตรการที่ไม่ใช่ภาษีมากีดกันการค้า ( ความปลอดภัยของสินค้าหรืออาหารฯลฯ)
หลายประเทศก็ไม่ยอมจำนนอย่างง่ายๆ เพราะคิดว่าชีวิตของประชาชนของชาติตนมีความสำคัญเป็นอันดับแรก เรื่องค่าวิจัยผลิตยาใหม่เป็นเพียงข้ออ้างที่ฟังไม่ขึ้น เพราะว่ารัฐบาลเป็นผู้อุดหนุนเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น อินเดีย จีน เวียดนาม และบราซิล จึงผลิตยาเอง หรือนำเข้ายาจากประเทศที่ ประกาศใช้ “สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา” ยาในประเทศเหล่านี้จึงถูกกว่าในไทยหลายเท่าตัว
อันที่จริงประเทศไทยก็มีอำนาจต่อรองแบบหนามยอกเอาหนามบ่ง คือ เมื่อถูกขึ้นบัญชีเป็นประเทศที่ถูกจับตามมองเป็นพิเศษ ซึ่งเป็นมาตรการอันธพาลในการกีดกันการค้ารูปแบบหนึ่งที่ขัดกับข้อตกลงขององค์การค้าโลก
ประเทศไทยก็สามารถประกาศความเป็นไทอย่างสมบูรณ์ ให้รู้แล้วรู้รอดไปเลย โดยประกาศใช้ “สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา “ ทุกตัวยาให้สิ้นเรื่องสิ้นราว ซึ่งไม่ขัดกับข้อตกลงขององค์การค้าโลก เพราะว่าคนไทยส่วนใหญ่มีหนี้สินครัวเรือนละกว่าแสนบาท คือยังเป็นประเทศจนอยู่ การประกาศใช้ “สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา” จึงไม่ผิดกติกาขององค์การค้าโลก
นอกจากนี้ ประเทศไทยเป็นประเทศที่นำเข้าสินค้ามากกว่าส่งออก ดังนั้นการใช้มาตรการตาต่อตา ฟันต่อฟันกับสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯหรือประเทศอื่นที่ใช้นโยบายอันธพาลกับไทย ก็จะได้กำไรมากกว่าขาดทุน
การถูกกีดกันการค้าก็จะผลักดันให้ไทยคิดหาทางออกในการหาตลาดใหม่ๆ และดำเนินนโยบายเศรษฐกิจพึ่งตนเองแบบพอเพียงให้เกิดเป็นจริง เช่น หันมาผลิตยาส่งออกแบบอินเดีย มิใช่ชูเป็นคำขวัญอย่างที่ทำกันอยู่ในขณะนี้ สรุปคือ เศรษฐกิจไม่พังอย่างแน่นอน
คนไทยทั้งประเทศจึงต้องสำแดงพลังสนับสนุนการประกาศใช้ “สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา” ของหมอมงคล ณ สงขลา อย่างเต็มที่ เพื่อแสดงให้บริษัทยาที่ไร้ศีลธรรมเห็นพลังของคนไทยว่ายืนอยู่ข้างหลังคุณหมออย่างมีเอกภาพ และพร้อมจะออกมาสนับสนุนหมอมงคล ณ สงขลา ทุกรูปแบบ โดยยึดนโยบาย “กูไม่กลัวมึง”
อย่าปล่อยให้คุณหมอโดดเดี่ยวถูกทิ้งให้ออกโรงสู้คนเดียวเหมือนอย่างที่ค.ร.ม.กระทำกับคุณหมอ
ครับ ........... ประเทศไทยไม่ใช่เมืองขึ้นของใคร ต้องให้ความสำคัญกับสิทธิและชีวิตของผู้ป่วยเป็นอันดับแรก เพราะว่ายาถือเป็นสินค้าเชิงมนุษยธรรม มีความสำคัญต่อชีวิตจึงต้องแยกเงื่อนไขต่างๆ ออกจากสินค้าทั่วไป
สิทธิของมนุษย์ที่ควรจะมีชีวิตอยู่ย่อมเหนือกว่าผลประโยชน์ทางการค้า ดังนั้น การดำเนินการใช้สิทธิโดยรัฐของกระทรวงสาธารณสุขต่อยาที่มีสิทธิบัตร จึงเป็นการดำเนินการที่ทั้งถูกกฎหมายและถูกหลักมนุษยธรรม รวมทั้งเป็นการดำเนินการตามหน้าที่ที่จะต้องจัดหายาจำเป็นตามบัญชียาหลักแห่งชาติให้แก่คนไทยทุกคนที่ใช้สิทธิตามนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าด้วย
การยอมจำนนต่อบริษัทยาและต่อสหรัฐฯประเทศจะเสียหายในระยะยาวและต้องเป็นทาสติดยา(ราคาแพง)ไปตลอดกาลมากกว่า การเสียน้อยเสียยากดด้านส่งออกสินค้าบางตัวซึ่งคนส่วนใหญ่ของชาติไม่ถูกกระทบมาก
การรณรงค์ตอบโต้
รัฐบาลไม่ควรบ้าจี้หรือยอมเสียเงินไปจ้างบริษัทล๊อบบี้ยิสท์ให้สูญเงินเปล่า แต่ควรจะรู้จักใช้คนไทยที่รักชาติในต่างประเทศโดยการเรียกร้องให้รวมตัวจัดตั้งเป็นกลุ่มกดดันทางการเมือง (Pressure groups) เพราะว่าปัจจุบันคนไทยโดยเฉพาะในอเมริกาเป็นคนไทยรุ่นที่ 2 รุ่นที่ 3 ซึ่งถือสัญชาติอเมริกันและมีสิทธิลงคะแนนเสียง ดังนั้นการรวมตัวกันและเข้าหาส.ส. หรือ ส.ว. ประจำรัฐของตนเพื่อขอให้ปกป้องไม่ให้ผู้แทนการค้าซึ่งขึ้นต่อรัฐสภากลั่นแกล้ง วิธีการนี้จะได้ผลกว่าการจ้างล๊อบบี้ยิสท์ และใช้เงินน้อยกว่ามาก เพราะว่า ส.ส. และส.ว. อเมริกันคำนึงถึงเสียงสนับสนุนจากผู้ลงคะแนนเสียงมาก และถ้ารวบรวมเงินบริจาคให้ส.ส. และส.ว. เพื่อใช้หาเสียงบ้างก็จะยิ่งได้ผลดี
รัฐบาลไต้หวันและเกาหลีใต้ล้วนใช้วิธีนี้มาก่อน ทูตไทยและกงสุลไทยน่าจะรู้ดีและเป็นตัวประสานที่ดีได้
นอกจากนี้ รัฐบาลควรส่งตัวแทน หรือ นักวิชาการออกเดินสายนอกประเทศเพื่อประสานกับรัฐบาลประเทศอื่นๆ หรือ องค์การเอ็นจีโอในประเทศอื่นๆให้สนับสนุน และเปิดโปงถึงความไม่ชอบธรรมของบริษัทยา และรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งคำนึงถึงภาพพจน์ของตน ว่าถ้าหากว่าถูกหลายๆประเทศ หรือ หลายๆองค์กรต่อต้าน ดังนั้นจึงได้ไม่คุ้มเสีย

บทเรียนจากนานาประเทศ
บราซิล
ประเทศบราซิลได้ออกกฎหมายสิทธิบัตรโดยคำนึงผลประโยชน์ของประเทศและประชาชน ซึ่งต่างจาก พ.ร.บ. สิทธิบัตรของไทยราวฟ้ากับดิน โดยพ.ร.บ. ของไทยมุ่งปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของบริษัทข้ามชาติ แต่กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาของบราซิล (1966) กลับมุ่งปกป้องคนและผลประโยชน์ของชาวบราซิล โดยระบุว่า “ รัฐบาลบราซิลไม่ยอมรับสิทธิบัตรยาของต่างชาติหากว่า บริษัทเหล่านั้นไม่ตั้งโรงงานผลิตยานั้นในประเทศบราซิล หรือ ออกใบอนุญาติให้บริษัทยาของบราซิลผลิตแทน”
“กฎหมายสิทธิบัตรของบราซิล กำหนดให้รัฐบาลมีสิทธิผลิตยาที่มีสิทธิบัตรก่อนกฎหมายบังคับใช้(1966) ได้ทุกตัวยาจากทุกประเทศ” ประเทศไทยควรจะเอาเยี่ยงอย่างโดยการเสนอแก้กฎหมายสิทธิบัตรของไทยให้เหมือนของบราซิล
เกาหลี
ประเทศเกาหลีใต้ซึ่งร่ำรวยกว่าประเทศไทยเห็นความสำคัญของสิทธิเข้าถึงยาของผู้ป่วย ได้แก้ไขกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาของชาติให้มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2005 โดยแก้ให้รัฐบาลต้องอนุญาตให้มีการผลิตยาโดยประกาศใช้ “สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา” ภายในเวลาไม่เกิน 6 เดือนเพื่อใช้ในประเทศ และสามารถผลิตเพื่อการค้าและการส่งออกอีกด้วย
สวิสเซอร์แลนด์
ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ก็แก้กฎหมายในทำนองเดียวกับประเทศเกาหลีใต้ เพื่อจะได้เป็นผู้นำในการส่งออกยาให้กับประเทศด้อยพัฒนาที่ประกาศใช้ “สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา” แต่ว่ายังผลิตเองไม่ได้ แต่ต้องนำเข้าจากประเทศอื่นโดยสวิสเซอร์แลนด์ไม่ต้องจ่ายค่าสิทธิบัตร หรือจ่ายน้อยลง
อินเดีย
กฎหมายสิทธิบัตรของอินเดียอนุญาติให้ผลิตยาที่มีสิทธิบัตรของต่างประเทศได้อย่างถูกกฎหมายมาตั้งแต่ปี 1970 (2513) โดยการแปลงหรือถอดสูตรเคมี (Reverse drug engineering) ซึ่งทำให้ประเทศอินเดียกลายเป็นประเทศส่งออกยาที่สำคัญที่ใหญ่และสุดของโลก โดยการส่งออกยาไปยังประเทศกำลังพัฒนาที่ยากจนทั่วโลก ในแต่ละปีช่วยชีวิตผู้ป่วยได้หลายร้อยล้านคน และนำรายได้เข้าประเทศมหาศาล
ประเทศไทยก็ควรเอาเยี่ยงอย่างอินเดียเพื่อส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมยาภายในประเทศเพื่อนำรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศเข้าประเทศ จะได้ไม่ต้องกลัวการตัดจีเอสพีอีกต่อไป เพราะปัจจุบันเราพึ่งแต่สินค้าส่งออกไม่กี่ตัว ทำให้ถูกกลั่นแกล้งได้ง่าย
ยาที่ประเทศไทยพึ่งประกาศใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา ชื่อ antiretroviral ซึ่งราคา ประมาณ $10000 (350,000 บาท )ในประเทศตะวันตก แต่อินเดียผลิตขายเมื่อปีที่แล้วในราคาเพียง $200 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 7000 บาท ) องค์การหมอไร้พรมแดนก็ซื้อยาจากอินเดียไปช่วยรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ใน 27 ประเทศทั่วโลก
ในเดือนธันวาคม 2004 อินเดียยอมรับที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาขององค์การค้าโลกอย่างมีเงื่อนไข โดยยอมรับในเรื่องสิทธิบัตรยาเฉพาะที่ยื่นขอจดและผลิตในอินเดียนับตั้งแต่ปี 2005 เป็นต้นไปเท่านั้น ส่วนยาที่มีสิทธิบัตรก็ต้องเป็นยาที่มีการยื่นจดสิทธิบัตรในประเทศอื่นในภายหลังปี 1995(2538) เท่านั้น เป็นเรื่องเศร้าที่ประเทศอื่นๆล้วนคำนึงถึงผลประโยชน์และชีวิตของคนในชาติ แต่ประเทศไทยเรามีแต่คนคิดขายชาติขายแผ่นดิน พร้อมที่จะตายเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของบริษัทข้ามชาติ เช่น ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ในหมวด 5 เรื่องแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ส่วนที่ 9 มาตรา 85 (๒) ส่งเสริมการประดิษฐ์หรือการค้นคิดสิ่งใหม่ รักษาและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
เรื่องการให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศอื่นๆล้วนกำหนดอยู่ใน กฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งสามารถแก้ไขได้ตามสถานการณ์ความจำเป็นและเงื่อนไขของภาวะเศรษฐกิจและสังคม แต่การมากำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ทำให้เป็นเรื่องถาวร แก้ไขไม่ได้ นอกจากฉีกรัฐธรรมนูญ ดังนั้นกรณี การที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา อาจจจะตีความได้ว่าขัดกับรัฐธรรมนูญ ดังนั้นมาตรา85 (๒) ควรจะต้องตัดออกทันที เพื่อไม่ให้รัฐธรรมนูญฉบับนีกลายเป็นรัฐธรรมนูญขายชาติ

พ.ร.บ. ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 มีอะไรในกอไผ่

พ.ร.บ. ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 มีอะไรในกอไผ่
กมล กมลตระกูล
มีประชาชนจำนวนมากวิเคราะห์วิจารณ์ว่า พ.ร.บ. ทุนรัฐวิสาหกิจ คือใบอนุญาตปล้นชาติ ปล้นแผ่นดินโดยการนำสมบัติของแผ่นดินและของประชาชนทั้งชาติไป “ขายกิน” กันในหมู่พวกพ้อง และบริษัทข้ามชาติ โดยไม่ผิดกฎหมาย
ข้อกล่าวหาข้างต้นมีมูลหรือไม่ ควรจะต้องมา พิจารณากันดู
มาตรา 4 ใน พ.ร.บ. นี้ ระบุว่า “ ในกรณีที่รัฐบาลมีนโยบายที่จะนำทุนบางส่วนหรือทั้งหมดของรัฐวิสาหกิจใดมาเปลี่ยนสภาพเป็นหุ้นในรูปแบบของบริษัทให้กระทำได้ตาม พ.ร.บ. นี้”
มาตรานี้ชัดเจนตามข้อกล่าวหาข้างต้นอย่างสมบูรณ์ คือ การให้อำนาจคณะกรรมการจำนวน 15 คนมีอำนาจนำทรัพย์สินจำนวนมหาศาลของแผ่นดินหรือของประชาชนไปขายได้ตามชอบใจ โดยมีมาตรา 22 มารองรับว่า “ เมื่อมีการจดทะเบียนเป็นบริษัทแล้ว ให้การดำเนินกิจการของบริษัทเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือ กฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชน” ซึ่งหมายความว่าใครจะเข้ามาซื้อหุ้นก็ได้ และเมื่อคุมเสียงข้างมากได้ก็สามารถลดทุนหรือ ถอนทุน หรือ จ่ายเงินปันผลไห้มากตามชอบใจได้
ตัวอย่าง เช่น เมื่อบริษัทข้ามชาตินำเงินเข้ามาซื้อรัฐวิสาหกิจ 1 หมื่นล้านบาท พอวันรุ่งขึ้นคณะกรรมการบริหารซึ่งแต่งตั้งโดยผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ก็ลงมติให้ลดทุนลงทุนที 1 หมื่นล้านบาท เพราะเหตุว่า ทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจนั้นมีมูลค่าสูงกว่าราคาที่ประเมินกันในท้องตลาด ประกอบกับมีลูกค้าแน่นอน ซึ่งสามารถนำมาเป็นฐานรายได้ เพื่อนำไปกู้เงินกับธนาคารนำเงินมาดำเนินการได้
หรือถ้าบริษัทข้ามชาติหน้าบางหน่อย ก็อาจจะใช้วิธีการแบ่งเงินปันผลเมื่อเวลาสิ้นปีด้วยยอดเงินจำนวนเดียวกันก็ได้
โดยวิธีการนี้ก็เท่ากับว่าบริษัทข้ามชาติได้รัฐวิสาหกิจไปฟรีๆ แล้วจะมาสับโขกขึ้นราคากับคนไทยอย่างไรก็ได้ ตามที่บัญัติไว้ในมาตรา 4 นี้
มาตรา 7 ระบุว่า “ การตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ โดย ค.ร.ม. ให้แต่งตั้งโดยระบุตัวบุคคล”
มาตรานี้แสดงถึงความไม่โปร่งใสอย่างเจตนา เพราะไม่มีกระบวนการสรรหา คัดเลือกที่ประชาชน นักวิชาการ วุฒิสภา หรือสภาทนายความ และองค์กรอิสระมีส่วนร่วม จึงสามารถฮั้วเอาสมัครพรรคพวกที่ไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติและประชาชนมาเป็นกรรมการได้ถึง 6 คนจาก 15 คน
มาตรา 13 กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ “ เสนอความเห็นต่อ ค.ร.ม. เพื่อพิจารณาอนุมัติในหลักการและแนวทางให้ดำเนินการนำทุนบางส่วนหรือทั้งหมดของรัฐวิสาหกิจมาเปลี่ยนสภาพเป็นหุ้นในรูปแบบของบริษัท”
สมบัติของคนทั้งชาติทำไมจึงไม่ให้รัฐสภาเป็นผู้ตัดสิน และให้ประชาชนได้ลงประชามติให้ความเห็นชอบก่อน หรือ ให้วุฒิสภาให้ความเห็นชอบก่อน แต่มอบอำนาจให้คนเพียง 15 คนซึ่งมาจากการแต่งตั้งเป็นคนตัดสิน น่าคิดนะครับ
มาตรา 24 มาตรานี้สำคัญมาก โดยระบุว่า “ ให้บรรดากิจการ สิทธิ หนี้ ความรับผิด และสินทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจโอนไปเป็นของบริษัท”
“ในกรณีหนี้ที่โอนไปเป็นของบริษัท เป็นหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันอยู่แล้ว ให้กระทรวงการคลังค้ำประกันหนี้ต่อไป “
“ สิทธิตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงสิทธิตามสัญญาเช่าที่ดินที่เป็นที่ราชพัสดุหรือสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ที่รัฐวิสาหกิจมีอยู่ในวันจดทะเบียนบริษัทนั้นด้วย”
“ ส่วนสิทธิในการใช้ราชพัสดุหรือสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่รัฐวิสาหกิจเคยมีอยู่ตามกฎหมายที่ราชพัสดุหรือกฎหมายอื่น ให้บริษัทมีสิทธิในการใช้ที่นั้นต่อไปตามเงื่อนไขเดิม “
มาตรานี้คือการเอากะทิ อันหมายถึงอภิสิทธิ์ หรือ สิทธิพิเศษต่างๆที่ได้ใช้อำนาจรัฐอนุมัติให้เป็นกรณีพิเศษเพราะเป็นรัฐวิสาหกิจ และบางกิจการเป็นเรื่องของสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ไปถวายให้กับเอกชนหรือ บริษัทข้ามชาติ อย่างให้เปล่า แต่ประชาชนกลับต้องมารับภาระ คือ กระทรวงการคลังก็ยังต้องค้ำประกันหนี้ต่อไป
อภิสิทธิ์ สิทธิพิเศษ และสิทธิประโยชน์ในสาธารสมบัติของแผ่นดินก็ต้องยกให้เอกชนหรือ บริษัทข้ามชาติไปหมด
มาตรา 26 คล้ายกับมาตราข้างต้น คือตอกย้ำการให้สิทธิพิเศษต่อบริษัทที่แปรรูปเป็นของเอกชนโดยระบุว่า “ กฎหมายอื่นมีบทบัญญัติให้อำนาจรัฐวิสาหกิจดำเนินการใดๆต่อบุคคล ทรัพย์สิน หรือสิทธิของบุคคล หรือมีบทบัญญัติให้การดำเนินการของรัฐวิสาหกิจนั้นได้รับยกเว้นไม่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการใด หรือได้รับยกเว้นการปฎิบัติตามกฎหมายในเรื่องใด หรือมีบทบัญญัติให้สิทธิพิเศษแก่รัฐวิสาหกิจนั้นเป็นกรณีเฉพาะ หรือมีบทบัญญัติคุ้มครองกิจการ พนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ ให้ถือว่าบทบัญญัตินั้นมีผลใช้บังคับต่อไป”
เป็นเรื่องที่แปลกแต่จริงที่ว่า รัฐต้องการยุบรัฐวิสาหกิจ แต่กลับคงอภิสิทธิ์และสิทธิพิเศษต่างๆ รวมทั้งข้อยกเว้นต่างๆที่ให้ไว้กับรัฐวิสาหกิจ เพราะถือว่าเป็นกิจการของรัฐ และมีจุดประสงค์เพื่อการให้บริการประชาชน แต่กลับคงสิทธินี้ไว้ให้กับเอกชนต่อไปเมื่อแปรรูปไปแล้วเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจในการหากำไรสูงสุด มิใช่เพื่อการบริการอีกต่อไป
การแปรรูปแบบนี้จะไม่เรียกว่าการเอาผลประโยชน์ของชาติของแผ่นดินไปขายได้อย่างไรครับ
การรถไฟซึ่งมีที่ดินทั่วประเทศในย่านใจกลางเมืองคิดเป็นมูลค่านับแสนๆล้านบาทซึ่งยังไม่เคยมีการประเมินมูลค่าที่แท้จริง แต่ตามตัวเลขที่ขาดทุนก็อาจจะถูกขายไปด้วยราคาถูกๆอย่างจงใจแล้วแถมการคุ้มครองทุกอย่างข้างต้น จึงเป็นอย่างที่ ดร. วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์ กล่าวไว้ว่า “ซื้อรัฐวิสาหกิจ แถมประเทศไทย”
คราวนี้ลองมาดูว่าทรัพย์สินของแผ่นดินที่กำลังจะถูกปล้นนั้นมีอะไรบ้าง กำไรหรือ ขาดทุนกันแน่









ทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจไทย
รัฐวิสาหกิจไทยมีทั้งสิ้น 72 แห่ง ตามตัวเลขของ สำนักรัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ กรมบัญชีกลาง มีทรัพย์สินทั้งสิ้นในปี พ.ศ. 2540 มีมูลค่า 4 ล้านล้าน 7 หมื่น 2 พัน 6 ร้อย 19 บาท เท่ากับงบประมาณแผ่นดิน 4 ปี หรือ รายได้จากการส่งออกประมาณ 3 ปี และน้อยกว่า จีดีพี เพียง 1 ล้านล้านบาท
รัฐวิสาหกิจทั้งหมดนี้ มีเงินทุนทั้งสิ้น 8 แสน 2 หมื่น 5 พัน 9 ร้อย 56 บาท หรือ เกือบเท่างบประมาณแผ่นดินใน 1 ปี
รัฐวิสาหกิจทั้งหมดนี้นำรายได้ส่งเข้ากระทรวงการคลัง ณ วันที่ 30 กันยายน 2540 เป็นเงิน 6 หมื่น 7 พัน 5 ร้อย 69 ล้านบาท หรือ ประมาณ ร้อยละ 8 ของงบประมาณแผ่นดิน และว่าจ้างงานถึง 3 แสน 5 พัน 8 ร้อย 93 คน

รัฐวิสาหกิจที่มีทรัพย์สินมากที่สุดใน 10 อันดับแรกในปี 2540 ได้แก่
สำนักรัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ กรมบัญชีกลาง หน่วย : ล้านบาท
ประเภทรัฐวิสาหกิจ
ทรัพย์สิน
เงินทุน
รายได้ / กำไร / %
รายได้นำส่งคลัง
1.ธนาคารแห่งประเทศไทย
813,943
33,834
36,533 /11,049 / 30%
14,531 (130%)

2.ธนาคารกรุงไทย
781,348
62,294
78,154/6,088/ 7.5%
1,200 (20%)
3.การไฟฟ้าฝ่ายผลิต
316,060
101,042
127,135 / 12,827/10 %
8,449 ( 65%)
4.ธนาคารอาคารสงเคราะห์
294,960
15,917
48,433 / 6,586 / 13%
1,272 ( 15%)
5. ธนาคารออมสิน
278,654
26,913
23,924 / 4,916/ 20%
0
6.องค์การโทรศัพท์
260,444
192,530
45,561 / 22,553 / 50%
10,523 ( 46%)
7. ธ.ก.ส.
229,773
6,317
16,968 / 640 / 4%
0
8. ป.ต.ท.
140,810
33,983
239,166 / 2,289/5%
3,500 (150%)
9. การไฟฟ้าภูมิภาค
138,318
56,045
93,810/9,066 / 10%
3,610 ( 40%)
10.การบินไทย
136,312
1,572
87,576 / 4,004 / 5%
1,950 ( 48%)
11. การทางพิเศษ
127,223
36,227
3,007 /601/19%
430 ( 71%)










รวม
3,517,845
566,674
722,113 /74,531/10%
45,465





รายชื่อรัฐวิสาหกิจที่ขาดทุนสูงสุด 10 แห่ง


รายชื่อรัฐวิสาหกิจ
ทรัพย์สิน
เงินทุน
รายได้
ขาดทุน

1.ข.ส.ม.ก.
9,686
(9,447)
6,681
(2,474)

2.การปิโตรเลียม บางจาก
23,172
6,890
27,966
(2,191)

3.การรถไฟ
44,700
17,417
8,465
(1,643)
4.การท่องเที่ยว,ททท
2,164
1,287
2,524
(345.80)
5.องค์การอุตสาหกรรมห้องเย็น
266
(1,342)
72
(158)
6.องค์การสวน พฤกษศาสตร์
389
373.5
2.9
(126.30)
7.องค์การส่งเสริมสินค้าและพัศดุพันภัณฑ์
502
(605)
1,866
(125)
8. องค์การทอผ้า
503
92
475
(85.90)
9.โรงงานน้ำตาล กรมโรงงานอุตสาหกรรม
649
383
808
(37.90)
10. องค์การส่งเสริมโคนม
942
443
1,686
(36)
รวม



7,222


การแปรรูปฯตาม “ยาสั่ง” จากไอเอ็มเอฟ
นโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างเร่งด่วนเป็น “ยาสั่ง” (กินแล้วตาย) จากไอเอ็มเอฟ (จดหมายแสดงเจตจำนงค์ ฉบับที่ 3-5) หรือ letter of intent) ซึ่งได้มีการทำตามโดยการแก้ไข พ.ร.บ. (เพื่อขายชาติ)ต่างๆถึง 11 ฉบับ มาตั้งแต่รัฐบาลชวน-ธารินทร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออก พ.ร.บ. ทุนรัฐวิสาหกิจ
จากตัวเลขข้างต้นจะเห็นได้ว่า รัฐวิสาหกิจไทยมีทั้งสิ้น 72 แห่ง ตามตัวเลขของ สำนักรัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ กรมบัญชีกลาง มีทรัพย์สินทั้งสิ้นในปี พ.ศ. 2540 มีมูลค่า 4 ล้านล้าน 7 หมื่น 2 พัน 6 ร้อย 19 บาท เท่ากับงบประมาณแผ่นดิน 4 ปี หรือ รายได้จากการส่งออกประมาณ 3 ปี และน้อยกว่า จีดีพี เพียง 1 ล้านล้านบาท
รัฐวิสาหกิจทั้งหมดนี้ มีเงินทุนทั้งสิ้น 8 แสน 2 หมื่น 5 พัน 9 ร้อย 56 บาท หรือ เกือบเท่างบประมาณแผ่นดินใน 1 ปี
รัฐวิสาหกิจทั้งหมดนี้นำรายได้ส่งเข้ากระทรวงการคลัง ณ วันที่ 30 กันยายน 2540 เป็นเงิน 6 หมื่น 7 พัน 5 ร้อย 69 ล้านบาท หรือ ประมาณ ร้อยละ 8 ของงบประมาณแผ่นดิน และว่าจ้างงานถึง 3 แสน 5 พัน 8 ร้อย 93 คน
นี่คือ ชิ้นปลามัน ที่ไอเอ็มเอฟ ผู้เป็นหัวหน้ากองหมู่ทลวงฟันของบริษัททุนข้ามชาติ มองเห็น และบีบให้แปรรูปเพื่อจะได้เขมือบชิ้นปลามันนี้
อันที่จริง การก่อตั้งรัฐวิสาหกิจในทุกประเทศขึ้นมาเพราะถือว่าเป็นหน้าที่หรือ พันธกิจอย่างหนึ่งในหลายๆอย่างของรัฐ ในการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน โดยเฉพาะในกิจการบริการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการพื้นฐาน อันเนื่องจากเป็นการลงทุนสูง ซึ่งเอกชนจะทำได้ยาก หรือ ทำแล้วก็ต้องคิดราคาค่าบริการแพง เพื่อเอาทุนกลับคืนมา
การที่รัฐนำเงินภาษีอากรของประชาชนมาลงทุน หรือ การเข้าค้ำประกันเงินกู้ของรัฐวิสาหกิจ(การไฟฟ้าฝ่ายผลิต) จึงสามารถกู้เงินก้อนโตมาได้ เช่น กรณีการสร้างเขื่อน หรือ การวางเครือข่ายโทรศัพท์ หรือ การสร้างระบบขนส่งมวลชน การสร้างทาง การสร้างสนามบิน และสาธารณูปโภคอื่นๆ จึงถือว่าเป็นการปฎิบัติตาม “สัญญาประชาคม”
ดังนั้นจึงเป็นการชอบธรรมอย่างยิ่งที่จะต้องคิดค่าบริการประชาชนในราคาถูก แม้ว่าจะขาดทุนก็ตาม เพราะ เงินที่ขาดทุนก็มาจากภาษีของประชาชน เงินลงทุนก็มาจากภาษีอากรของประชาชน รัฐ หรือ รัฐวิสาหกิจ เป็นเพียงผู้ทำหน้าที่จัดการ หรือ ตัวกลาง
ถ้าหากรัฐไม่ทำหน้าที่นี้ ประชาชนก็ไม่จำเป็นต้องมีรัฐ และถ้ารัฐคิดจะเอาอัฐยายมาหากำไรจากยาย เราก็ไม่มีความจำเป็นต้องเสียภาษีให้รัฐ แต่มาจ่ายให้กับเอกชนแทน
ถึงกระนั้น รัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่แม้ว่าจะมีการคอรัปชั่นและบริหารงานอย่างไม่โปร่งใส ก็ยังทำกำไร และนำเงินส่งเข้าคลังทุกปี ตามตารางข้างต้น
รัฐวิสาหกิจที่ขาดทุนนั้นมีเพียงไม่กี่แห่ง แต่เมื่อเฉลี่ยแล้ว รัฐวิสาหกิจยังเป็นแหล่งรายได้อันมหาศาลของรัฐ คือ เป็นผู้นำรายได้ส่งคลังคิดเป็นร้อยละ 8 ของเงินงบประมาณแผ่นดินทีเดียว
ด้วยหลักรัฐศาสตร์สากล และเหตุผลข้างต้น ถ้ารัฐบาลจะใช้รัฐวิสาหกิจมาค้าหากำไรจากการให้บริการกับประชาชน ดังนั้นประชาชนก็ไม่จำเป็นต้องเสียภาษีให้รัฐบาล และไม่จำเป็นต้องมีรัฐบาลอีกต่อไป
ในมุมกลับ อะไรจะเกิดขึ้นถ้าทุนต่างชาติ หรือ ทุนยักษ์เข้ามาเป็นเจ้าของ โดยมีเป้าหมายเพื่อค้ากำไรสูงสุด
ดังนั้น การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้เอกชน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มทุนข้ามชาติ หรือ กลุ่มทุนยักษ์ ซื้อไปค้าหากำไรจากกิจการพื้นฐานที่ทุกคนจำเป็นต้องใช้บริการ โดยเป็นกิจการผูกขาดไร้คู่แข่งด้วย จึงเป็นการตัดสินใจที่ไม่ถูกต้องตามหลักของรัฐศาสตร์ อย่างไม่มีข้อสงสัย
หากหันมามองในมุมมองของความมั่นคงของชาติ การบริการของรัฐวิสาหกิจในด้านการสื่อสาร และพลังงานการบิน ธนาคาร นั้นเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติโดยตรงในยุคนี้ เป็นการสมควรหรือที่จะให้เอกชน หรือ ต่างชาติมาถือครอง หรือ บริหาร
ยังไม่เคยปรากฏมาก่อนเลยว่า เมื่อแปรรูปรัฐวิสาหกิจไปแล้ว ประชาชนในประเทศนั้นๆดีขึ้นเลย
การแปรรูปรถไฟในประเทศอังกฤษในสมัยของ มากาเรต แทชเชอร์ ซึ่งทั้งๆที่เป็นเมืองผู้ดีก็ยังมีกลิ่นเหม็นฉาวโฉ่ไปทั่วโลก ดังนี้
ลองหันมาดูตัวอย่างรูปธรรม ในกรณีการแปรรูปการรถไฟของประเทศอังกฤษ อีกสักกรณีหนึ่ง สิ่งแรกที่เกิดขึ้น คือ การฉ้อโกงทรัพย์สินของประชาชนอย่างถูกกฎหมายเพื่อให้พรรคพวกได้ร่ำรวย โดยการขายในราคาถูกๆ เช่น เส้นทาง Porterbrook ROSCO ได้ถูกขายสัมปทานไปในราคา 527 ล้านปอนด์ ในเดือนมกราคม 1966 แล้วถูกขายต่อ ในเวลา 7 เดือนต่อมาในราคา 825 ล้านปอนด์
กลุ่มนักธุรกิจที่ซื้อ คือคนใกล้ชิดและผู้ที่เคยให้เงินสนับสนุนพรรคอนุรักษ์นิยมของนางสิงห์ แทชเชอร์ ได้กำรไไปเหนาะๆ ถึง 298 ล้านปอนด์
สัมปทานอีกเส้นหนึ่ง คือ Eversholt ROSCO ถูกขายสัมปทานไปในราคาเพียง 580 ล้านปอนด์ แต่ถูกขายต่อในเวลา 1 ปีต่อมาในราคา 726 ล้านปอนด์ คนใกล้ชิดของพรรคอนุรักษ์นิยม ของนางแทชเชอร์ รับเงินกันไปบานตะไท อีก 146 ล้านปอนด์

เรื่องไม่จบเพียงแค่นั้น หลังจากแปรรูปรัฐวิสาหกิจแล้ว คนงานที่มีอยู่ จำนวน 159.000 คน ได้ถูกปลดออกเหลือเพียง 92000 คน คนงานดูแลรักษารางจำนวน 31000 คนก็ถูกปลดลดเหลือ 15000 คน อุบัติเหตุจึงเกิดขึ้นเป็นประจำ และร้อยละ 40 ของตารางรถไฟที่เคยวิ่งอย่างตรงเวลาเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ กลับวิ่งไม่ตรงเวลา และก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจถึงวันละ 250000 ปอนด์ โดยที่ราคาค่าโดยสารเพิ่มขึ้นจากเดิมอีก 100 เปอร์เซนต์
เมื่อปัญหาเกิดขึ้นบริษัทที่ซื้อสัมปทานก็ไม่ยอมปรับปรุง โดยอ้างว่าขาดทุนและเรียกร้องให้รัฐช่วย เป็นเงินถึง 5 หมื่นล้านปอนด์ เพื่อการปรับปรุง ซึ่งไม่แตกต่างจากกรณีของไทยที่รัฐต้องลงทุนสร้างโครงสร้างส่วนขยายของรถไฟฟ้า เพื่อให้มีคนใช้มากขึ้นและเป็นการแก้ปัญหาการจราจร โดยไม่ต้องมีเงื่อนไขในการลดราคาให้ผู้โดยสาร
นั่นหมายความว่าการแปรรูปรัฐวิสาหกิจในด้านสาธารณูปการไม่ได้ช่วยลดงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลลงเลย แต่กลับต้องอุ้มบริษัทเอกชนต่อ
เมื่อเป็นเช่นนี้ ชาวอังกฤษถึงร้อยละ 77 ต่างเรียกร้องให้รัฐบาลอังกฤษซื้อกิจการคืนกลับมาเป็นของรัฐ และรัฐบาลของนายโทนี่ แบร์ก็กำลังดำเนินการอยู่ แต่ราคาซื้อคืนนั้นไม่ใช้ราคาเดิมเสียแล้ว
เมื่อปีที่แล้ว บริษัทที่ซื้อสัมปทานรถไฟไปได้รายงานตัวเลขขาดทุนถึง 300 ล้านปอนด์ แต่กลับจ่ายเงินปันผลถึง 100 ล้านปอนด์ให้กลับผู้ถือหุ้น
ครับ นี่ คือ ความโปร่งใสของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่เกิดขึ้นมาแล้วในประเทศที่เป็นแบบอย่างของระบอบประชาธิปไตย และประเทศที่ตรงกันข้ามอย่างอาเจนตินา ซึ่งล้วนมีกระบวนการและผลลัพท์ที่ไม่แตกต่างกัน
นั่น คือ กรรมและภาระจะต้องตกอยู่กับประชาชนตาดำๆอย่างแน่นอน
ประเทศอาเยนตินาเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ได้ได้เริ่มดำเนินนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างจริงๆจังๆในปี 1991 หลังจากที่ได้รับเลือกตั้งมาเป็นเวลา 2 ปี
ภายในเวลาเพียง 2 ปี รัฐบาลของประธานาธิบดี มีเนมและรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจ โดมิงโก คาวาโย ได้แปรรูปรัฐวิสาหกิจและขายสัมปทานของรัฐออกไปถึง 250 แห่ง โดยได้รับเงินสดจากการขายกิจการของรัฐเป็นเงินถึง 3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ
พนักงานรัฐวิสาหกิจถูกปลดจากจำนวน 5 แสน 9 หมื่น คน เหลือ 2 แสน 6 หมื่น คน
หลังจากการแปรรูป 10 ปี เงิน 3 หมื่นล้านเหรียญหายไปหมด ประเทศอาเยนตินาประสบวิกฤตเศรษฐกิจล้มละลายในปี 2002 นายโดมิงโก คาวาโยหลบหนี ข้อหาฉ้อโกงและรับสินบน 13 คดี คิดเป็นเงินหลายร้อยล้านเหรียญหนีไปอยู่อเมริกา
ประธานาธิบดีมีเนมและญาติพี่น้องต่างก็เจอข้อหาทำนองเดียวกันและคดียังอยู่ในศาลนับจำนวนไม่ถ้วน

ตัวอย่างรูปธรรม คือ การขายสายการบิน Aerolineas Argentinas ซึ่งเป็นสายการบินแห่งชาติของอาเยนตินา นายแอนโทนี ฟายย่า ได้เขียนรายงานไว้ในหนังสือพิมพ์วอชิงตัน โพสท์ ฉบับประจำวันที่ 6 สิงหาคม 2001 ว่า
สายการบินแห่งชาติอาเยนตินามีเครื่องบิน 28 ลำมีศูนย์ฝึกนักบินที่ใหญ่ที่สุดในลาตินอเมริกา มีสำนักงานหรูอยู่ที่ ร๊อกกี้เฟลเลอร์ เซนเตอร์ ในเมืองนิวยอร์ก และ โรม เป็นเจ้าของสิทธิเส้นทางบินคิดเป็นมูลค่าตลาด 636 ล้านเหรียญ มีกำไรจากการประกอบการร้อยละ 5.6 ต่อปี
ประธานาธิบดีมีเนมได้ขายไปให้แก่สายการบิน ไอบีเรียของรัฐบาลสเปน เป็นเงินแค่ 260 ล้านเหรียญ โดยสามารถใช้เครื่องบินทั้งหมดมาค้ำประกันเงินกู้เพื่อนำมาจ่าย แล้วโอนให้เป็นหนี้ของบริษัท
สายการบินอาเยนตินาที่เคยเป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดในลาตินอเมริกา ซึ่งมีเส้นทางบินไปทั้ง อเมริกา ยุโรปและออสเตรเลีย ถูกลดเที่ยวบินให้เหลือบินเฉพาะภายในทวีปลาตินอเมริกา และส่งผู้โดยสารต่อให้สายการบินไอบีเรียผู้เป็นบริษัทแม่ รวมทั้งการถอนทุนโดยการขายสำนักงานหรูที่มีอยู่ในประเทศต่างๆทั่วโลก
ปัจจุบันสายการบินอาเยนตินาอยู่ในสภาพกึ่งล้มละลาย
หวังว่าผู้อ่านคงจะได้คำตอบว่า พ.ร.บ. ทุนรัฐวิสาหกิจนั้น เป็น พ.ร..บ. ปล้นชาติ ปล้นประชาชน และ ขายชาติ “ หรือ ไม่ครับ
ผมไม่ขอแสดงความเห็นหรือ สรุป แต่ขอให้ท่านผู้อ่านตัดสินด้วยวิจารณญาณของท่านเองครับ



ภาคผนวก

รัฐวิสาหกิจแบ่งออกได้ 6 ประเภทตามข้อมูลของกรมบัญชีกลาง

1. ประเภทที่หารายได้ให้รัฐ
โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง
สำนักงานสลากินแบ่งรัฐบาล

2.1 ประเภทที่เป็นสาธารณูปโภค
การไฟฟ้าฝ่ายผลิต
การไฟฟ้านครหลวง
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
การประปานครหลวง
การประปาส่วนภูมิภาค

2.2 ประเภทที่สาธารณูปการ
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย
การท่าเรือแห่งประเทศไทย
การรถไฟแห่งประเทศไทย
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ
องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย
การสื่อสารแห่งประเทศไทย
องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย
บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย
การเคหะแห่งชาติ
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

รัฐวิสาหกิจ 2 ประเภทนี้นำรายได้ส่งเข้าคลังในปี 2540 เป็นจำนวนเงิน 32,438 ล้าน บาท และจ้างพนักงาน 199,505 คน

3. ประเภทที่ตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการตามนโยบายพิเศษของรัฐ

3.1 สถาบันการเงิน
ธนาคารกรุงไทย จำกัด
ธนาคารออมสิน
ธนาคารอาคารสงเคราะห์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
สำนักงานธนานุเคราะห์

สถาบันการเงินเหล่านี้นำรายได้ส่งเข้าคลังในปี 2540 เป็นเงิน 2,490 ล้านบาท และจ้างพนักงาน 41,573 คน

3.2 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ
การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
องค์การเหมืองแร่ในทะเล
องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้

องค์การเหล่านี้ นำรายได้ส่งเข้าคลังในปี 2540 เป็นเงิน 3,500 ล้านบาท และจ้างพนักงาน 5,853 คน





3.3 เกษตรกรรมและพาณิชยกรรม
องค์การส่งเสริมกิจการโคนม
องค์การสวนยาง
องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร
องค์การสพานปลา
องค์การอุตสาหกรรมห้องเย็น
องค์การตลาด
องค์การคลังสินค้า
บริษัท ไม้อัดไทย จำกัด
โรงพิมพ์ตำรวจ กรมตำรวจ
โรงงานไพ่ กรมสรรพสามิต
องค์การสุรา กรมสรรพสามิต
องค์การเภสัชกรรม
องค์การรับส่งสินค้าและพัศดุภัณฑ์
บริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด
บริษัท การบินไทย จำกัด
บริษัท ขนส่ง จำกัด
บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด
บริษัท ลำพูนจังหวัดพาณิชย์ จำกัด
บริษัท จังหวัดสุรินทร์ จำกัด
บริษัท ปราจีนบุรีจังหวัดพาณิชย์ จำกัด

บริษัททั้ง 20 นี้ นำรายได้ส่งเข้าคลังในปี 2540 เป็นเงิน 2,495 ล้านบาท และจ้างพนักงาน 36,736คน



3.4 ประเภทส่งเสริม

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
การกีฬาแห่งประเทศไทย
องค์การสวนสัตว์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่แห่งประเทศไทย
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง

หน่วยงานเหล่านี้ นำรายได้าง่คลังในปี 2540 เป็นจำนวน 8,486 ล้านบาท และจ้างพนักงาน 2,255 คน

4. ประเภทที่ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เดิมเพื่อความมั่นคงของประเทศ

องค์การผลิตอาหารสำเร็จรูป
องค์การแก้ว
องค์การทอผ้า
องค์การแบตเตอรี่
องค์การฟอกหนัง

องค์การ 5 แห่งนี้ นำรายได้ส่งเข้าคลังในปี 2540 เป็นจำนวนเงิน 5.9 ล้านบาท และจ้างพนักงาน 2,328 คน





5. ประเภทที่ตั้งขึ้น หรือ ได้มาด้วยเหตุผลอื่น

โรงงานน้ำตาล กรมโรงงานอุตสาหกรรม
บริษัท สหโรงแรมไทยและการท่องเที่ยว จำกัด

สองหน่วยงานนี้ องค์การ 5 แห่งนี้ นำรายได้ส่งเข้าคลังในปี 2540 เป็นจำนวนเงิน 15.3 ล้านจ้างพนักงาน 596 คน

6. รัฐวิสาหกิจอื่นๆที่มิได้จัดประเภทไว้

บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด(มหาชน)
องค์การรถไฟฟ้ามหานคร
สถาบันการบินพลเรือน
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด
บริษัท ปตท. สผ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
ธนาคารแห่งประเทศไทย
บริษัท ท่าอากาศสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด
องค์การจัดการน้ำเสีย
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
องค์การบริหาหรสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์
รัฐวิสาหกิจประเภทที่ 6 นี้ นำรายได้เข้าคลังในปี 254 เป็นจำนวนเงิน 14,843 ล้านบาท และจ้างพนักงาน 6,923 คน
รัฐวิสาหกิจทั้ง 72 แห่ง มีทรัพย์สิน 957,527 ล้านบาท มีกำไร 10,051 ล้านบาท และ นำรายได้ส่งเข้าคลัง 14,843 ล้านบาท

ห้างค้าปลีกยักษ์ทำลายวิถีชีวิตชุมชน

ยักษ์ค้าปลีกข้ามชาติกับหน้าที่ของรัฐในการคุ้มครองวิถีชีวิตชุมชน
กมล กมลตระกูล
อ้างการค้าเสรีเพื่อยึดครอง
วิกฤติเศรษฐกิจและการล้มละลายของประเทศอาเยนตินาซึ่งเคยติดอันดับ 1 ใน 20 ประเทศแรกๆที่ร่ำรวยที่สุดในโลกนั้น มีสาเหตุหลักมาจากการเปิดเสรีประเทศตามวาระขององค์การเงินการเงินระหว่างประเทศ คือ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนอย่างไร้ระเบียบ การยกเลิกกฏเกณฑ์การควบคุมการเข้ามาซื้อกิจการ หรือ การลงทุนของบริษัทข้ามชาติ การยกเลิกกฏเกณฑ์การควบคุมการโยกย้ายเงินตราเข้าออกนอกประเทศ
ด้วยนโยบายข้างต้น ทำให้รายได้ของรัฐน้อยลง ธุรกิจของชาวอาเยนตินาล้มละลาย หรือ ถูกซื้อไปหมดด้วยทุนที่ข้ามชาติที่เหนือกว่า เกิดปัญหาขาดดุลย์ชำระเงินระหว่างประเทศ
บทเรียนของอาเยนตินาจึงเป็นบทเรียนที่น่าศึกษาอย่างลึกซึ้งเพื่อไม่ให้ประเทศไทยซึ่งกำลังดำเนินนโยบายเช่นเดียวกันกับอาเยนตินาตามการบีบบังคับและกดดันโดยองค์การเงินระหว่างประเทศ สมาคมหอการค้าต่างประเทศ และสถานทูตต่างประเทศ ซึ่งต้องการเจาะกำแพงเมืองให้กับบริษัทข้ามชาติเข้ามาเขมือบผลประโยชน์ได้อย่างสะดวกโยธิน อย่างไร้จริยธรรม และศีลธรรม เพระไม่ได้คำนึงถึงความอยู่รอดของประชาชน และชุมชนของประเทศเจ้าบ้านเลย
กรณีการเข้ามารุกรานของเครือข่ายยักษ์ค้าปลีกข้ามชาติ บริษัทแฟรนไชส์ บริษัทขายตรง และการบังคับใช้ในเรื่องสิทธิบัตรอย่างไร้ความเป็นธรรมนั้น อาจจะนำประเทศไทยลงเหวอย่างประเทศอาเยนตินา ถ้าหากว่า คนไทย นักการเมอง และข้าราชการไทยยังเอาหูไปนา เอาตาไปไร่ และปฏิบัติตนเป็นเสมือนสมุนกินน้ำข้าวของบริษัทข้ามชาติ
กรณีศึกษาของการเข้ามารุกรานความอยู่รอดของตลาดสดนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งในหลายๆตัวอย่างของยุทธศาสตร์การเขมือบชาติของบริษัทข้ามชาติ
ยักษ์ค้าปลีกข้ามชาติซึ่งมีเงินทุน ประสบการณ์ในด้านการบริหารจัดการ และการตลาด รวมทั้งวิธีการปัดภาระค่าใช้จ่ายมาให้กับผู้ผลิตสินค้า กำลังรุกเข้ายึดหัวหาดการค้าปลีกในขอบเขตทั่วประเทศในทุกชุมชน วิถีชีวิต วิถีเศรษฐกิจชุมชน วิถีสังคมแบบเอื้ออาทรของผู้ซื้อกับผู้ขายซึ่งตั้งอยุ่บนพื้นฐานของความไว้เนื้อเชื่อใจฉะนท์เพื่อนบ้าน ฉันท์พี่น้อง ซึ่งเชื่อของเชื่อสินค้าไปกินไปใช้ก่อนได้ สิ้นเดือนเมื่อเงินเดือนออกค่อยมาจ่าย หรือ หักหนี้กัน สิ่งเหล่านี้กำลังจะหมดไป และถูกแทนที่ด้วยระบบบัตรเครดิตที่มีอัตราดอกเบี้ยมหาโหด และใช้วิธีการทวงหนี้แบบมาเฟียจนมีลูกหนี้เกิดความเครียดและฆ่าตัวตายไปแล้วหลายราย
ต่อไปบรรดาข้าราชการชั้นผู้น้อย หรือ คนจน ถ้าหากว่าไม่มีเงินติดกระเป๋าก็ต้องไม่กิน ทนอดอยากจนกว่าจะขาดใจตายไป
ในวันเทศกาลฝรั่งถ้าร้านค้าเหล่านี้ปิดหมด คนไทยก็จะต้องอดกินอดใช้ เพราะร้านค้าย่อยถูกรุกรานให้เจ๊งไปหมดแล้ว
ประเทศไทยกำลังติดเชื้อโรค “การค้าเสรี” ซึ่งถ้าวิเคราะห์กันให้ถึงที่สุดแล้ว มีอันตรายเสียยิ่งกว่าโรคอัน แทร๊กซ์ และ โรคเอดส์เสียอีก ทั้งนี้เพราะว่า การดำเนินนโยบายการค้าเสรีอย่างหลับหูหลับตานั้นมีอันตราย ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อประเทศชาติและประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีมากมายมหาศาลกว่าคนติดโรค
จะต้องมีการทำความเข้าใจกันว่า ความหมายและกรอบคิดของคำว่าการค้าเสรีนั้นไม่ได้หมายความว่าการค้าที่ไม่มีกติกา หรือ การค้าที่ไร้ระเบียบ และไม่ได้หมายความว่า รัฐบาลของแต่ละประเทศขาดอำนาจในการกำหนดกติกาให้การค้ามีการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม มิใช่ปล่อยให้ปลาใหญ่กินปลาเล็กได้อย่างตามใจชอบ การค้าเสรีในความหมายทางสากลที่ประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้วดำเนินการนั้น ไม่ได้หมายความว่า รัฐจะต้องขึ้นต่อ หรือปล่อยปละละเลยให้ธุรกิจต่างๆกระทำการตามอำเภอใจ
หลักการของการค้าที่ถูกต้อง คือ การค้าเป็นธรรม (Fair trade) ซึ่งคู่ค้า และผู้บริโภคต่างได้รับประโยชน์ หรือได้รับการบริการในราคาเหมาะสม เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันเพื่อเสนอราคาที่ผู้บริโภคพอใจ หรือการให้บริการที่ประทับใจลูกค้ามากกว่า รวมทั้งการจำกัดการผูกขาดตัดตอน ซึ่งจะนำไปสู่การโก่งราคา หรือ การค้ากำไรเกินควรที่ลูกค้าไม่มีทางเลือก เช่นราคาของซอฟแวร์ หรือราคาค่าใช้ทางด่วน หรือ ค่าไฟฟ้าเป็นต้น

ในอเมริกาเองซึ่งเป็นแม่แบบของการค้าเสรี หรือ หรือ จะเรียกว่า การค้าไร้ระเบียบ ก็ได้ ( Free trade) ยังมีกฏหมาย Anti Trust ออกมาป้องกันการผูกขาด
ในกรณีของกิจการยักษ์ค้าปลีก ก็มีกฏระเบียบของชุมชน และเทศบาลมากมายออกมาคุ้มครองธุรกิจขนาดย่อมให้ดำรงอยู่ได้ เช่น เรื่องการกำหนดเขตการค้า (Zoning) หรือ เรื่องการจราจรที่นำมาจำกัดการขยายตัวในเมืองของธุรกิจเหล่านี้ รวมทั้งระเบียบและกฏเกณฑ์อื่นๆ เช่น การห้ามขายของตัดราคา หรือ ห้ามลดราคาอย่างพร่ำเพื่อ (Dumping) หรือ ห้ามการลดราคาแบบกระหน่ำ ตลอดปี
ในยุโรป เช่น ประเทศสวิสเซอร์แลนด์นั้น เขาห้ามไม่ให้ห้างสรรพสินค้า และห้างยักษ์ค้าปลีกลดราคาสินค้าเกินปีละ 2 ครั้ง เพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมกับร้านค้าย่อย หรือ โชว์ห่วย คือ ลดราคาได้เฉพาะในช่วงฤดูร้อน และคริสมาสได้เท่านั้น
แม้แต่กติกาขององค์การค้าโลกก็มีข้อห้ามนี้ เรื่อง Anti-Dumping หรือ ห้ามการส่งออกสินค้าในราคาต่ำกว่าทุน
ประเด็น “การค้าเสรี” ที่กำลังคุกคามสังคมไทยอยู่ในขณะนี้ คือ การขยายตัวของเครือข่ายยักษ์ค้าปลีกข้ามชาติ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ หรือ เป้าหมายอย่างชัดเจนในการเข้ามาแทนที่ หรือ โค่นตลาดสด ตลาดนัด ห้างขนาดกลาง และร้านค้าปลีกที่เรียกกันว่าโชว์ห่วยของคนไทย
ไม่เพียงแต่การคุกคามตลาดสด ร้านค้าย่อย ร้านค้าขนาดกลาง ร้านโชว์ห่วย รวมทั้งยี่ปี๊ว หรือ พ่อค้าคนกลางซึ่งเป็นวิถีชีวิตของสังคมไทย แต่ยังคุกคามโรงงานอุตสาหกรรมของคนไทยให้กลายเป็นผู้ไร้อำนาจในการต่อรอง กลายเป็นลูกจ้างรับคำสั่งผลิตแต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่มีโอกาสเติบโตและพัฒนาความก้าวหน้าในอุตสาหกรรมของตนได้อีกต่อไป

ความยิ่งใหญ่ของเครือข่ายยักษ์ค้าปลีกข้ามชาติ
ในบรรดายักษ์ค้าปลีกที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ในปัจจุบันที่ใช้นโยบายการบริหารจัดการแบบใหม่ที่ก้าวร้าวเพื่อช่วงชิงความเป็นเจ้า โดยการปัดภาระค่าใช้จ่ายมาที่ Suppliers คือ บริษัทวอล-มาร์ท ของอเมริกา โดยดูดทรัพย์ร้อยละ 14 หรือ 22,730.95 จากการลงทุนในต่างประเทศ ส่วนยอดขายทั้งสิ้นในปี 1999 มียอดสูงถึง 163,532 ล้านเหรียญ หรือ 7.36 ล้านๆบาท ( คิดเป็น 5 เท่าของรายได้จากการส่งออกของไทย) โดยมีสาขามากถึง 4500 แห่ง
กลุ่ม คาร์ฟู ในรายงานของ The European Retail Rankings รายงานว่า (Carrefour Group) ของยุโรป มียอดขาย 52,196 ล้านเหรียญ หรือ 2.34 ล้านๆบาท โดยมีสาขาทั่วโลก มากถึง 9000 แห่ง กระจายตัวอยู่ใน 25 ประเทศ เฉพาะในฝรั่งเศสเองมีสาขามากถึง 3,360 แห่ง ในสเปน 2,711 แห่ง อิตาลี 878 แห่ง เบลเยี่ยม 492 แห่ง กรีซ 351 แห่ง โปรตุเกส 312 แห่ง ตุรกี 70 แห่ง โปแลนด์ 55 แห่ง สวิสเซอร์แลนด์ 11 แห่ง
ในทวีปอเมริกา คาร์ฟูขยายสาขาไปมากถึง 630 แห่ง คือ อาเยนตินา 377 แห่ง บราซิล 199 แห่ง เมกซิโก 19 แห่ง ฯลฯ
รายได้จากนอกประเทศของคาร์ฟูคิดเป็นร้อยละ 37.70 ของรายได้ทั้งหมด
ในทวีปเอเชียคาร์ฟูขยายสาขาไปใน 8 ประเทศ ได้แก่จีน 30 แห่ง ไต้หวัน 25 แห่ง เกาหลี 23 แห่ง ไทย 15 แห่ง อินโดนีเชีย 9 แหาง มาเลเซีย 6 แห่ง และญี่ปุ่น 3 แห่ง
กลุ่ม เทสโก ของอังกฤษมียอดขายคิดเป็นอันดับที่ 15 ของโลก โดยมียอดขาย 30,404 ล้านเหรียญ หรือ 1.36 ล้านล้านบาท (เท่ากับรายได้จากการส่งออกทั้งปีของไทย) กลุ่มเทสโกเป็นกลุ่มทุนข้ามชาติที่มาแรงที่สุด และก้าวร้าวที่สุดในการเจาะพื้นที่ใจกลางเมือง โดยเปิดสาขามากถึง 36 แห่งทั่วประเทศแล้วเมื่อปี พ.ศ. 2544 และมีแผนที่จะขยายอย่างต่อเนื่องปีละ 6 แห่ง เพื่อครอบคลุมทั่วทุกจังหวัดของประเทศไทย
ข้อที่น่าสังเกต คือ บริษัทเหล่านี้เป็นบริษัทต่างด้าว แต่ทำไมจึงสามารถซื้อที่ดินผืนใหญ่ๆได้

การโจมตีค่าเงินเพื่อทำลายทุนท้องถิ่น
การโจมตีค่าเงินบาท เมื่อเดือน ปี พ.ศ. 2540 ทำให้ค่าเงินบาทลดลงไปประมาณครึ่งหนึ่ง จาก 25.50 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ มาเป็น 45 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ และราคาที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ ลดลงครึ่งหนึ่ง หรือ กว่าครึ่ง ในขณะที่ทุนท้องถิ่นที่เป็นหนี้ต่างชาติ ต้องจ่ายหนี้และดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอีก 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ทุนต่างชาติกลับได้กำไร 200 เปอร์เซ็นต์ จากค่าเงินบาทที่ลดลงครึ่งหนึ่ง และราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ลดลงอีกครึ่งหนึ่ง
อสังหาริมทรัพย์หรือ ที่ดินที่เคยมีราคา 100 บาท เมื่อภายหลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจราคาตกลงเหลือ 50 บาท ค่าเงินบาทลดลงไปอีกครึ่งหนึ่ง ทุนต่างชาติจึงสามารถซื้อที่ดินที่เคยมีราคา 100 บาท ด้วยเงินเพียง 25 บาท หรือ 1 ใน 4 ของราคาเดิม โดย จ่ายเพียงร้อยละ 25 เท่านั้น
ดังนั้นทุนค้าปลีกข้ามชาติจึงสามารถกว้านซื้อหาที่ดินทำเลทองใจกลางเมืองผืนใหญ่ในย่านชุมชน ที่ดินในย่านถนนสุขุมวิท ย่านอ่อนนุช ที่ดินในย่านตลาดสดใจกลางเมือง เพื่อสร้างห้างขนาดยักษ์พร้อมที่จอดรถอย่างสดวกมาทำลายร้านค้าย่อย และตลาดสดของคนไทย

ยุทธวิธีแปรรูปนายทุนท้องถิ่นเป็นกรรมกรรายวัน
ยุทธวิธีการของเครือข่ายยักษ์ค้าปลีกข้ามชาติเหล่านี้ ในการทำลายรากฐานอุตสาหกรรมไทย โดยในระยะยาวแล้วเป็นการ “แปรรูปนายทุนไทยให้กลายเป็นกรรมกรรับจ้างผลิตรายวัน “ คือ การบีบบังคับให้โรงงานผู้ผลิตสินค้าต้องยอมรับเงื่อนไขของตนซึ่งมีทุนและเครือข่ายมากอย่างเหลือเฟือในการต่อรองด้วยการปัดภาระค่าใช้จ่ายมาให้กับโรงงานผู้ผลิตของคนไทย ซึ่ง คุณ ศิริพร ยอดกมลศาสตร์ และ คุณาธิป แสงฉาย ได้ศึกษาวิจัย ไว้ในบทความ ชื่อ “ยักษ์ค้าปลีกข้ามชาติ กับการ “ฆ่า” ผู้ค้าปลีกรายย่อย “ ( 2544 ) จากทุนผูกขาดสู่ วินาศกรรม, กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง. คือ
1. ค่าแรกเข้า (Entrance fee) ขณะที่เทสโก้โลตัสเรียกเก็บครั้งเดียว เป็นเงิน 20,000-100,000 บาท ต่อ 1 รายการหรือ SKU (Stock Keeping Unit) ต่อสาขา
2. กำหนดอัตราแบ่งผลกำไรขั้นต่ำจากการขายสินค้า (Rebate) เครือข่ายยักษ์ค้าปลีกเหล่านี้มักเรียกเก็บในอัตรา ประมาณ ร้อยละ 0.5-3.0 ของยอดขายต่อปี โดยโรงงานผู้ส่งต้องประกันยอดอัตราผลกำไรจากการขายขั้นต่ำไว้ในสัญญาด้วย เช่น สัญญากำหนดอัตราผลกำไรจากการขายสินค้าไว้ที่ร้อยละ 2 ของยอดขาย โดยประกันว่าจะขายสินค้าได้ไม่น้อยกว่า 100,000 หน่วยต่อปี ถ้าสินค้านั้นขายได้น้อยกว่า 100,000 หน่วย ก็ต้องจ่ายอย่างน้อย ร้อยละ 2 ของจำนวน 100,000 หน่วย ถ้าขายได้มากกว่า ก็ต้องจ่ายเพิ่มในอัตรานั้นอีก
นอกจากนี้ เรียกเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษจากยอดขายรายเดือนที่ได้ตามเป้าอีกด้วย

3. ค่ากระจายสินค้า (Distribution fee) คือ ค่าใช้จ่ายในการบริหาร และขนส่งสินค้าจากศูนย์กระจายสินค้าไปยังสาขา เครือข่ายยักษ์ค้าปลีกจะเรียกเก็บค่ากระจายสินค้าจากโรงงานผู้ผลิตคิดเป็นร้อยละของยอดขาย
4. ค่าลงโฆษณา ในแผ่นพับ ใบปลิว หรือ วารสารแนะนำสินค้า ที่วางแจก หรือ จ้างคนแจก หรือ ที่ส่งไปตามไปรษณีย์ เพื่อดึงคนซ้อ หรือ เพิ่มยอดขายให้กับสินค้านั้นๆ เทศโกเรียกเก็บค่าใช้จ่ายส่วนนี้ในอัตรา 35,000 บาท ต่อ 1 รอบของการส่งไปรษณีย์ในทุกๆ 15 วัน บวกด้วยร้อยละของยอดขายอีกตามแต่ที่จะตกลงกัน ส่วนคาฟูร์ เรียกเก็บเป็นร้อยละ 2 จากยอดขาย แต่ถ้าต้องการพื้นที่แสดงวางสินค้าด้านหน้าที่เรียกว่า พื้นที่หัวคิว นั้น คาร์ฟูร์ จะเรียกเก็บเพิ่มอีกร้อยละ 2 ของยอดขาย
5. ค่าการจัดรายการพิเศษ เทสโกจะมีการจัดลดพิเศษสุดๆชนิดที่เห็นราคาแล้วไม่ซื้อก็เปรียบเสมือนการทำบาป โดยจัดปีละ 4 ครั้ง โดยเรียกเก็บค่าใช้จ่าย จากโรงงานที่เข้าร่วมรายการในอัตรา 250,000 บาทต่อ SKU ต่อปี อัตราค่าใช้จ่ายนี้ ได้รวมการลงโฆษณาในแผ่นพับที่ส่งทางไปรษณี 2 ครั้ง และพื้นที่ในการจัดสินค้าหน้าแถว
ส่วนร้านสดวกซื้อ อย่าง เช่น ร้าน เจ็ด-สิบเอ็ด (7 Eleven) นั้น เรียกเก็บค่าแรกเข้าสูงถึง 100,000-300,000 บาท ต่อสินค้าหนึ่งรายการ รวมทั้งเก็บพิเศษค่าต่างๆข้างต้น และค่าสินค้าชำรุดอีกด้วย

6. หมุนเงินสดจากรายย่อยและรายใหญ่ พ่อค้าแม่ค้ารายย่อยในศูนย์อาหาร รวมทั้งโรงงานที่นำสินค้าไปวางขายในห้างเหล่านี้ จะต้องลงทุนไปก่อนและรับเป็นใบรับสินค้า หลังจากนั้นต้องรอเป็นเวลา 2 อาทิตย์ ถึง 3 เดือน แล้วแต่ห้าง จึงจะไปรับเงินได้ ซึ่งทางห้างสามารถหักเงินออกได้ทุกเมื่อโดยอ้างว่าสินค้าไม่ได้มาตรฐานแล้วเรียกให้มารับสินค้าคืน ถ้าไม่มารับ ก็ถือว่ายอมรับ และห้างจะจัดการกับสินค้าเหล่านั้นอย่างไรก็ได้ นั่นหมายความว่า ถ้าเป็นพ่อค้าแม่ค้ารายย่อย ก็ต้องออกเงินซื้อวัตถุดิบไปก่อน จ่ายค่าจ้างคนงานไปก่อนเป็นเวลา 2-4 อาทิตย์เพื่อให้ห้างได้นำเงินไปหมุน และเมื่อขายได้ห้างก็หักค่าเช่าที่อย่างน้อยร้อยละ 25 ของยอดขายโดยไม่ต้องลงทุนลงแรงอะไรเลย กลายเป็นเสือนอนกิน โดยที่พ่อค้าแม่ค้าต้องแบกรับจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มในจำนวนเต็มของยอดขายก่อนหักค่าเช่าที่ (เป็นการโกงค่าแวททางอ้อม) เมื่อรวมกันแล้ว ค่าเช่าที่จึงไม่ต่ำกว่าร้อยละ 35 ของยอดขายก่อนหักต้นทุนค่าแรงและค่าวัตถุดิบ
ไม่เพียงแต่แค่นั้น ห้างเหล่านี้ยังบังคับควบคุมราคาขายให้ถูกที่สุดเพื่อเป็นจุดดึงดูดลูกค้ามาเข้าห้างอีกด้วย ซึ่งเป็นการเอารัดเอาเปรียบบรรดาพ่อค้าแม่ค้าอย่างถึงที่สุดแบบกรอบคิดของเจ้าอาณานิคมไม่มีผิด
จากการใช้ความได้เปรียบมาปัดภาระต่างข้างต้นเหล่านี้ให้กับเจ้าของโรงงาน ดังนั้นผลกำไรจึงตกไปเป็นของบริษัทเหล่านี้เป็นส่วนใหญ่ และถูกส่งกลับเข้าประเทศแม่ของตน ทำให้ประเทศขาดดุลย์ชำระเงิน และค่าเงินอ่อนตัว
7. ทำสัญญาที่ไม่เป็นธรรมให้ยักษ์ค้าปลีกสามารถบอกเลิกธุรกิจฝ่ายเดียว

ในระยะยาวแล้ว เจ้าของโรงงานของคนไทยก็ถูก “แปรรูป” เป็นกรรมกรรับจ้างผลิตไปโดยปริยาย


ยุทธวิธีทำลายวิถีชีวิตและการผลิตชุมชน
ยักษ์ค้าปลีกเหล่านี้ซึ่งมีเงินทุนสูงมักจะไปเลือกทำเลทองในย่านเดียวกันกับตลาดสด เช่น ที่ซอยอ่อนนุช ที่คลองเตย ที่สี่แยกเจริญผล สพานควาย และสามย่าน ฯลฯ ส่วนในต่างจังหวัดก็ดำเนินการเช่นเดียวกัน เช่น ที่จังหวัดสกลนคร ก็ตั้งตรงกันข้ามกับตลาดสดประจำเมือง ซึ่งไม่รู้ว่าเทศบาลอนุมัตไปได้อย่างไร อาจจะได้รับค่านายหน้ากันไปคนละก้อนโตๆ พฤติกรรมเช่นนี้ก็เหมือนกับการ “ขายชาติ” ฉันใดฉันนั้น โดยเฉพาะพื้นที่ใจกลางเมือง เช่นย่านสุขุมวิทย์ ซึ่งราคาที่ดินเคยแพงกว่าพื้นที่ของธนบัตรที่นำไปปู ก็ยังถูกยึดเพราะค่าเงินที่ถูกไอเอ็มเอฟบีบให้ลดค่า
ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ ตลาดสดนั้นเป็นวิถีชีวิตของคนไทยและแต่ละตลาดนั้นหล่อเลี้ยงชีวิตเป็นหมื่น หรือ แสนชีวิต คือ เกษตรกรที่ทำการผลิตผักผลไม้หรือขนมป้อนพ่อค้าแม่ค้า รวมทั้งโรงงานขนาดย่อม ยี่ปั๊วหรือ พ่อค้าคนกลางที่พ่อค้าแม่ค้าไปซื้อสินค้ามาขาย
วิถีชีวิตและวงจรเศรษฐกิจชุมชนเหล่านี้จะถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิง เพราะตลาด คือ สังคมชุมชนอันอบอุ่นและเอื้ออาทรกันระหว่างพ่อค้าแม่ค้า และผู้ซื้อ ซึ่งส่วนใหญ่จะซื้อกันประจำจนกลายเป็นญาติที่คุยปรับทุกข์ปรับสุขกันได้ ต่อรองราคาสินค้า กันได้ ขอชิมกันได้ แถมสินค้ากันได้ และซื้อเชื่อ(อาศัยความเชื่อถือ) หรือ ค้างชำระเงินกันได้ และนี่คือ วัฒนธรรมไทย วิถีชีวิตไทย หรือ วิถีชุมชนไทยอันเก่าแก่ที่ควรได้รับการพิทักษ์ไว้
คนไทยจะตกงานและหมดอาชีพเป็นแสนเป็นล้านคนถ้าหากรัฐบาลมีหูตาสั้น และติดโรค “ค้าเสรี”(ที่ไร้ความเป็นธรรม) อย่างหลับหูหลับตา โดยลืมคำนึงถึงความอยู่รอดของคนไทยตาดำๆ

ยุทธวิธีการจับเสือมือเปล่า
การขยายสาขาของแต่ละห้างค้าปลีกยักษ์นั้น แต่ละห้างเกือบจะไม่ต้องควักกระเป๋าเลยโดยใช้วิธีการเรียกเก็บเงินจากผู้ผลิตตามรายการต่างๆข้างต้น เช่นค่าแรกเข้า และค่าขยายสาขาใหม่
ตัวอย่าง เช่น การเก็บค่าวางสินค้าตัวละ 1.5 แสนบาท และ ค่าขยายสาขาใหม่รายละ 1-2.5 แสนบาท ถ้าสินค้าในห้างมี 1 หมื่นรายการ ค่าหัวคิวที่ได้ล่วงหน้ามาจากการจับเสือมือเปล่านี้จะเป็นตัวเลขสูงถึง 3-4 พันล้านบาทต่อการขยายห้าง 1 ห้าง
ดังนั้นการขยายห้างแต่ละห้างนั้น ยักษ์ค้าปลีกเหล่านี้ไม่เพียงแต่ไม่ต้องลงทุนเท่านั้น ยังจะมีเงินหัวคิวเหลือมาดำเนินการหรือ บริหารงานต่อไปอีกด้วย
ดังนั้นห้างเหล่านี้จึงสามารถใช้เงินคนไทยแบบอัฐยายซื้อขนมยายมาจับเสือมือเปล่า แล้วส่งเงินผลกำไรที่แทบจะไม่ต้องขนเงินมาลงทุนกลับไปเลี้ยงบริษัทแม่ในต่างประเทศ

วัคซีนป้องกันโรคการค้าเสรี
วัคซีนในการป้องกันโรคการค้าเสรี คือ รัฐบาลต้องตระหนักในภาระหน้าที่ของตนต่อคนไทยทั้งชาติในการบำบัดทุกข์และบำรุงสุขคนไทยทั้งชาติ มิใช่รับใช้ หรือ เอาใจคนต่างชาติ หรือบริษัทข้ามชาติอย่างหลับหูหลับตาเหมือนชาวเมืองขึ้น โดยถูกมอมเมาล้างสมองด้วยอุดมการณ์ของ ลัทธิ “การค้าเสรี” มาข่มขู่ แต่ว่าในแต่ละประเทศที่พัมนาแล้วนั้นกลับมีมาตรการกีดกันสินค้าจากประเทศกำลังพัฒนาสารพัด เช่นมักจะยกข้ออ้างในเรื่องมาตรฐานสินค้า ความสะอาด ความปลอดภัย หรือ กำหนดโควต้า หรือการให้การอุดหนุนธุรกิจภายในทั้งภาคเกษตรและอุตสาหกรรม
อุดมการณ์ “การค้าเสรี” หรือ “ การค้าไร้ระเบียบ” (Free trade) ในโลกแห่งความเป็นจริง คือ “มาตรฐานสองหน้า” (Double standard) นั่นเอง
อันที่จริงถ้าเป็นการค้าเสรีจริงก็ต้องไม่มีมาตรการเหล่านี้ คือ ถ้าสินค้าจากประเทศกำลังพัฒนาไม่มีมาตรฐาน หรือ ความปลอดภัยแล้ว ประชาชนของเขาซึ่งมีการศึกษาสูง ก็จะไม่ซื้อเอง สินค้าก็จะขายไม่ได้ แต่รัฐบาลประเทศที่พัฒนาแล้วต้องการกีดกันสินค้าเพื่อคุ้มครองนักธุรกิจ หรือ เกษตรกรของชาติของตนมากกว่า
ตัวอย่าง เช่น ผลไม้สดของไทยไม่สามารถส่งไปขายในอเมริกาได้ โดยใช้ข้ออ้างว่า อาจจะนำแมลงไปแพร่พันธุ์ ทั้งๆที่อเมริกาเป็นประเทศที่ผลิตยาฆ่าแมลงที่ใหญ่และเก่งที่สุดในโลก หรือ สินค้าสิ่งทอ หรือสินค้าเหล็กสำเร็จรูป ก็เจอมาตรการโควต้า ส่วนยุโรปก็กีดกันสินค้าอิเลกโทรนิกส์จากประเทศไทย
ประเทศไทยได้ตั้งกรมส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ ให้อภิสิทธิ์บริษัทต่างชาติสารพัด เช่นด้านการผ่อนผันยกเว้นภาษีอากร และภาษีรายได้ รวมทั้งการผ่อนผันให้ซื้อที่ดินได้
ก่อนนายกทักษิณเดินทางไปอเมริกาก็ประกาศนโยบายลดภาษีรายได้ให้กับบริษัทข้ามชาติที่เข้ามาตั้งสำนักงานในเมืองไทยจากร้อยละ 30 เหลือเพียงร้อยละ 10 รวมทั้งการหักภาษีอื่นๆอีกเยอะแยะ
ในขณะที่บริษัทของคนไทยต้องเสียภาษีราย ร้อยละ 30 แต่ต่างชาติเสียเพียงร้อยละ 10 แค่นี้ก็ทำให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม และเสียเปรียบแต่ย่างก้าวแรกในการทำธุรกิจแล้ว
นโยบายของรัฐที่ผ่านมา คือ การทุ่มงบประมาณในการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งโรงไฟฟ้า ถนน และนิคมอุตสาหกรรมเพื่อดึงให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุน คิดเป็นเงินปีละ หลายแสนล้านบาท
ถึงเวลาแล้วที่รัฐจะต้องทุมงบประมาณมาสร้างโครงสร้างพื้นฐานในด้านต่างๆเพื่ออุดหนุนคนไทย และธุรกิจชุมชน และนักธุรกิจไทยทั้งรายใหญ่และรายย่อยเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับบริษัทข้ามชาติซึ่งได้รับอภิสิทธิ์เหนือคนไทยในแผ่นดินไทยด้วยเชื้อโรค “การค้าเสรี”
กรณีของการขยายตัวของยักษ์เครือข่ายร้านค้าปลีกข้ามชาตินั้น รัฐบาลสามารถศึกษานโยบาย และกำหนดนโยบายจากประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งประชาชนของเขาตื่นตัว และรัฐบาลมีกลไกให้ชุมชนสามารถมีส่วนในการตัดสินใจว่าจะอนุมัติให้ตั้งได้หรือ ไม่ได้
ในประเทศเยอรมัน ฝรั่งเศส และญี่ปุ่นต่างก็มีกฏหมายห้ามขายสินค้าต่ำกว่าราคาทุน ซึ่งเป็นยุทธวิธีระยะสั้นของเครือข่ายร้านค้าปลีกยักษ์นำมาใช้เพื่อทำลายธุรกิจชุมชน แล้วมาโก่งราคาเพื่อเอากำไรคืนในภายหลังเมื่อผูกขาดตลาดได้แล้ว
รัฐบาลญี่ปุ่นมีนโยบายสนับสนุนร้านค้าปลีกขนาดเล็กและกลางโดยการปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ผ่อนคืนระยะยาวให้นานถึง 10-20 ปี รวมทั้งสิทธิประโยชน์ทางภาษี และความช่วยเหลือทางด้านความรู้ทางวิชาการบริหารสมัยใหม่ การทำบัญชี ฯลฯ
ในขณะที่หน่วยงานของรัฐบาลไทยดีแต่ทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มทุนข้ามชาติอย่างหลับหูหลับตา เช่น กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงการคลัง และ กระทรวงพาณิชย์ ทั้งๆที่กินเงินเดือนจากภาษีอากรของคนไทยทั้งชาติ แต่หารู้สำนึกในบุญคุณไม่
สิ่งที่ควรจะเป็น คือ รัฐควรมีมาตรการและนโยบายทั้งระยะสั้นและระยะยาวเพื่อกำกับดูแลการขยายตัวของยักษ์ค้าปลีกข้ามชาติ เพื่อสร้างความเป็นธรรมโดยกำหนดกติกาในการแข่งขันยุติธรรมระหว่างยักษ์ค้าปลีกข้ามชาติเหล่านี้กับผู้ผลิตไทย ร้านค้าปลีกย่อย และเศรษฐกิจชุมชนให้อยู่รอดได้ และเพื่อคุ้มครองธุรกิจและเส้นเลือดชีวิตเศรษฐกิจของคนไทยด้วยมาตรการเหล่านี้ มิใช่การยอมจำนนต่อการข่มขู่คุกคามของบริษัทข้ามชาติในข้ออ้างเรื่องการลงทุน ประเทศไทยเป็นประเทศเอกราช และมีอธิปไตยเหนืออาณาเขต เราจะต้องไม่ยอมสูญเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตทางด้านเศรษฐกิจของไทยไป

นโยบายและมาตรการระยะสั้นเฉพาะหน้า คือ
มาตรการที่ หนึ่ง คือ การจำกัดเขตให้ออกไปอยู่นอกเมือง เพราะเป็นการสร้างปัญหาจราจรแออัด โดยเหตุผลหลักที่ชุมชน หรือ เทศบาลสามารถนำมาใช้ห้ามยักษ์ค้าปลีกเหล่านี้ คือ เรื่องการทำให้จราจรในเมืองแออัด อันเป็นการสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน ในยุโรปจึงมีระเบียบว่าเครือข่ายยักษ์ค้าปลีกเหล่านี้จะตั้งได้แต่ในบริเวณนอกตัวเมืองเท่านั้น ซึ่งมาตรการนี้เป็นการคุ้มครองร้านค้าย่อยวิธีหนึ่ง
ส่วนห้างที่เปิดไปแล้วก็ต้องออกระเบียบหรือคำสั่งของกระทรวงให้ตัดและปรับพื้นที่ของห้างบางส่วนเป็นพื้นที่การจราจรสาธารณะเพื่อชดเชยถนนของรัฐ เช่นย่านถนนอ่อนนุช และพระราม 4
มาตรการที่สองที่จะนำมาใช้ได้ คือ การออกระเบียบให้ติดราคาสินค้ามาตรฐาน และห้ามขายในราคาต่ำกว่าราคาที่ติดไว้ และห้ามจัดรายการการขายเกินปีละ 2 ครั้ง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับร้านค้าย่อย เมื่อคอมพิวเตอร์คิดราคาผิด (ตามที่มักชอบอ้างมาแก้ตัว) ต้องมอบสินค้านั้นให้ลูกค้าฟรี หรือจ่ายค่าปรับให้กับรัฐในข้อหาฉ้อโกงประชาชน
มาตรการที่สาม คือ การจ่ายภาษีรายได้ และแวท ต้องจ่ายในท้องถิ่นที่ตั้งของสาขา มิใช่ไปจ่ายที่สำนักงานใหญ่ นอกจากนี้ ต้องออกมาตรการการเก็บภาษีพิเศษบำรุงท้องถิ่นของธุรกิจข้ามเขตที่สำนักงานใหญ่ไม่ได้อยู่ในจังหวัด เพื่อนำมาพัฒนาพื้นที่ตลาดสด หรือ บริเวณร้านค้าในเมืองให้ทันสมัย มีที่จอดรถ และห้องน้ำให้ทันสมัย ไม่คิดเงินผู้ใช้ อำนวยความสะดวกอย่างเดียวกับที่ห้างเหล่านี้ดำเนินการเป็นจุดขายของตน
มาตรการที่ สี่ ซึ่งสำคัญที่สุด คือ การพัฒนาตลาดสด และลานค้าขนาดใหญ่แบบสวนจตุรจักร รัฐบาลจะต้องจัดงบมาอุดหนุนตลาดสด และลานค้าแบบจตุรจักรให้เกิดขึ้นในทุกแห่งที่เครือข่ายร้านค้าเหล่านี้มาตั้ง โดยการจัดหาสถานที่ จัดระเบียบ และจัดที่จอดรถและห้องน้ำให้สดวก และกว้างขวางพอในขนาดเดียวกัน หรือ ใหญ่กว่ายักษ์ค้าปลีกเหล่านี้ โดยใช้วิธีการซื้อที่ดินในราคาตลาด เพื่อก่อให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม เพื่อให้ร้านค้าย่อยเช่าในราคาถูก โดยใช้มืออาชีพหรือบริษัทรับบริหารงานอาชีพเข้ามาดำเนินการ
รัฐต้องยอมรับว่า การที่ประชาชนนิยมไปซื้อสินค้าในห้างค้าปลีกลดราคาเหล่านี้ เพราะห้างเหล่านี้อำนวยความสะดวกกับลูกค้าทุกประการเพราะมีเงินทุนที่สูงกว่า และสามารถเสนอราคาสินค้าถูกกว่าในบางกรณี ทั้งที่ต้นทุนสูงกว่า เพราะสามารถมาบีบกดราคาสินค้าจากโรงงานได้
แต่ถ้ารัฐสร้างตลาดแบบจตุรจักรที่ให้ความสะดวกไม่แตกต่างกันในด้านลานจอดรถที่กว้างขวาง และห้องน้ำที่สะอาดและทันสมัยมาแข่ง เพื่อให้เป็นทางเลือกของผู้บริโภคและเป็นการสร้างอาชีพให้กับพ่อค้านักธุรกิจย่อย โดยวิธีนี้จะเป็นการช่วยให้ผู้บริโภคหันมาใช้บริการที่เป็นวิถีชีวิตของคนไทย เพราะมีความสะดวกเท่าเทียมกัน และได้สินค้าราคาถูกกว่าเนื่องจากลานค้าและตลาดสดที่ทันสมัย สะอาดเยี่ยงนี้มีต้นทุนค่าใช้จ่ายถูกว่า
รัฐบาลเคยจัดงบมาสร้างนิคมอุตสาหกรรม หรือ โรงไฟฟ้า หรือ ถนน ฯลฯ หรือ ลดภาษีให้เพื่อดึงต่างชาติมาลงทุน บัดนี้ถึงเวลาแล้วที่จะดึงงบเหล่านั้น หรือ จัดงบเหล่านั้นมาอุดหหนุนธุรกิจของคนไทยเพื่อให้มีศักยภาพในการแข่งขันทั้งในเรื่องการจัดหาสถานที่ขนาดใหญ่ จัดหาที่จอดรถ สนับสนุนการวิจัยการแปรรูป การวิจัยและพัฒนาการบรรจุภัณฑ์ของสินค้าชุมชน วิธีการทำการตลาด การออกแบบฉลาก รูปทรงสินค้า ภาชนะ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งการส่งเสริมอย่างจริงจังให้เกิดการรวมตัวกันของผู้ผลิตในแต่ละผลิตภัณฑ์ แต่ละตัวสินค้า แต่ละผลผลิต เพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรอง และสร้างช่องทางการจัดจำหน่ายของผู้ผลิต และร้านค้าย่อย
มาตรการที่ 5 คือ การจัดถนนคนเดินและถนนช๊อปปิ้งให้เกิดขึ้นในทุกชุมชน พัฒนาบริเวณริมคลอง ริมแม่น้ำ หรือ ริมชายหาดให้กลายเป็นถนนคนเดิน โดยมีการจัดระเบียบและจัดสรรบริเวณเป็นที่จอดรถ และสร้างห้องน้ำที่ทันสมัยอย่างพอเพียง โดยเฉพาะห้องน้ำตามวัดวาซึ่งเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยว เพื่ออำนวยความสะดวก และเพื่อดึงผู้บริโภคให้หันมาใช้บริการร้านค้าย่อย ร้านบูติก หรือ ร้านอาหาร ในถนนสายต่างเหล่านี้ เพื่อไม่ให้ร้านค้าย่อยต้องล้มละลายเพราะคนไปเดินห้างเสียหมด
มาตรการที่ 6 การออก พ.ร.บ. ใบประกอบอาชีพของคนต่างด้าวที่เข้ามาบริหารงานต้องเข้ามาสอบใบประกอบอาชีพเป็นภาษาไทย เหมือนอย่างที่คนไทยที่เข้าไปประกอบอาชีพในประเทศที่พัฒนาแล้วล้วนต้องไปสอบเอาใบประกอบอาชีพจากประเทศนั้นๆในภาษาของประเทศนั้นๆ ผู้บริหารของเครือข่ายยักษ์ค้าปลีกเหล่านี้จะต้องเข้ามาสอบเอาใบประกอบอาชีพด้วยภาษาไทย เหมือนคนไทย นอกจากนี้ การค้าปลีกของคนไทยต้องกำหนดให้เป็นอาชีพที่รัฐต้องให้การคุ้มครองและอุดหนุน
มาตรการที่ 7 คือ การส่งเสริม หรือ อุดหนุนให้เกิดร้านค้าสหกรณ์ผู้บริโภคสินค้าและอาหารประจำวันขึ้นทุกชุมชน เพื่อให้ชุมชนหันมาซื้อสินค้าในร้านสหกรณ์สินค้าปลีกชุมชนของตน เมื่อร้านค้ามีกำไรก็จะคืนกำไรกลับเข้าสู่กระเป๋าของผู้บริโภค
มาตรการที่ 8 กระทรวงแรงงานต้องออกคำสั่งกระทรวงให้มีการจัดตั้งสหภาพคนงานร้านค้าปลีกเพื่อที่ว่าคนงานจะได้มีอำนาจต่อรองเอาค่าแรง และค่าสวัสดิการเท่ากับที่บริษัทเหล่านี้จ่ายให้พนักงานบริษัทแม่ในประเทศของตน โดยไม่มีการแบ่งแยกกีดกัน เพราะถือว่าทำงานบริษัทเดียวกัน ก็ต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมและทัดเทียมกันตามกฎ ระเบียบ และนโยบายเดียวกัน การย้ายชั่วโมงการทำงาน หรือ เปลี่ยนชิฟจะต้องให้พนักงานหรือคนงานยินยอมพร้อมใจ ห้ามเปลี่ยนบ่อยๆเพราะว่าเป็นการเอาเปรียบพนักงานที่ต้องการวางแผนใช้เวลาไปเรียน หรือพัฒนาอาชีพที่ให้ค่าตอบแทนสูงกว่า
มาตรการที่ 9 การออกกฎหมายผังเมืองทั้งในระดับชาติ ระดับชุมชน ระดับเมือง ระดับอำเภอ และระดับจังหวัด กำหนดให้เครือข่ายค้าปลีกข้ามชาติต้องออกไปตั้งนอกเมืองที่ไม่มีชุมชน และไม่มีตลาดสด
มาตรการที่ 10 รัฐต้องส่งเสริมให้มีการจัดตั้ง Cartel หรือ สหภาพของผู้ผลิต เพื่อให้มีอำนาจต่อรองในการกำหนดราคาสินค้าขายส่ง ให้เครือข่ายค้าปลีกยักษ์เหล่านี้ รวมทั้งการต่อรองค่าธรรมเนียมในการวางสินค้าแรกเข้า ค่าส่วนลด ค่าส่งเสริมการขาย ค่ากระจายสินค้า และค่าโฆษณาเป็นต้น
มาตรการที่ 11 ประชาชนต้องปลุกและสร้างจิตสำนึกความเป็นชาตินิยมให้คนทั้งชาติมองเห็น “ภัย” ของการคุกคามของทุนต่างชาติที่เข้ามารุกรานในทุกรูปแบบ เช่น ระบบค้าปลีกยักษ์ที่ทำลายทุนท้องถิ่นและชุมชน ระบบแฟรนไชส์ ระบบคอนแทรกฟาร์มมิ่ง(เกษตรตีตรวน) ระบบสิทธิบัตร ซึ่งล้วนเป็นระบบ “กินหัวคิว” จากประชาชนและผู้ประการรายย่อยทั้งสิ้น
รัฐมีหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของชาติและปกป้องประชาชนในชาติ จึงต้องอุดหนุน และสนับสนุนให้เกิดระบบการค้าที่เป็นธรรม โดยการวางกติกาต่างๆ และดำเนินนโยบายเพื่อธุรกิจย่อยมีโอกาสผุดเกิด หรือ มีโอกาสอยู่ได้ต่อไปตามาตรการต่างๆที่เสนอมาข้างต้น หรือ มาตรการอื่นๆ ถ้าหากรัฐบาลละเลยหน้าที่ของตน โดยไม่เพียงแต่วิถีชีวิตของคนไทยและธุรกิจย่อยจะถูกยักษ์ค้าปลีกข้ามชาติเหล่านี้มาทำลายแล้ว อุตสาหกรรมของคนไทย นักธุรกิจไทยก็จะไม่รอดไปด้วย เพราะวิธีการของยักษ์ค้าปลีกเหล่านี้ จะกดราคาซื้อสินค้าที่จะนำมาขายในห้าง คิดค่ากินเปล่าสินค้าเป็นรายตัว ปัดภาระค่าบริหารและค่าโฆษณา ค่าแผ่นพับ และค่าแจกจ่ายมาให้ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ หรือ โรงงาน
เจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมก็จะถูกแปรรูปจากนายทุนมากลายเป็นกรรมกรผลิตสินค้าป้อนห้างเหล่านี้ เพราะขาดอำนาจการต่อรอง เพราะ ช่องทางการจัดจำหน่ายอื่นๆ เช่นคนกลาง ยี่ปั๊ว และร้านค้าปลีก หรือ โชว์ห่วยถูกทำลายไปหมดแล้ว
เมื่อร้านค้าย่อยและยี่ปั๊วถูกทำลายหมด ห้างเหล่านี้ก็จะรวมหัวกันขึ้นราคาสินค้าได้ตามใจชอบ เพราะไม่มีเหตุผลที่จะมาขายถูกอีกต่อไป เนื่องจากการทำธุรกิจของบริษัทเหล่านี้ คือ การหากำไรสูงสุด
เมื่อยักษ์ค้าปลีกเหล่านี้มีผลกำไรก็แลกเงินบาทเป็นเงินตราต่างประเทศส่งกลับสำนักงานใหญ่อันเป็นบริษัทแม่ในประเทศของตน ประเทศก็จะขาดดุลย์การชำระเงิน ค่าเงินก็จะอ่อน ต้องลดค่า และ เกิดเงินเฟ้อ ภาระในการชำระหนี้และดอกเบี้ยหนี้สาธารณะก็จะสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว ชาวนาก็ต้องทำงานหนักเป็น 2 เท่า หรือ 3 เท่า เพื่อให้ได้เงินเท่าเดิม ประชาชนทั่วไปก็เช่นเดียวกัน ถ้าหากว่าต้องการรักษาคุณภาพชีวิตเท่าเดิมก็ต้องทำงานหนักขึ้น หรือ ลดคุณภาพชีวิตลง มาตรฐานชีวิตของคนทั้งชาติก็จะลดลง เพราะสินค้าจำเป็นจากต่างชาติ เช่นน้ำมัน หรือ อื่นๆจะแพงขึ้น แต่สินค้าส่งออกจะได้เงินน้อยลง
ภาระการจ่ายหนี้สินทั้งดอกเบี้ยและเงินต้นของหนี้สาธารณะ และหนี้ต่างประเทศทั้งของภาคเอกชนและภาครัฐก็จะเพิ่มขึ้นเพราะค่าเงินอ่อนลง รวมทั้งราคาสินค้าทุน ประเภทเครื่องจักรด้วย
วิกฤติเศรษฐกิจและการจราจลแบบที่เกิดขึ้นในอาเจนตินาก็คงจะมาเยือนอย่างไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้ ถ้ารัฐบาลมองข้ามถึงความอยู่รอดของธุรกิจย่อย วิถีชีวิตเศรษฐกิจชุมชน และอุตสาหกรรมของคนไทยที่จะต้องมาถูกผูกและพึ่งช่องการจัดจำหน่ายของยักษ์ค้าปลีกข้ามชาติที่กำลังขยายตัวไปยังทุกจังหวัดในขณะนี้ โดยที่รัฐไม่มีมาตรการและนโยบายที่ชัดเจนมาส่งเสริมคุ้มครอง ปกป้อง และสนับสนุน ให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมกับธุรกิจย่อยของคนไทย รวมทั้งโรงงานอุตสาหกรรมไทยซี่งรัฐไม่ได้สร้างกลไกขึ้นมาเพื่อดูแลให้มีอำนาจต่อรองกับยักษ์ค้าปลีกข้ามชาติได้อย่างมีศักดิ์ศรีและมีความเป็นธรรม
มิคสัญญีจะต้องเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อย่างแน่นอน

รำลึก สุวัฒน์-เพ็ญศรี วรดิลก

พี่อู๊ดและพี่โจ๊วของคนไทยในแอลเอ
กมล กมลตระกูล
พี่อู๊ด-รพีพร หรือ สุวัฒน์ วรดิลก และ พี่โจ๊ว-เพ็ญศรี พุ่มชูศรี เป็นขวัญใจของคนไทยในเมืองลอสแอนเจลิสเมื่อครั้งนำศิลปินนักร้องนักแสดงกิตติมศักดิ์กว่า 10 ชีวิตบากบั่นเดินทางมาจัดงาน “ส่งความรักกลับเมืองไทย” ร่วมกับมูลนิธิไทย-อเมริกันและ น.ส.พ. ประชามติ เพื่อหาทุนช่วยเหลือเด็กผู้ยากไร้ที่เมืองไทย เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2526
ในการเดินทางมาในครั้งนี้ คณะศิลปินนักร้องนักแสดงกิตติมศักดิ์ ได้เดินทางไปแสดงที่เมือง ซานฟรานซิสโก และชิคาโกด้วย
ก่อนหน้าการจัดงานครั้งนี้ พี่อู๊ดก็ให้ความเมตตากับผมซึ่งเป็นผู้อำนวยการ น.ส.พ. ประชามติ ในขณะนั้นโดยการเขียนบทความให้เป็นประจำทุกอาทิตย์โดยไม่ยอมรับค่าเรื่อง ย้อนหลังไปอีกในช่วงที่ผมยังเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พี่อู๊ดก็ให้ความเมตตาโดยการเลี้ยงอาหารเป็นประจำทุกครั้งเมื่อ คุณ ธัญญา ชุนชฎาธารพาไปแนะนำให้รู้จักกับพี่อู๊ดที่บ้านที่อยู่ตรงกันข้ามกับสนามม้านางเลิ้ง จากนั้นมาผมก็กลายเป็นแขก(ตามดอย)ขาประจำคนหนึ่งของพี่อู๊ดร่วมกับเพื่อนๆนักศึกษาอื่นๆในยุคก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เพราะว่าไปทุกครั้งได้ท้องอิ่มและสมองอิ่มตามมา เนื่องจากพี่อู๊ดมีความรู้กว้างขวาง โดยเฉพาะมีความจำแม่นยำมากในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ และเบื้องหน้าเบื้องหลังของเหตุการณ์ทางการเมือง และบุคคลในประวัติศาสตร์ ที่สำคัญคือ การเล่าเรื่องของพี่อู๊ดมักมีการวิพากษ์วิจารณ์ในทำนอง “เข่นคนพาล อภิบาลคนดี” ทำให้นักศึกษาที่เป็นแขกประจำ ได้เริ่มสะสมจิตสำนึกและแยกมิตรแยกศัตรูของประชาชนออก
นักศึกษาที่เป็นแขกขาประจำของพี่อู๊ดต่อมาก็ล้วนมีบทบาทสำคัญในเหตุการณ์มหาปิติ 14 ตุลาคม 2516 และเหตุการณ์ทางการเมืองที่สำคัญต่อๆมา
เมื่อผมเดินทางมาศึกษาต่อที่อเมริกาจนรากงอก และปักหลักอยู่ที่เมืองลอสแอนเจลิส และก่อตั้งหนังสือพิมพ์ ประชามติก็เลยเขียนจดหมายถึงพี่อู๊ดเพื่อรบกวนขอบทความมาลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เพื่อให้คนไทยในต่างแดนได้อ่านข้อเขียนที่มีคุณภาพของนักเขียนที่มีจุดยืนอยู่เคียงข้างประชาชน และนำไปสู่การรบกวนครั้งใหญ่ในการขอให้พี่อู๊ดและพี่โจ๊ว-เพ็ญศรี พุ่มชูศรี นำศิลปินนักร้องนักแสดงกิตติมศักดิ์มาจัดแสดงเพื่อหาทุนช่วยเหลือเด็กผู้ยากไร้ที่เมืองไทย
ศิลปินนักร้องนักแสดงกิตติมศักดิ์ที่พี่อู๊ด และพี่โจ๊ว เป็นหัวหน้าคณะนำมาประกอบด้วย คุณวงจันทร์ ไพโรจน์ คุณสุเทพ วงศ์กำแหง คุณทนงศักดิ์ ภักดีเทวา คุณพราวตา ดาราเรือง คุณอดิเรก จันทร์เรือง ฯลฯ
ในการจัดงานครั้งนี้ ทางมูลนิธิไทย-อเมริกัน ซึ่งผมเป็นประธาน คุณ ลี สตอรี่ เคเบิ้ล เป็นรองประธาน และมีคุณวรวิทย์ จิตจาตุรันต์ ผู้เป็นกรรมการและเหรัญญิก และ คุณกีรตี ชนา ผู้เป็นประชาสัมพันธ์ของมูลนิธิ คุณวีระ จัดแจง เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงใหญ่ในการดำเนินงาน ส่วนทางด้าน หนังสือพิมพ์ประชามติก็มีคุณชัชวาลย์ ศรีพาณิชย์ ผู้เป็นบรรณาธิการ และคุณนิตย์ อภิวรรณศรี ประจำกองบรรณาธิการฝ่ายศิลป์ เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงอีกผู้หนึ่ง
งาน “ส่งความรักกลับเมืองไทย” เป็นการแสดงฝีมือในการกำกับงานที่เป็นการแสดงที่ผสมผสานระหว่างละครร้องซึ่งใช้บทเพลงไทยสากลที่สะท้อนสถานการณ์ทางการเมืองในแต่ละยุคมาดำเนินเรื่องเหตุการณ์ทางการเมืองในประวัติศาตร์ไทย เช่น เพลง 24 มิถุนา ซึ่งแสดงถึงความปลื้มปิติของประชาชนที่ได้ลิ้มรสระบอบประชาธิปไตยเป็นครั้งแรก หรือ เหตุการณ์ ความทุกข์ยากและแร้นแค้นขาดแคลน ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีลำนำเพลงประกอบการแสดง เพลง ก๋วยเตี๋ยว เพลงสามล้อ เพลงที่สะท้อนรัฐบาลชาตินิยมของจอมพล ป. พิบูลสงคราม เพลงรักกันไว้เถิด จนกระทั่งถึงเพลงรัตติกาล
การแสดงครั้งนี้สร้างความประทับใจให้คนไทยในต่างแดนซึ่งห่างบ้านห่างเมืองมาเป็นเวลานาน แต่โชคดีที่ได้ชมและฟังรายการที่จัดว่าเป็นการแสดงระดับคลาสสิคที่แม้แต่คนไทยในเมืองไทยก็ไม่มีโอกาสเช่นนี้ เพราะว่าศิลปินและนักร้องหลายๆท่านได้ยุติอาชีพการแสดงของตนแล้ว
การจัดงานนี้ได้จัดขึ้นที่ 3 เมืองใหญ่ โดย วันที่ 4 กันยายน 2526 มูลนิธิไทย-อเมริกันได้ร่วมกับชมรมโรบินฮู๊ด และสมาคมไทยในแคลิฟอร์เนียภาคเหนือ จัดแสดงที่เมืองซานฟรานซิสโก และวันที่ 9 กันยายน 2526 มูลนิธิไทย-อเมริกันได้ร่วมกับ น.ส.พ. ไทยไทม์ และ นิตยสารตะวันของเมืองชิคาโก จัดให้ชาวไทยในชิคาโกได้ชมด้วย
การจัดงาน “ส่งความรักกลับเมืองไทย” ใน 3 เมืองใหญ่ในอเมริกาได้รับการต้อนรับอย่างเกรียวกราวและคับคั่งจากคนไทยในอเมริกาทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ซึ่งคุ้นเคยกับเพลงเก่าๆในประวัติศาสตร์ การมาจัดงานครั้งนี้ได้จุดประกายให้มีการเชื้อเชิญนักร้องรุ่นลายคราม เช่น สวลี ผกาพันธุ์ และชรินทร์ นันทนาคร ฯลฯ เดินทางมาร้องและแสดงในชุมชนไทยตามเมืองใหญ่ๆมาจนถึงทุกวันนี้ นอกจากนี้ นักร้องเพลงเพื่อชีวิต อย่าง วง คาราวาน และ คาราบาว ก็เคยได้รับเชิญมาแสดงในอเมริกาเช่นกัน
นอกจากพี่อู๊ดจะเหนื่อยยากในการเป็นผู้กำกับ เป็นผู้อำนวยการซ้อมอย่างแทบจะไม่ได้พักผ่อน เพราะว่าต้องเดินทางตะลอนบินไปถึง 3 เมืองใหญ่ และในแต่ละเมืองก็ต้องระดมฝึกและคัดผู้แสดงประกอบมาเข้าร่วมด้วยซึ่งไม่ใช่งานง่ายๆ พี่อู๊ดยังเป็นแขกรับเชิญของสมาคมคนไทยในต่างแดนต่างๆ เช่น สมาคมธรรมศาสตร์ในแคลิฟอร์เนียภาคใต้และภาคเหนือ ในการบรรยายสถานการณ์ในเมืองไทย รวมทั้งการขอเรี่ยไรเงินมาสนับสนุนงานของมูลนิธิปรีดี พนมยงค์อีกด้วย
ชาวไทยในแอลเอและเมืองต่างๆที่คณะศิลปินนักร้องนักแสดงกิตติมศักดิ์เดินทางไปแสดงอย่างไม่ย่อท้อต่อความเหนื่อยยากโดยไม่รับเงินค่าตอบแทนเลย ต่างประทับใจในความเสียสละของพี่อู๊ดและคณะศิลปินนักร้องนักแสดงกิตติมศักดิ์ และต่างให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น เช่น คุณชัชวาลย์ ศรีพาณิชย์ ซึ่งเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ ประชามติ ได้เปิดบ้านรับรองคณะศิลปินนักร้องนักแสดงกิตติมศักดิ์ทั้งคณะ
ในการแสดงที่เมืองลอสแอนเจลิสได้จำหน่ายบัตรจำนวน 1200 ใบหมดเกลี้ยง อันนับเป็นประวัติการณ์ที่มีการจัดงานใหญ่เช่นนี้ในชุมชนคนไทยในต่างแดนในยุคนั้น และในวันเปิดการแสดงนั้นที่นั่งทุกที่นั่งเต็มหมด จนต้องยืนกันล้นห้องประชุมที่จัดแสดงที่เมืองพาสซาดินา เช่นเดียวกับการแสดงที่ซานฟรานซิสโกและชิคาโก
นอกจากพี่อู๊ดจะได้สร้างความประทับใจให้กับชาวไทยแล้ว พี่อู๊ดยังได้สร้างสัมพันธไมตรีและความประทับใจให้กับมิตรแท้ชาวอเมริกันซึ่งรักเมืองไทย และให้ความช่วยเหลือผู้ยากไร้โดยเฉพาะเด็กและผู้หญิงที่ด้อยโอกาส.
มิตรสากลผู้นี้ ชื่อ Lee Storey Cable ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิไทย-อเมริกัน และรับตำแหน่งรองประธานของมูลนิธิ โดยจัดหาสถานที่ทำการให้โดยไม่คิดเงิน และให้ความสนับสนุนด้านอื่นๆทุกด้านเพื่อให้มูลนิธิแจ้งเกิดและดำรงอยู่ได้ Lee เป็นมิตรชาวอเมริกันคนหนึ่งนอกเหนือจากอีกหลายๆคนที่มีคุณูปการต่อขบวนการประชาธิปไตยของประชาชนไทย ที่ผมไม่เคยลืมเลือน และจะไม่ยอมลืมเลือนเลย คุณ ลี สตอรี่ เคเบิล ( Lee Storey Cable) เป็นคนนับถือศาสนาเควกเกอร์ ซึ่งเชื่อในเรื่องการไม่ใช้ความรุนแรง สนับสนุนสันติภาพ ช่วยเหลือดูแลผู้ที่อ่อนแอและถูกข่มเหงจากความไม่ชอบธรรมทั้งปวง โดยเฉพาะจากการใช้ความรุนแรง ชาว เควกเกอร์มีบทบาทอย่างสูงในการคัดค้านสงครามอธรรมที่รัฐบาลอเมริกากระทำกับเวียดนาม
คุณลี เพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อ 5 ปีที่แล้วนี้เอง ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งเป็นบ้านเกิดของเธอ บุคคลสำคัญและมีชื่อเสียงของเมืองไทยจำนวนไม่น้อยล้วนรู้จักและเคยร่วมมือ หรือ ได้รับความช่วยเหลือหรือได้รับการต้อนรับจากคุณลี เช่น อาจารย์ ป๋วย อึ๊งภาการณ์ อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ คุณทองใบ ทองเปาน์ คุณ สุวัฒน์ วรดิลก คุณเพ็ญศรี พุ่มชูศรี คุณ วงศ์จันทร์ ไพโรจน์ คุณสุเทพ วงศ์กำแหง คุณเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ คุณ กมล ทัศนาญชลี คุณชัย ราชวัตร และคุณสุธรรม แสงประทุม คุณปิยะณัฐ วัชราภรณ์ฯลฯ ล้วนเคยได้รับน้ำใจจากเธอและสามี ที่ชื่อว่า จอร์จ เคเบิล ซึ่งเป็นวิศวกร
ลี มีอาชีพเป็นนักออกแบบศิลปะ เป็นลูกคนรวย และเรียนจบที่ California Art Institute ซึ่งมีชื่อเสียงมากทางด้านเป็นสถาบันทางศิลปะ ลีได้จัดตั้งคณะทำงานและโต๊ะทำงานในสำนักงานของ AFSC (American Friends Service Committee) ให้ผมและเพื่อนๆได้ใช้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย และช่วยรณรงค์ให้คณะกรรมการอื่นๆในสำนักงานช่วยเขียนจดหมายเและล่าลายเซนต์เรียกร้องให้รัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียร คืนอำนาจให้ประชาชน จัดให้มีการเลือกตั้งและปล่อยตัวนักโทษการเมืองที่ส่วนใหญ่เป็นนิสิตนักศึกษา
นอกจากนี้ ลียังได้ช่วยประสานงานในการเชิญอาจารย์ป๋วยมาให้ข้อเท็จจริงกรณีเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ที่รัฐสภาอเมริกัน คำรายงานของอาจารย์ ป๋วย อี๊งภากรณ์ได้ตีพิมพ์ออกมาเป็นภาษาอังกฤษและไทยเผยแพร่ไปทั่วโลก
ลีและสามีมีเรือใบสำเภาจีนที่สวยงามมาก ซึ่งคนที่มีเรือใบ( Yacht) ในอเมริกาส่วนใหญ่จะมีฐานะและอยู่ในสังคมชั้นสูง เพราะราคาเรือใบ ค่าจอดเรือ และค่าบำรุงดูแลรักษาแพงมาก คนไทยที่ผมเอ่ยชื่อมาข้างต้น จึงได้อานิสงค์จากลีและสามีซึ่งทำหน้าที่เป็นกัปตันเรือเสมอๆโดยเมื่อบุคคลข้างต้นได้รับเชิญมาประชุม ปาฐกถา หรือ เป็นวิทยากรที่อเมริกา และมาพบกับเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิไทย-อเมริกัน ลีก็มักอาสาเป็นเจ้าภาพพาไปล่องเรือและกินดื่มท่ามกลางท้องน้ำสีฟ้าเข้ม ในอ่าวของเขต มารินา เดล เรย์ เมืองซานตามอนิกา ซึ่งได้ชื่อว่าสวยงามมากที่สุดแห่งหนึ่งของอเมริกา และของโลก ซึ่งถือว่าเป็นประสบการณ์ชีวิตที่หาได้ยาก
พี่อู๊ดและคณะศิลปินกิตติมศักดิ์ก็ได้รับเกียรติจากคุณลีพาล่องเรือสูดอากาศบริสุทธิ์และชมความงามของท้องทะเลรอบๆอ่าวซานตามอนิกาอันสวยงาม
ลี ได้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิ ไทย-อเมริกันร่วมกับผม และ คุณวรวิทย์ จิตจาตุรันต์ โดยให้ผมเป็นประธานของมูลนิธิ เรี่ยไรเงินและทำกิจกรรมหาเงินทุน เช่น การทำกระป๋องรับบริจาคเงินไปวางตามร้านอาหารไทย ขายไก่ย่างและลูกชิ้นปิ้งในงานวัดไทย พิมพ์โปสเตอร์และหนังสือขาย เพื่อนำเงินมาช่วยเหลือมูลนิธิในเมืองไทย เช่น มูลนิธิเด็ก ที่มีคุณหมอ ประเวศ วะสี เป็นประธาน มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก มีคุณหมอเสม พริ้งพวงแก้ว มูลนิธิดวงประทีป ของคุณครู ประทีป อึ้งทรงธรรม มูลนิธิ เด็กอ่อนในสลัม ที่มีคุณนงเยาว์ นฤมิตรเรขการ เป็นผู้อำนวยการ มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก ที่มีครูหยุยเป็นผู้อำนวยการ และคุณหญิงจันทนี สันตะบุตร เป็นประธาน และมูลนิธิโกมล คีมทอง ที่อ.จ. สุลักษณ์ ศิวรักษ์ เป็นประธาน
มูลนิธิไทย-อเมริกันได้รับความร่วมมือจากคุณกีรตี ชนา ซึ่งเป็นนักเขียนช่วยประสานงานกับคุณปุ๋ย หรือภรณ์ทิพย์ นาคหิรัญกนก อดีตนางงามจักรวาลช่วยรณรงค์ หาเงินช่วยเหลือเด็กไทยที่ยากไร้ โดยการกล่าวถึงปัญหาเด็กในวันที่ให้สัมภาษณ์ในวันชิงตำแหน่งนางงามจักรวาลด้วย
เมื่อได้รับตำแหน่งนางงามจักรวาลแล้ว คุณปุ๋ยก็ยังรักษาคำมั่นและเจตนารมณ์ของเธอ ด้วยการมาเยี่ยมเด็กๆที่มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก ของครูหยุย และมูลนิธิอื่นๆ แม้แต่ในทุกวันนี้ ซึ่งคุณปุ๋ยกลายเป็นมหาเศรษฐีโลกแล้วก็ยังรักษาเจตจำนงค์และความมุ่งมั่น ที่ได้ประกาศไว้ในวันรับตำแหน่งนางงามจักรวาล โดยการให้ความช่วยเหลือเด็กๆที่ยากไร้ เด็กๆที่พิการอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งการไปเยี่ยมเด็กๆเหล่านี้ด้วยทุกครั้งที่กลับมาเยี่ยมบ้าน นับว่าคุณปุ๋ยเป็นคนไทยที่โตในอเมริกาที่เป็นแบบอย่างให้คนที่รวยแล้วควรรู้จักเผื่อแผ่แบ่งปันให้กับผู้ด้อยโอกาสบ้าง
ในทำนองเดียวกัน คุณวีระ จัดแจงก็ได้ประสานงานให้คุณ สาวิณี ปะการะนัง อดีตนางสาวไทย และรองนางงามจักรวาลซึ่งเติบโตในเมืองลอสแอนเจลิส เป็นผู้นำเงินมามอบให้กับมูลนิธิเด็กที่เมืองไทยอีกด้วย
จากวันที่พบกับลีในปลายปี 2519 เป็นเวลาเกือบ 27 ปีที่ลีได้อุทิศตนเข้าช่วยเหลืองานด้านมนุษยธรรมอย่างต่อเนื่องตราบจนวาระสุดท้ายของชีวิต มูลนิธิโกมล คีมทอง ได้ตั้งกองทุนที่ได้รับบริจาคจากคุณวรวิทย์ จิตจาตุรันต์ คุณประสงค์ จตุระบุล และคุณวีระ จัดแจง ตั้งขึ้นในนามกองทุน ลี สตอรี่ เคเบิล เพื่อส่งเสริมงานด้านการศึกษาและมนุษยธรรม ทางกองทุนยินดีรับบริจาคเพื่อขยายกองทุนนี้ให้ถาวรต่อไป
การที่พี่อู๊ดและพี่โจ๊วรับเชิญจากมูลนิธิไทย-อเมริกันนำคณะศิลปินกิตติมศักดิ์จากเมืองไทยมาแสดงเพื่อหาทุนช่วยเหลือเด็กไทยที่ยากไร้ในเมืองไทยได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้คนไทยในต่างประเทศไม่ลืมผู้ยากไร้ในประเทศไทย และนำไปสู่กิจกรรมอันสร้างสรรค์ที่ตามมาอีกหลายโครงการ เช่น โครงการออกแบบกระป๋องรับบริจาคเงินไปวางตามร้านอาหารไทยในเมืองต่างๆ และได้รับการบริจาคอย่างมากมาย
พี่อู๊ดและพี่โจ๊วจากไปแล้ว แต่คนไทยในแอลเอ(ลอสแอนเจลิส) และเมืองอื่นๆก็ยังไม่ลืมคุณความดีและน้ำใจของพี่อู๊ดและพี่โจ๊วที่ฝากไว้
ในโอกาสนี้ ในนามของมูลนิธิไทย-อเมริกัน ผมขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยและขอให้คุณความดีของพี่อู๊ด-สุวัฒน์ วรดิลกและพี่โจ๊ว-เพ็ญศรี พุ่มชูศรี ที่ได้สร้างไว้แก่สังคมไทยมาตลอดชีวิตผ่านงานเขียนที่มีคุณค่า มีแง่คิดที่ยืนอยู่ข้างความเป็นธรรม อยู่ข้างผู้ด้อยโอกาส และเชิดชูระบอบประชาธิปไตย ส่วนพี่โจ๊วก็ได้ฝากเสียงเพลงร้องที่ไพเราะอันเป็นอมตะที่ให้ความรื่นรมย์กับคนรุ่นหลัง รวมทั้งวัตรปฏิบัติที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อทุกๆคนโดยเฉพาะเพื่อนนักเขียน และศิลปินทั้งรุ่นอาวุโส รุ่นน้อง รุ่นลูก และรุ่นหลาน ได้นำพาพี่อู๊ด และพี่โจ๊วไปสู่สัมปรายภพอันเป็นภาวะที่ว่างและหลุดพ้นด้วยเทอญ

14 พฤษภาคม 2550

ฮูโก ชาเวซ : สร้างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน

ฮูโก ชาเวซ : สร้างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
กมล กมลตระกูล

การต่อสู้ทางการเมืองภาคประชาชนในประเทศเวเนซูเอลลาเป็นบทเรียนที่การเมืองภาคประชาชนในประเทศไทยน่าเก็บบทเรียนมาศึกษา โดยเฉพาะการศึกษาเนื้อหาในรัฐธรรมนูญใหม่ที่สภาร่างรัฐธรรมนูญที่ตั้งขึ้นโดยประธานาธิบดีชาเวซได้ร่างขึ้นและเสนอให้ประชาชนทั้งประเทศลงมติรับหรือไม่รับ
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ได้รับคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยอย่างท่วมท้น เพราะมีเนื้อหาปกป้องผลประโยชน์ของชาติไว้อย่างชัดเจน มีเนื้อหาปกป้องการรุกล้ำของลัทธิเสรีนิยมใหม่(การล่าอาณานิคมยุคใหม่ ที่มีกติกาขององค์การค้าโลก มีองค์การไอเอ็มเอฟ ธนาคารโลก สถาบันไอเอฟไอ ธนาคารเอดีบีและไจก้า เป็นผู้กำหนดเงื่อนไขและสร้างกติกาเพื่อปล้นสดมภ์ได้อย่างถาวร) อย่างชัดเจน มีเนื้อหาปกป้องสิทธิมนุษยชนอย่างชัดเจน มีเนื้อหาระบุถึงความรับผิดชอบต่อสิทธิในดำรงชีพและมาตรฐานการดำรงชีวิตของประชาชนอย่างชัดเจน
ในการลงประชามติเมื่อเดือนสิงหาคม 2547 ที่ผ่านมานี้ ประธานาธิบดี ฮูโก ชาเวซ ของประเทศเวเนซูเอลา ได้รับคะแนนเสียงอย่างท่วมท้นด้วยคะแนนเสียง ประมาณ 5 ล้านคะแนน โดยได้รับคะแนนมากกว่าเมื่อครั้งที่เขาชนะการเลือกตั้งในปี 2541 ถึง 1.2 ล้านคะแนน คิดเป็นร้อยละ 58
การเลือกตั้งในเดือนธันวาคม 2006 ชาเวซได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีเป็นวาระที่ 3 ทั้งๆที่มีประเทศมหาอำนาจพยายามและแทรกแซงโดยการหนุนนักการเมืองฝ่ายเสรีนิยมขึ้นมาโค่นเขา แต่ประชาชนรู้เท่าทันจึงไม่เอาด้วย
ระบบการเลือกผู้นำทางตรงเช่นนี้เท่านั้นที่คะแนนเสียง หรือ อำนาจของประชาชนจึงสามารถเป็นตัวชี้ขาดเลือกผู้นำที่มีนโยบายรับผิดชอบต่อสิทธิในดำรงชีพและมาตรฐานการดำรงชีวิตของประชาชนได้อย่างแท้จริง เพราะยากที่จะมีใครสามารถซื้อคะแนนเสียงของประชาชนได้ทั้งประเทศ อำนาจอธิปไตยจึงเป็นของปวงชนอย่างที่ไม่มีใครสามารถ ช่วงชิงเอาไปได้ มิใช่ระบบการเลือกตั้งทางอ้อมอย่างที่เป็นอยู่ของไทย ประเทศโบลิเวีย ประเทศชิลี ประเทศบราซิล และล่าสุด ประเทศนิคารากัว เป็นอีกกลุ่มประเทศในลาตินอเมริกาที่ประชาชนส่วนใหญ่สามารถเลือกผู้นำที่มีนโยบายชาติประชานิยมของแท้อย่างเช่น ชาเวซ ซึ่งเป็นผู้นำในการปฏิเสธลัทธิเสรีนิยมใหม่ที่นำความยากจนมาให้คนส่วนใหญ่ของประเทศ
การเลือกตั้งผู้ว่าก.ท.ม. เป็นเครื่องยืนยันว่าอำนาจของประชาชนที่ใช้ผ่านการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งทางตรงนั้น มีความเป็นไปได้ การเลือกนายกรัฐมนตรีทางตรง และคณะรัฐมนตรีทางตรงจึงน่าจะเป็นคำตอบสุดท้ายของการปฏิรูปทางการเมือง ของภาค ประชาชน
การเมืองภาคประชาชนจึงมิใช่การไล่จับปูใส่กระด้ง แต่เป็นการเมืองที่ต้องเลือกและสร้างระบบใหม่ที่ยั่งยืน มีการถ่วงดุลที่ชัดเจน มีการตรวจสอบที่ชัดเจน และมีกลไกให้ภาคประชาชนสามารถฟ้อง หรือ ตรวจสอบฝ่ายบริหารได้อย่างง่ายๆ และในกฎหมายหรือข้อตกลงระหว่างประเทศที่สำคัญๆจะต้องให้ประชาชนทั้งประเทศลงประชามติ อันเป็นการเคารพในเสียงของประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่งรัฐธรรมนูญของเวเนซูเอลลาเรียกว่า อำนาจที่ 4
ก่อนจะไปกล่าวถึงรัฐธรรมนูญฉบับสิทธิมนุษยชนและชาติประชานิยม อยากให้มาทำความรู้จักกับประเทศเวเนซูเอลลาสักเล็กน้อย
คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสได้เดินทางมาถึงประเทศเวเนซูเอลลาเมื่อปี ค.ศ. 1498 พื้นที่ตรงนี้มีคนพื้นเมือง หลายเผ่า อาศัยอยู่ เช่นเผ่า อาราวัก คาริบ และชิบชา โคลัมบัสได้ยึดดินแดนแห่งนี้เป็นเมืองขึ้นของสเปนและตั้ง ชื่อดินแดน ที่เดินทาง มาถึงนี้ว่า เวเนซูเอลลา ซึ่งแปลว่า เวนิสน้อยเพราะมีภูมิประเทศคล้ายกับเมืองเวนิส
เมืองหลวงคาราคัสได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1567 ซิมอน โบลิวาร์เกิดในเมืองหลวงนี้ เมื่อปี ค.ศ. 1783 และเขาเป็นบุคคลแรกในทวีปอเมริกาใต้ที่จับอาวุธลุกขึ้นสู้เพื่อกู้เอกราชของชาวลาตินอเมริกาจากแอกของนักล่าอาณานิคมชาวสเปนในปี ค.ศ. 1818 และได้รับเอกราชในปี 1821 โดยใช้เวลาเพียง 11 ปีเท่านั้น
เมื่อได้รับเอกราชเขาได้ประกาศเป็นสหภาพมหาโคลัมเบียโดยรวมประเทศเข้ากับประเทศโคลัมเบีย และ เอควาดอร์ แต่ต่อมาในปี 1830 ก็แยกประเทศออกมาเป็นประเทศสาธารณรัฐต่างหากมาจนถึงทุกวันนี้
ประเทศสาธารณรัฐเวเนซูเอลลามีขนาดใหญ่กว่าประเทศไทยเกือบ ๑ เท่า โดยมีเนื้อที่ ๙๑๒,๐๕๐ ตารางกิโลเมตร (ประเทศไทยมีเนื้อที่ ๕๑๔,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร) มีพื้นที่ครอบคลุมชายฝั่งทะเลภาคเหนือของทวีปอเมริกาใต้ ด้านทะเลแคริเบียนเกือบทั้งหมด พรมแดนด้านตะวันตกติดกับประเทศโคลัมเบีย ด้านตะวันออกติดกับประเทศกัวเตมาลา ด้านใต้ติดกับประเทศบราซิล
ประชากรมีประมาณ ๒๕ ล้านคนในการสำรวจปี ๒๐๐๔ เมืองหลวงชื่อคาราคัส ร้อยละ ๙๖ ของประชากรนับ ถือศาสนา คริสต์ นิการโรมันแคธอลิก
รายได้ประชาชาติต่อหัวประมาณ ๒ แสนบาทจากรายได้น้ำมันของประเทศ แต่ประชาชนส่วนใหญ่ยากจน เพราะว่ารายได้น้ำมันนั้นไปเข้ากระเป๋านักการเมือง นักบริหารมืออาชีพ และบริษัทข้ามชาติเสียเป็นส่วนใหญ่

สถานการณ์ก่อนชาเวซได้รับการเลือกตั้ง
ชาเวซได้รับการเลือกตั้งมาตามระบอบประชาธิปไตยอย่างขาวสะอาดด้วยการนำเสนอนโยบายประชานิยม (Populism) เมื่อปี 2541 โดย ชูนโยบาย “ กอบกู้คนจน โค่นล้มกลุ่มผูกขาดเศรษฐกิจการเมือง “ เพราะว่ารัฐบาล ก่อนหน้านี้ที่มีนาย คาร์ลอส อังเดร เปเรซ และ นาย คาลเดอรา โรดิเกซซึ่งแม้ว่าจะได้รับการเลือกตั้งมา แต่ก็บริหารงานโดยการฉ้อราษฏรบังหลวงและละเลยคนจน ทำให้มีคนว่างงาน คนไร้ที่อยู่อาศัยและขาดโอกาส การศึกษา อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้มากมายเต็มประเทศ ราคาสินค้า ค่ารถโดยสาร และอาหาร แพง หูฉี่ ช่องว่างรายได้ ของคนรวย กับคนจน ห่างกัน อย่างฟ้า กับดิน ทั้งๆที่เป็นประเทศร่ำรวยด้วยน้ำมันเป็นอันดับ 5 ของโลก
นาย ซี พี แพนได และจัสติน พอเดอร์ นักหนังสือพิมพ์ผู้เกาะติดข่าวในลาตินอเมริกาประเมินว่าการ คอรัปชั่นในยุคของ รัฐบาลเปเรซ มียอดไม่ต่ำกว่า 1 หมื่น 1 พันล้านเหรียญอเมริกัน หรือ 4 แสน 4 หมื่นล้านบาท( ดูใน Venezuelaanalysis.com , 22 January 2004)
ไม่เพียงแค่นั้น นายเปเรซได้เดินตามนโยบายเสรีนิยมใหม่โดยการเปิดเสรีให้โอกาสบริษัทข้ามชาติเข้ามา ตักตวง ยึดครอง และผูกขาดอุตสาหกรรมน้ำมันของชาติในลักษณะของการคอรัปชั่นทางนโยบายด้วยการ ตั้งบริษัทไปร่วมทุนกับ บริษัทน้ำมัน อเมริกันซื้อโรงกลั่นในอเมริกา บริษัทจัดจำหน่ายน้ำมันชื่อซิทโก ( CITGO) รับซื้อน้ำมันในราคาถูกจาก เวเนซูเอลลา ไปขายปลีก ในอเมริกา บริษัท นี้มี นักการ เมืองและนักบริหาร ระดับสูงของ PDVSA ( Petroleos de Venezuela, S.A.) พีดีวีเอสเอ(ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ) เข้าถือหุ้นด้วยเป็นจำนวนมาก
ผลกำไรของบริษัทที่ตั้งขึ้นนี้ไม่เคยส่งกลับมาเข้าประเทศเลย
พีดีวีเอสเอ กลายเป็นรัฐซ้อนรัฐ เพราะว่าผู้บริหารส่วนใหญ่มาจากกรรมการผู้บริหารของบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ ของโลก คือ เชลล์ เอ๊กซอน บีพี นักบริหารมืออาชีพเหล่านี้จึงพยายามกำหนดให้องค์กรของตนมีอิสระ และไม่ต้องเดินตามนโยบายของกระทรวงทรัพยากรและพลังงาน
กรณีนี้ก็คล้ายๆกันกับกรณีของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต(ก.ฟ.ผ.) และ ป.ต.ท. นั่นเอง ไม่รู้ว่าใครเลียนแบบใคร
วิธีการนี้คือ การปล้นสดมภ์รายได้น้ำมันของประเทศซึ่งควรจะต้องนำไปใช้พัฒนาด้านการศึกษา ด้านสาธารณสุข ด้านสาธารณูปโภคที่จำเป็น หรือ ที่พักอาศัยของคนจนซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในสลัม
นโยบายเสรีนิยมใหม่ในด้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การตัดลดงบประมาณ การเปิดเสรี และการยกเลิกกฎกติกา ควบคุมบริษัทข้ามชาติทำให้เศรษฐกิจของประเทศในยุคเปเรซลดลงร้อยละ 8.6 คนยากจนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 43.9 ของประชากรทั้งประเทศในปี 1988 และเพิ่ม เป็นร้อยละ 66.5 ในปี 1989
นายเปเรซแก้ปัญหาด้วยการบากหน้าไปกู้เงินจากไอเอ็มมเอฟ เป็นจำนวน 1 หมื่น 4 พันล้านเหรียญ โดยมีเงื่อนไขต้องเปิดเสรีประเทศให้บริษัทต่างประเทศเข้ามาลงทุนมากขึ้น โดยเฉพาะต้องแปรรูปรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้น
ประชาชนทั้งประเทศจึงได้ลุกฮือขึ้นประท้วงในสมัยของนายเปเรซมื่อเดือน กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1989 เปเรซ ได้สั่ง ให้ใช้กำลังทหารปราบ ปรามอย่าง เด็ดขาด มีผู้เสียชีวิต อย่างน้อย 3000 คน ในระหว่างเวลา 15 วันที่มีการประท้วง
ความไม่พอใจต่อรัฐบาลฉ้อราษฏรบังหลวงนี้เองที่เป็นเงื่อนไขให้ชาเวซก่อการรัฐประหารถึง 2 ครั้งในปี 1992 แต่ไม่สำเร็จทั้ง 2 ครั้ง
อย่างไรก็ตามเมื่อชาเวซ เปลี่ยนแนวทางการต่อสู้มาใช้หนทางการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยทางตรง เมื่อชาเวซได้รับการเลือกตั้งแทนที่จะลืมคำมั่นสัญญา เหมือน กับนักการเมืองในประเทศกำลังพัฒนา ชาเวซกลับ เดินหน้า นำนโยบายประชานิยมมาใช้อย่างเต็มที่โดยได้แต่งตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาร่างรัฐธรรมนูญใหม่เพื่อรองรับ นโยบาย ประชานิยมและสิทธิมนุษยชน
รัฐธรรมนูญใหม่ที่มีมาตรา มากถึง 350 มาตรา มากกว่ารัฐธรรมนูญเก่าถึง 98 มาตรา และมากกว่ารัฐธรรมนูญไทย ฉบับปี 2540 ถึง 14 มาตรา โดยของเรามีอยู่ 336 มาตรา ซึ่งเคยเป็นรัฐธรรมนูญที่มีมาตรามากที่สุดในโลก แต่บัดนี้ถูกแซงหน้าไปแล้ว
รัฐธรรมนูญของเวเนซูเอลลาได้รับการลงประชามติรับรองจากประชาชนด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น จึงเรียกได้ ว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน และเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นรัฐธรรมนูญที่คำนึงถึง ผลประโยชน์ ของประชาชนและประเทศชาติอย่างแท้จริงและชัดเจนโดยไม่ต้องตีความ อาจจะเรียกได้ว่า เป็นรัฐธรรมนูญฉบับสิทธิมนุษยชนได้อย่างเต็มปาก เช่น
ในมาตรา 1 สาธารณรัฐโบลิวาเรียนของเวเนซูเอลลาเป็นประเทศเสรีที่มีอิสระภาพที่ละเมิด มิได้ ยึดถือในมรดก ที่เป็นหลักการทางจริยธรรมในด้าน คุณค่าของอิสระภาพ ความเท่าเทียมกัน ความยุติธรรมและ สันติภาพโลก ของซิมอน โบลิวาร์ ผู้กู้อิสรภาพของประเทศ อิสรภาพ เสรีภาพ อธิปไตยของชาติ สิทธิในการปกป้องประเทศ ปกป้องอาณาเขต และสิทธิในการกำหนดตนเองของชาติเป็นสิทธิที่ไม่อาจจะเปลี่ยนแปลงได้
มาตรา 2 ประเทศเวเนซูเอลลา เป็นรัฐที่ยึดถือเอาสังคม และประชาธิปไตยเป็นคุณค่าพื้นฐานของกฎหมาย ความยุติธรรม และ การบังคับใช้ต่อชีวิต เสรีภาพ ความยุติธรรม ความเท่าเทียมกัน ความสมานฉันท์ ประชาธิปไตย ความรับผิดชอบต่อสังคม โดยให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชน จริยธรรม และความแตกต่างทางการเมือง
มาตรา 9 ระบุว่า ภาษาสเปน เป็นภาษาราชการ แต่ การใช้ภาษาท้องถิ่นของชนกลุ่มน้อยในท้องถิ่นถือว่าเป็นภาษาราชการสำหรับคนท้องถิ่นที่ต้องยอมรับในขอบเขตทั่วอาณาเขตในฐานะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติและของมนุษยชาติ
มาตรานี้เป็นการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมอย่างเป็นทางการของชนกลุ่มน้อย และคนพื้นเมือง เช่น ชาวอินเดียน ที่มีอยู่จำนวนมากบนเทือกเขา ถ้ารัฐธรรมนูญไทยเขียนไว้ชัดเจน เช่นนี้อย่างไม่มีเงื่อนไขให้เป็นไปตามกฎหมายอื่นๆที่ล้าหลังและขัดแย้งกับหลักสิทธิมนุษยชนสากล ปัญหาไฟใต้ก็คงไม่ลุกลามมาถึงระดับนี้ อย่างไรก็ตาม ก็ยังไม่สายเกินไปที่จะปรับนโยบายและกฎหมายให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนสากล
มาตรา 12 รัฐธรรมนูญเขียนไว้ว่า แร่ธาตุ น้ำมัน และทรัพยากรธรรมชาติทั้งปวง ในอาณาเขต ของชาติ ทั้งที่อยู่ ใต้ดิน ใต้ทะเล พื้นที่ชายฝั่งทะเล และในอากาศเป็นทรัพย์สิน ของสาธารณะชนดังนั้นจึงห้ามโอน กรรมสิทธิ์ให้ เป็นของ เอกชนหรือชาวต่างชาติ
มาตรานี้เป็นการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญเลยในการห้ามการให้สัมปทานและแปรรูปรัฐวิสาหกิจทรัพยากรของ แผ่นดินอย่างสิ้นเชิง ซึ่งตรงกันข้ามกับของรัฐธรรมนูญไทยที่อ้างกันหนักหนาว่าดีที่สุดในโลก
มาตรา 13 กำหนดว่ากรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์เป็นของชาวเวเนซูเอลลาเท่านั้น ห้ามโอนกรรมสิทธิให้กับต่างชาติ ที่ดินว่างเปล่า เกาะ แก่งในแม่น้ำเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐ และห้ามออกเอกสารสิทธิ์ให้กับเอกชน นอกจากการให้เช่าใช้ประโยชน์เท่านั้น
ประเทศเวเนซูเอลลาเป็นดินแดนแห่งสันติภาพ จึงห้ามต่างชาติเข้ามาตั้งฐานทัพทางทหาร
มาตรา 21 ตำแหน่ง หรือ ยศถาบรรดาศักดิ์ไม่สามารถนำมาเป็นข้ออ้างเพื่อแสดง อภิสิทธิ์ หรือ เรียกร้องการ ปฏิบัติ ที่แตกต่างจากคนทั่วไปได้
มาตรานี้เป็นการเคารพหลักการสิทธิมนุษยชนสากลขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกัน ไม่ว่าเขาจะมีฐานะ สีผิว เชื้อชาติ ชนเผ่า หรือ นับถือศาสนาใด หรือมีความเชื่อทางการเมืองใดก็ตาม จะต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน
มาตรา 23 สนธิสัญญา อนุสัญญา และกติการะหว่างประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน ที่มีผลบังคับใช้ และรัฐบาลเวเนซูเอลลาได้ลงนาม หรือ ให้สัตยาบรรณ ถือว่าเป็นกฏหมายที่มีสถานะเท่าเทียมกับรัฐธรรมนูญ และมีอำนาจบังคับใช้เหนือกว่ากฎหมายภายในประเทศ ถ้าหากว่ากฎหมายระหว่างประเทศข้างต้นมีข้อความให้สิทธิและยอมรับการใช้สิทธิมากกว่าที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ หรือกฎหมายอื่น ก็ให้ถือว่ามีผลบังคับใช้ทันทีโดยศาลและหน่วยงานของรัฐทุกหน่วย
มาตรานี้ แสดงความจริงใจของประเทศในการเคารพสิทธิมนุษยชนอย่างแท้จริงโดยไม่มีเงื่อนไข โดยเฉพาะการยอมรับสถานะของกติการะหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนให้มีผลบังคับใช้เทียบเท่ากับรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
มาตรา 29 รัฐมีพันธกรณี ต้องสอบสวนและลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน การลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชน จะไม่ได้รับการยกเว้นตามกฎหมายฉบับอื่นๆ รวมทั้งกฏหมายการให้อภัยโทษหรือ การนิรโทษกรรม
มาตรา 30 รัฐมีพันธกรณีในการจ่ายชดเชยค่าเสียหายอย่างเต็มที่ให้กับผู้ที่เสียหาย หรือ หรือผู้ที่ได้รับฉันทะตามกฏหมายในกรณีที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ใน ๒ มาตรานี้เป็นการตอกย้ำถึงความจริงใจของรัฐบาลของนายชาเวซที่ให้การเคารพในสิทธิมนุษยชน อย่างสูง โดยไม่มีการหมกเม็ดแต่อย่างใดทั้งสิ้น
มาตรา 73 ระบุว่า การทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ข้อตกลง หรือการให้สัตยาบรรณกติการะหว่างประเทศ ที่อาจจะมีผลกระทบต่ออธิปไตยของชาติ หรือการโอนอำนาจให้กับองค์กรเหนือรัฐ(รัฐวิสาหกิจ และการแปรรูป) จะต้องผ่านการ ลงประชา มติโดยประชาชนทั้งประเทศ


ชาติประชานิยมในรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญของเวเนซูเอลลาเป็นรัฐธรรมนูญที่ปกป้องผลประโยชน์ของชาติ และสวนทางกับกระแสของระบอบทุนครอบโลก(Globalization) การค้าเสรีที่ประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งมีทุนมากกว่า มีเทคโนโลยี่สูงกว่า มีประสบการณ์ในการบริหารจัดการมากกว่า และได้ผูกขาดกลไกการตลาด สื่อมวลชน และการโทรคมนาคม ไว้ทุกด้านจึงได้เปรียบและผลักดันให้ทุกประเทศเปิดเสรี(ยอมให้ขูดรีดอย่างเสรี)
มาตราต่อไปนี้เขียนไว้อย่างชัดเจนและรัดกุมในการปกป้องไม่ให้บริษัทข้ามชาติเข้ามาปล้นสดมภ์ทรัพยากร ของชาติด้วยข้ออ้างของลัทธิตลาดเสรีมาเอาเปรียบ ชาวเวเน ซูเอลลา
มาตรา 301 รัฐสงวนสิทธิในการใช้นโยบายการค้าเพื่อปกป้องเศรษฐกิจของสาธารณะและธุรกิจของชาวเวเนซูเอลลา การลงทุน ธุรกิจ บริษัทและเอกชนชาวต่างชาติจะไม่ได้รับอนุญาตหรือได้รับสิทธิใดๆมากกว่าที่ประชาชนชาวเวเนซูเอลลาได้รับ
มาตรานี้บัญญัติไว้เพื่อไม่ให้กติกาขององค์การค้าโลกสามารถบังคับใช้ในประเทศเวเนซูเอลลาในหัวข้อเรื่อง National Treatment หรือการปฏิบัติเหมือนคนชาติ ที่บังคับให้ทุกประเทศต้องให้สิทธิต่อคนต่างชาติและธุรกิจข้ามชาติ ไม่น้อย กว่าคนในชาติ ซึ่งตีความ ได้ว่า ธุรกิจข้ามชาติและนักธุรกิจต่างชาติมีสิทธิที่จะ ได้รับอภิสิทธิ์มากกว่าบุคคลในชาติ มิใช่เพียง แค่มีสิทธิ เท่ากันเท่านั้น
มาตรา 302 รัฐสงวนสิทธิตามที่กฎหมายกำหนดด้วยเหตุผลของผลประโยชน์ของชาติ อุตสาหกรรมน้ำมันและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งด้านการผลิต ด้านตัวสินค้าและด้านการบริการเป็นสมบัติของชาติและเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ ความมั่นคงโดยธรรมชาติ รัฐมีหน้าที่สนับสนุนอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตจากอุตสาหกรรมข้างต้น ให้คนในชาติได้มีงานทำ ได้สร้างสรรค์พัฒนาเทคโนโลยี่ พัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโต พัฒนาชาติให้มั่งคั่งเพื่อความอยู่ดีกินดีของคนส่วนใหญ่
มาตรา 303 เพื่อรักษาอำนาจอธิปไตยทางเศรษฐกิจ การเมือง และยุทธศาสตร์ รัฐจะเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดของกิจการน้ำมันของรัฐที่มีชื่อว่า PDVSA ( Petroleos de Venezuela, S.A.) หรือบริษัทที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อบริหารงานกิจการข้างต้น ยกเว้น บริษัทร่วมทุนทางธุรกิจ
มาตรา 304 ทรัพยากรน้ำทั้งหมดเป็นสมบัติสาธารณะเพราะมีความสำคัญต่อชีวิตและการพัฒนา และต้องกำหนดในกฎหมายให้คุ้มครองการใช้ประโยชน์ และป้องป้องไม่ให้มีการทำลาย วงจรธรรมชาติของน้ำ
มาตราทั้ง 3 นี้บัญญัติไว้เพื่อป้องกันไม่ให้นักการเมืองหัวใสจัดการแปรรูปกิจการเหล่านี้เพื่อ ให้พรรคพวก ของ ตัวเองเข้าไปถือหุ้นยึดเอาทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นสมบัติของสาธารณะมา เป็นสมบัติส่วนตน เหมือนบาง ประเทศ เช่น ประเทศไทย เป็นต้น
มาตรา 305 รัฐต้องสนับสนุนการพัฒนาเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนโดยยึดถือเป็นยุทธศาสตร์พื้นฐานในการพัฒนา ชนบทเพื่อเป็นหลักประกันให้ประชาชนมีอาหารกินอย่างเพียงพอ รัฐมีหน้าที่จัดหาเงินทุน ตลาด เทคโนโลยี่ ที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การฝึกอบรมอาชีพ และมาตรการที่จำเป็นอื่นๆเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์นี้
อาชีพชาวประมงตามชายฝั่งทะเลต้องได้รับการคุ้มครองรวมไปถึงเขตประมงนอกชายฝั่งทะเลและป่าชายเลนด้วย
มาตรา 307 การถือครองที่ดินขนาดใหญ่เป็นการขัดผลประโยชน์ของสังคม มาตราการทางภาษีต้องนำมาใช้เพื่อ ขัดขวางการถือครองประเภทนี้ รวมทั้งมาตรการอื่นๆเพื่อนำที่ดินเหล่านี้มาทำประโยชน์ เกษตรกรมีสิทธิในการเป็น เจ้าของที่ดินทำกิน
มาตรานี้บัญญัติขึ้นเพื่อป้องกันการกักตุนที่ดินกันคนละเป็นพันเป็นหมื่นไร่โดยไม่ได้ทำประโยชน์ให้คุ้มค่า และทำให้เกษตรกรไร้ที่ดินทำกิน
มาตรา 308 รัฐจะปกป้องและสนับสนุนอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ขนาดกลาง สหกรณ์ ธุรกิจของครอบครัว และธุรกิจของชุมชนเพื่อเป็นการสร้างงาน เพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ และสร้างความเข้มแข็งให้กับการพัฒนาเศรษฐกิจ ของประเทศ รัฐมีหน้าที่จัดหาเงินทุนให้
มาตรา 311 รัฐมีหน้าที่นำรายได้ทั้งหมดที่ได้มาจากทรัพยากรธรรมชาตินำมาใช้ในการลงทุนที่มีประโยชน์ สนับสนุนการศึกษาและสาธารณสุขของประชาชน
มาตรา 333 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ในกรณีที่มีการยุติการใช้ด้วยอำนาจที่ไม่เป็นธรรม ประชาชนทุกคนมีหน้าที่ต้องต่อสู้เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่
มาตรานี้เป็นการมอบหมายหน้าที่การปกป้องรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนให้ประชาชนเป็นผู้ปกป้อง
ตัวอย่างของมาตราบางมาตราที่ยกมาอ้างข้างต้น ในรัฐธรรมนูญที่ประธานาธิบดีฮูโก ซาเวซ เป็นผู้ผลักดันให้ร่างและส่งให้ประชาชนทั้งประเทศลงประชามติรับรองนี้เป็นการแสดงถึงความมุ่งมั่นต่อนโยบายชาติประชานิยมที่คำนึงถึงผล ประโยชน์ และความอยู่ดีกินดีของประชาชนและประเทศชาติเป็นตัวตั้งในการดำเนินนโยบายโดยมีรัฐธรรมนูญเป็นฐาน รองรับ
แต่อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญนี้ และกฏหมายอีก 49 ฉบับที่ออกตามมา เช่นกฏหมายปฏิรูปที่ดิน และกฏหมาย ว่าด้วยการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำมันของชาติ ได้ทำให้มีกลุ่มผลประโยชน์หลายกลุ่ม เช่น นักการเมืองเก่า ข้ารัฐการเก่า นักเทคนิกบริหาร และนายทหารบางกลุ่มเสียผลประโยชน์อันได้มาอย่างไม่ชอบธรรม โดยเฉพาะบริษัทข้ามชาติ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมน้ำมันและการจัดจำหน่ายน้ำมันที่เคยได้อภิสิทธิ์ผูกขาด จากการจ่ายเงินสินบนใต้โต๊ะ และแบ่งผลประโยชน์ในหมู่พวกพ้อง วงศาคณาญาติ ดังนั้นกลุ่ม เหล่านี้จึง รอจังหวะที่จะหาทางโค่นประธานาธิบดีชาเวซลงให้ได้

การก่อกวนของกลุ่มการเมืองเก่าที่เป็นศัตรูของประชาชนผู้ยากไร้
แม้ว่าประเทศเวเนซูเอลลาจะเป็นประเทศที่ส่งออกน้ำมันเป็นอันดับ ๕ ของโลก รายได้จากน้ำมันซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจซึ่งรัฐถือหุ้นทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 26.4 ของจีดีพี หรือ ผลผลิตรวมของชาติ คิดเป็นร้อยละ 80.20ของรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ และคิดเป็นรายได้ร้อยละ 45.6 ของรายรับของรัฐ
กระนั้นก็ตาม ประชาชนร้อยละ 67 ในปี 1997 จากจำนวน 25 ล้านคนมีรายได้ต่ำกว่าเส้นแบ่งความยากจนคือมีรายได้ ต่ำกว่า วันละ 2 เหรียญอเมริกัน หรือ 80 บาท ทั้งนี้เพราะรัฐบาลทหารและนักการเมืองในรอบ 40 ปีที่ผ่านมาก่อนหน้าเข้าได้รับการเลือกตั้ง ต่างฉ้อราษฏรบังหลวงอย่างสะบั้นหั่นแหลก กิจการน้ำมันของรัฐที่มีชื่อว่า PDVSA ( Petroleos de Venezuela) ถูกนักการเมืองเข้าควบคุม และส่งเงินเข้ารัฐน้อยมาก ( คล้ายๆกับกฟผ. และ ปตท.)
นาย คาร์ลอส อังเดร เปเรซ ซึ่งครองอำนาจมาตั้งแต่ปี 1961 ได้นำนโยบายเสรีนิยมใหม่มาใช้อย่างเต็มขั้น โดยการยุติการให้การอุดหนุนสินค้าอาหาร เชื้อเพลิง ที่อยู่อาศัย การศึกษา การรักษาพยาบาล ค่าโดยสารรถประจำทาง โดยปล่อยให้เป็นไป ตามกลไกการตลาดที่กำหนดโดยนายทุน ประชาชนจึงเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า คนจนเพิ่มขึ้นนับ จำนวนไม่ถ้วน
กลุ่มนักการเมือง นักเทคนิกบริหาร กลุ่มสื่อสารมวลชน และทหารที่นำโดย รัฐบาล ก่อนหน้านี้ที่มีนาย คาร์ลอส อังเดร เปเรซ ซึ่งครองอำนาจมาตั้งแต่ปี 1961 สูญเสียผลประโยชน์ เมื่อชาเวซได้รับการเลือกตั้ง จึงร่วมมือกับกลุ่มผูกขาดน้ำมันข้ามชาติอเมริกันทำการก่อกวนตั้งแต่ การยุยงให้คนงานบริษัทน้ำมันหยุดงาน ทำลายเครื่องจักร กักตุนอาหาร ไม่ยอมส่งออกไปจำหน่าย ทำให้อาหารขาดแคลน และ มีราคาแพง สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนอย่างแสนสาหัส ลอบส่งเงินออกนอกประเทศเพื่อทำลายเสถียรภาพของค่าเงินมากถึง 3.2 หมื่นล้านเหรียญ
เมื่อใช้วิธีการข้างต้นทุกประการแล้วยังไม่สำเร็จ กลุ่มของนายเปเรซที่เสียผลประโยชน์ก็ร่วมมือกับทหารกลุ่มหนึ่ง ก่อการรัฐ ประหาร และจับตัวประธานาธิบดีชาเวซควบคุมตัวไว้ 2 วันในเดือน เมษายน 2002 และแต่งตั้งนาย เพโดร คาร์โมนา เอสแทนกา ประธานกลุ่ม Fedcameras ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีได้ แค่ 2 วัน Fedcameras เป็นกลุ่มธุรกิจที่ใหญ่ที่สุด และเป็นผู้นำในการสั่งให้คนงานหยุดงานและหยุดขายสินค้า ร่วมกับ Consecomercio ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจผู้ ค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุด แต่ก็ต้องปล่อยตัวชาเวซออกมาเมื่อ ประชาชนทั้ง ประเทศ ที่เลือกชาเวซ ลุกฮือร่วมกันเรียกร้องให้ปล่อยตัวเขา
อันที่จริงกลยุทธนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่เลยในทวีปลาตินอเมริกา ในปี 1973 หรือ 30 ปีที่แล้ว ประธานาธิบดีอัลเยนเด้ ของประเทศชิลี ซึ่งได้รับการเลือกตั้งมาด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น และดำเนินนโยบายชาติประชานิยม โดยการโอนกิจการ อุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศ คือ เหมืองทองแดง และกิจการโทรคมนาคมเข้ามาเป็นของรัฐ
อัลเยนเด้จึงถูกก่อกวนด้วยการสร้างสถานการณ์ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมให้ปั่นป่วนด้วยวิธีการข้างต้น เช่นสหภาพ กรรมกรรถขนส่งหยุดงานประท้วง ไม่ยอมส่งสินค้าและอาหารไปเข้าร้านค้า มีการกักตุนอาหาร ส่งเงินออก นอก เพื่อทำลาย เสถียรภาพของค่าเงิน และก่อการรัฐประหารในที่สุดโดยการสนับสนุนของรัฐบาลอเมริกัน และบริษัท อเมริกัน หลายบริษัท ที่เด่นๆ คือ บริษัทไอทีที
อัลเยนเด้ถูกสังหารในทำเนียบเพื่อรักษาอุดมคติ ว่าเขาไม่ทอดทิ้งประชาชน โดยไม่ยอมหลบหนีออกไป ตาม คำแนะนำของกอง กำลัง รักษา ความ ปลอดภัย ของทำเนียบ นายพลปิโนเชต์ ผู้ก่อการรัฐประหาร หลังจากครองอำนาจได้กว่า 25 ปี ปัจจุบันกำลัง ถูกฟ้องในข้อหาคอรัปชั่น หลายคดี
กลยุทธต่อมาที่กลุ่มนายเปเรซและบริษัทน้ำมันอเมริกันใช้ คือ การล่ารายชื่อได้จำนวนมากพอให้มีการลงประชามติขับประธานาธิบดีชาเวซออกจากตำแหน่งหลังจากการเข้ารับตำแหน่งได้เพียง 2 ปีเศษ
แต่ประธานาธิบดีฮูโก ชาเวซ ก็ได้รับคะแนนเสียงยืนยันจากประชาชนทั้งชาติ มากถึงร้อยละ 58 ต่อ 42 ให้อยู่ในตำแหน่งต่อไป
การก่อกวนของกลุ่มผู้สูญเสียผลประโยชน์ทำให้เศรษฐกิจของประเทศเสียหายยับเยินมากถึง 7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในภาคการผลิตน้ำมัน จีเอ็นพีลดลงร้อยละ 27.6 ในปี 2003 หรือ ร้อยละ 76.7 ของภาคการผลิตที่ไม่ใช่ภาคน้ำมันรัฐ และคิดเป็นร้อยละ 17.5 ของภาคการผลิตน้ำมันของรัฐ
อัตราเงินเฟ้อซึ่งในระหว่างปี 1999-2001 รัฐบาลควบคุมไว้อยู่แล้ว ได้ถูกก่อกวนให้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 38.7 หรือ ประมาณ ร้อยละ 1.56 ต่อเดือนในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2003
อัตราว่างงานได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 16 และ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2003 ได้เพิ่มเป็น 20.7จากแรงงานทั้งหมด จำนวน 2.4 ล้านคน
เนื่องจากชาเวซเป็นประธานาธิบดีที่มีฐานมาจากประชาชนส่วนข้างมากที่ยากจน เขาจึงสามารถ ตอบโต้และ ใช้มาตร การต่างๆที่ได้รับความร่วมมือจากประชาชนมาช่วย เช่น การยึดโกดังคลังกักตุนอาหารของกลุ่มธุรกิจที่สนับสนุน อดีตประธานาธิบดีเปเรซ ให้นำออกมาจำหน่ายในตลาด จัดตั้งประชาชนเป็นสมาคมผู้บริโภค เพื่อเพิ่มอำนาจ ต่อรองใน การกำหนด ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น รวมทั้งการสร้างเครือข่ายตลาดจัดจำหน่ายสินค้า แบบตลาดนัด ทั่วทุก ชุมชน ทั่วประเทศเพื่อจำหน่ายสินค้าราคาถูกให้ประชาชน
นอกจากนี้ชาเวซยังออกกฏหมายมาควบคุมค่าเช่าไม่ให้ขึ้นสูงจนเกินไป และสั่งควบคุมการลอบส่งเงิน ตราออก นอกประเทศด้วย และจำกัดการใช้จ่ายของชาวเวเนซูเอลลาที่เดินทางออกนอกประเทศไม่ให้ใช้เกินคนละ 2000 เหรียญต่อปีเพื่อรักษาเสถียรภาพของค่าเงินด้วย


เส้นทางไม่ได้โรยด้วยดอกกุหลาบ
ประธานาธิบดี ฮูโก ชาเวซ เฟรียส์ เกิดที่เมือง ซาบานีตา รัฐบารินาส์ เมื่อวันที่ 28 กรกฏาคม 1954 หรือ พ.ศ. 2497 พ่อแม่เป็นครูทั้งคู่ เมื่อเขาเรียนจบโรงเรียนชั้นมัธยมปลาย พ่อแม่ก็ส่งเขาเข้าเรียนต่อโรงเรียนนายร้อยตามธรรมเนียมของกลุ่มประเทศลาตินอเมริกาที่ทหารเป็นผู้ปกครองประเทศด้วยการปฏิวัติและรัฐประหารมาโดยตลอด ดังนั้น ถ้าต้องการเห็นลูกหลานก้าวหน้า ก็ต้องส่งเข้าโรงเรียนทหาร(ค่านิยมเดียวกับของไทย ไม่รู้ว่าใคร่ลอกเลียนแบบใคร…….?.)
หลังจากเรียนจบและเข้ารับตำแหน่งในกองทัพแล้ว ในปี 1982 เขาได้ก่อตั้ง ขบวนการปฏิวัติชาวโบลิวาร์ขึ้นมาดำเนินการทางการเมือง และ ระหว่างปี 1989-1990 สมัครเข้าเรียนสาขาวิชารัฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย ซีมอน โบลิวาร์ ( ตั้งตามชื่อนักปฏิวัติที่ยิ่งใหญ่ของลาตินอเมริกา) ในเมืองคาราคัส
ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ในปี 1992 ชาเวซ ได้นำกำลังทหารเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลของประธานาธิบดี คาร์ลอส อ ันเดร เปเรซ ซึ่งถูกกล่าวหาว่าคอรัปชั่นและไม่ใส่ใจปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน การยึดอำนาจครั้งนี้ล้มเหลวและเขาถูกจับติดคุก 2 ปี
ในระหว่างติดคุก ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 1992 เขาได้ลอบอัดวิดิโอเทปตัวเองเรียกร้องทหารให้ลุกขึ้นมาก่อการรัฐประหารอีกครั้งหนึ่ง ในการลุกฮือครั้งนี้เกิดการต่อสู้กันมีผู้บาดเจ็บจำนวนหนึ่งและเสียชีวิต 230 คน แต่ก็ล้มเหลว
ประธานาธิบดีคนต่อมาของเวเนซูเอลลา ชื่อ คัลเดอราได้ประกาศนิรโทษกรรมชาเวซในปี 1994
เมื่อออกจากคุกแล้ว ชาเวซได้ก่อตั้งพรรคการเมืองชื่อ ขบวนการสาธารณรัฐที่ 5 หรือ MVR ขึ้นมา และในปี 1998 พรรคการเมืองแนวร่วมฝ่ายซ้ายที่มีพรรคเอ็มวีอาร์ของชาเวซเป็นผู้นำได้รับคะแนนเสียง ร้อยละ 34 ของรัฐสภาแห่งชาติ และเสนอชื่อเขาเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี
เขาได้รับชัยชนะด้วยคะแนนเสียงมากถึงร้อยละ 56 ของผู้ลงคะแนนเสียงทั้งหมดด้วยการชูคำขวัญ “ กอบกู้คนจน โค่นล้มกลุ่มผูกขาดเศรษฐกิจการเมือง “ ซึ่งมากที่สุดในรอบ 4 ศตวรรษ
ชัยชนะของชาเวซเป็นการสิ้นสุดและทำลายระบอบพรรคการเมือง 2 พรรค อันได้แก่ พรรค กิจประชาธิปไตย ( Democratic Action)-AD) และ พรรค สังคมนิยมคริสเตียน Christian Socialist Party-COPEI) ที่ล้วนปกป้องผลประโยชน์ของคนรวยด้วยการปล้นสดมภ์ผลประโยชน์ของชาติและคนจนตลอดระยะเวลา 40 ปีที่ผ่านมา

นโยบายชาติประชานิยม
นโยบายของประธานาธิบดี ชาเวซ คือ การเลือกทางสายกลางระหว่างระบบคอมมิวนิสม์และระบบทุนนิยม โดยยึดถืออุดมการณ์ของซีมอน โบลิวาร์ นักปฏิวัติทวีปนิยมที่ยิ่งใหญ่ของลาตินอเมริกา
ชาเวซได้ปฏิรูปทางการเมืองใหม่โดยสร้างกระบวนประชาธิปไตยใหม่โดยการจัดตั้งองค์กรประชาสังคมที่มีสมาชิกไม่เกิน 30 ครอบครัว เรียกว่า องค์กรชีวิตชุมชน หรือ Community Living Organization –OCVs ในทุกชุมชน ทุกเขต ทุกจังหวัด รวมทั้งในเมืองหลวง แล้วจัดสรรงบประมาณจากภาษีอากร และจากรายได้จากน้ำมันให้องค์กรเหล่านี้ไปดำเนินการในเรื่องการสุขอนามัย การศึกษา การฝึกอาชีพ สร้างสถานอนุบาลเด็กอ่อน
ชาเวซได้ตั้งกระทรวงใหม่ขึ้นมาอีก ๓ กระทรวง คือ กระทรวงการเคหะ เพื่อจัดการแก้ปัญหาคนไร้บ้านให้มีบ้านอยู่กันทุกคน กระทรวงอาหารเพื่อแก้ปัญหาความอดอยากของประชาชนโดยเฉพาะเด็ก และกระทรวงพลัง เศรษฐกิจรากหญ้า เพื่อประสานงานกับกระทรวงและหน่วยงานของรัฐอื่นๆเพื่อปล่อยสินเชื่อรายย่อยให้ประชาชนรากหญ้า บริษัทขนาดเล็ก และขนาดกลาง ให้ตั้งตัวได้
นอกจากนี้ยังได้จัดสรรงบประมาณอีก ๔๐๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 1.6 แสนล้านบาท สำหรับดำเนินการโครงการเร่งด่วน ๑๐ โครงการที่เรียกว่า “พันธกิจของรัฐ” ให้ความช่วยเหลือด้านปัจจัยดำรงชีพ เช่น อาหาร บ้าน การศึกษา และสาธารณสุขให้กับประชาชนระดับรากหญ้าจำนวนหลายล้านคนที่มีมาตรฐานชีวิตต่ำกว่าเส้นความยากจนได้มีบ้าน และสามารถอ่านออกเขียนได้
คนแก่ทุกคนได้รับเงินบำนาญเลี้ยงดู ประจำเดือน นอกจากนี้ประธานาธิบดีชาเวซยังได้ผูกมิตรกับประเทศคิวบาโดยการขายน้ำมันให้ในราคาพิเศษวันละ 53000 บาเรล แลกกับหมออาสาสมัครชาวคิวบาจำนวน 3 พันคนที่เข้ามาประจำการ 24 ชั่วโมง เพื่อดูแลคนป่วย คนแก่ และเด็กโดยรัฐไม่คิดเงินแม้แต่ค่ายาก็ไม่ต้องจ่าย
โครงการนี้ใช้รายได้จากการขายน้ำมันของประเทศมาเป็นค่าใช้จ่าย นับเป็นครั้งแรกในรอบ ๔๐ ปีที่ผลประโยชน์ จากทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีมากที่สุด คือ น้ำมันได้กลับคืนมาให้ประชาชนเจ้าของประเทศ ผู้เป็นเจ้าของ ทรัพยากร ที่แท้จริงได้
จากนโยบายข้างต้น ในเวลา 4 ปีชาเวซสามารถลดอัตราการตายของทารกกแรกเกิดจาก 24 ต่อ 1000 คน ลงเหลือ 17 คนต่อ 1000 คน หรือ ร้อยละ 30 เพราะว่าแม่ลูกอ่อนคนจนมีโอกาสได้รับการดูแลในโรงพยาบาล และทารกได้รับการฉีดวัคซีนอย่างทั่วถึงครบทุกประเภท โดยเฉพาะโรคไวรัสลงตับ บีที่ลดลงร้อยละ 15
ประชากรจำนวน 1 ล้านคนที่เคยอ่านหนังสือไม่ออก ก็สามารถอ่านออกเขียนได้ด้วยนโยบายทุ่มเท งบประมาณ ให้การศึกษาทั้งในระบบ และนอกระบบ
ผลผลิตน้ำมันของเวเนซูเอลลาได้ส่งออกให้ตลาดในประเทศสหรัฐอเมริกาคิดเป็นร้อยละ ๑๕ ของยอดใช้น้ำมัน ของ สหรัฐอเมริกา ดังนั้นอเมริกาจึงมีบทบาทอย่างมากในการร่วมมือกับพรรคการเมืองและนักการเมืองหน้าเก่า ๒ พรรค ร่วมกันบ่อนทำลายเสถียรภาพของประธานาธิบดีชาเวซในทุกด้าน
ประธานาธิบดีชาเวซไม่ยอมให้ผลประโยชน์น้ำมันของชาติถูกนักการเมืองฉกฉวยเอาไปเข้ากระเป๋าตนเองและสมัครพรรคพวก หรือขายให้ ต่างชาติในราคาถูกๆอีก โดยการกำหนดไว้ใน รัฐธรรมนูญ เลยว่า ส่วนแบ่งผลประโยชน์จาก น้ำมัน จะให้เอกชน ได้รับในสัดส่วน ที่มากกว่ารัฐไม่ได้ ตรงกันข้ามกับของไทยซึ่งรัฐวิสาหกิจ ที่มีกำไรมักจะ ส่งรายได้ เข้าคลังน้อยมาก
แต่เดิมน้ำมันที่ขุดได้จ่ายภาษีเพียงร้อยละ ๑๖.๖ แต่ในปี ๒๐๐๑ ชาเวชได้ขึ้นเป็นร้อยละ ๓๐ ของราคาน้ำมัน ที่ขาย ปลีกใน แต่ละ บาเรล(คิดที่ปลายทางจากยอดปริมาณการขายต่อบาเรล ซึ่งทำให้หลีกเลี่ยงได้ยากกว่าคิดจากผลกำไรรวม ซึ่งมักจะบวกค่าใช้จ่ายให้สูงไว้เพื่อจะได้มีกำไรน้อยๆ) อันเป็นการอุดช่องโหว่การ รั่วไหล ของรายได้ ของรัฐ แล้วนำราย ได้มา เป็นค่าใช้ จ่ายด้าน การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
นอกจากนี้ ประธานาธิบดีชาเวซยังเป็นตัวตั้งตัวตีในการจัดประชุมกลุ่มประเทศผลิตน้ำมัน โอเปกที่เมืองหลวง คาราคัสของตนเพื่อจำกัดปริมาณการผลิตของแต่ละประเทศ ทั้งนี้เพื่อรักษาราคาน้ำมันของโลกให้เจ้าของบ่อน้ำมันมีกำไร ซึ่งตรงกันข้ามกับนโยบายของรัฐบาลที่ผ่านมาที่ดำเนินนโยบายตามคำสั่งของกลุ่มบริษัทน้ำมันข้ามชาติที่ต้องการทำให้โอเปกแตกแยก โดยการให้เวเนซูเอลลาไม่ปฏิบัติตามนโยบายการจำกัดการผลิตเพื่อรักษาราคาน้ำมันโลกให้สูงไว้ ทั้งๆที่เวเนซูเอลลาเป็นหนึ่งในประเทศผู้ร่วมก่อตั้งโอเปก ซึ่งประเทศเจ้าของบ่อน้ำมันจะได้ประโยชน์มากกว่า การเพิ่มปริมาณการผลิต แล้วทำให้ราคาน้ำมันลดลง ทำให้ประเทศอุตสาหกรรมที่ใช้น้ำมันจะได้ประโยชน์ โดยเฉพาะอเมริกาที่เป็นลูกค้ารายใหญ่ของเวเนซูเอลลา
ในปี 2007 ชาเวซประกาศซื้อกิจการโทรคมนาคมของชาติ ชื่อ Compania Anonima Nacional de Telefonos - CANTV ซึ่งเป็นเจ้าของสถานีโทรทัศน์ด้วย ( (เหมือนกับ บริษัทชิน ที่เป็นเจ้าของไอทีวีด้วย) คืนจากบริษัทต่างชาติ=Verizon ของอเมริกา
Electriccidad de Caracas ซึ่งเป็นบริผู้ให้บริการไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดของเวเนซูเอลลา ซึ่งบริษัท AES Corp. ที่มีบริษัทแม่อยู่ในมลรัฐ Virginia –ของอเมริกาเป็นเจ้าของ และถูกแปรรูปไปในสมัยรัฐบาลฉ้อฉล ทำให้ชาวเวเนซูเอลลาต้องจ่ายค่าไฟฟ้าแพงมาเป็นเวลานาน





ที่ดินต้องเป็นของผู้ไถหว่าน
ในประเทศเวเนซูเอลลา ที่ดินร้อยละ 60 อยู่ในการถือครองของเจ้าที่ดินจำนวน ร้อยละ 2 ของประเทศ คือ ประชากรร้อยละ 2 ถือครองที่ดินมากถึงร้อยละ 60 ของประเทศ (ไม่ต่างจากประเทศไทยมากนัก)
นโยบายของชาเวซ คือ การใช้ระบบภาษีเข้ามาแก้ปัญหา โดยการออก พ.ร.บ. ภาษีที่ดินใหม่ มาเก็บภาษีผู้ที่กักตุนที่ดินโดยไม่ทำประโยชน์ในผืนดินนั้น นอกจากนี้ เมื่อพ้นระยะเวลากำหนดแล้ว ยังไม่ทำอะไร รัฐบาลก็จะยึดที่ดินกลับคืนมาทำประโยชน์
นอกจากนี้ที่ดินที่เอกชนรุกล้ำยึดมาอย่างผิดกฎหมายก็จะถูกยึดคืนมาให้กับเกษตรที่ยากจนได้ทำกินในรูปของสหกรณ์ที่รัฐยังเป็นเจ้าของที่ดินอยู่ แต่ รัฐเป็นผู้จัดหาเงินทุน เครื่องมือ รวมทั้งสร้างบ้านและดรงเรียนให้ กับสหกรณ์
ชาเวซได้ปฏิรูปที่ดินโดยการแจกจ่ายที่ดินจำนวน 7.5 ล้านเอเคอร์ หรือ ๑๘.๗๕ ไร่ให้กับเกษตรกรที่ไร้ที่ดินทำกินจำนวน 1 แสน 2 หมื่นคนให้มีที่ทำกิน (ที่ดินที่ได้รับมานี้ห้ามขายต่อ ถ้าเลิกทำก็ต้องคืนกลับให้รัฐ)
รัฐบาลยังได้จัดหารถแทรกเตอร์อีกจำนวน ๒๐๐๐ คันจากประเทศจีนและบราซิลซึ่งมีราคาถูกมาให้กับ สหกรณ์เหล่านี้ด้วย
นอกจากนี้ ชาเวซยังกำหนดนโยบายเกษตรกรรมของชาติห้ามการปลูกพืชจีเอ็มโอทุกประเภท ในผืนดินของ เวเนซูเอลลา โดยยกเลิกข้อตกลงซึ่งรัฐบาลก่อนหน้าเขาได้ไปทำสัญญากับบริษัทมอนซานโตยักษ์ใหญ่ด้านเมล็ดพันธุ์ ของอเมริกัน ให้ใช้เนื้อที่ 1.25 ล้านไร่ในประเทศเวเนซูเอลลาปลูกถั่วเหลือง
นอกจากนี้แล้วชาเวซยังได้ก่อตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์พืชพื้นเมืองเพื่อรักษาเมล็ดพันธุ์พืชพื้นเมืองไว้เป็นมรดก สำหรับ เกษตรกรทั่วโลกอีกด้วย


การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ประธานาธิบดีชาเวซได้ปล่อยนักโทษจำนวนมาก โดยเฉพาะนักโทษการเมือง เพราะว่าในระหว่างที่เขาติดคุก เขาได้ข้อมูลว่า มีนักโทษจำนวนมากที่ติดคุกโดยไม่ผ่านกระบวนการพิจารณาคดีของศาลสถิตยุติธรรม เขาติดตั้งคอมพิวเตอร์ในคุกให้นักโทษเรียนรู้ หรือเขียนเรื่องราวชีวิตของตนออกเผยแพร่ ปล่อยกู้ให้นักโทษเปิดกิจการขนาดเล็กในคุกขายกันเอง เช่น ร้านขนมปังและคุกกี้
นักโทษชั้นดีจะได้รับการปล่อยตัวออกไปทำงานในเวลากลางวันและกลับมาติดคุกในเวลากลางคืน
ประธานาธิบดีชาเวซได้สร้างโรงเรียนใหม่ ๓๐๐๐ แห่ง คิดเป็นร้อยละ ๑๐ ของโรงเรียนที่มีอยู่เดิม เด็กนัก เรียนทุกคนจะได้รับอาหารเช้าก่อนเข้าห้องเรียน ชาเวซกล่าวว่า หากเด็กท้องหิวแล้วก็คงจะเรียนไม่รู้เรื่อง จึงมีนโยบาย ให้กินอาหารอิ่มก่อนเข้าห้องเรียน นอกจาากอาหารเที่ยงแล้วเด็กยังได้รับน้ำผลไม้และคุ๊กกี้ในตอนบ่ายอีกด้วย
จำนวนนักเรียนที่เข้าสู่ระบบได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 30
สนามกีฬา และโรงละครเกิดขึ้นใหม่มากมายทั่วทุกชุมชนเพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสใช้สิทธิทางวัฒนธรรมตามหลักการสิทธิมนุษยชนสากล เด็กคนไหนอยากเล่นกีฬาอะไรก็ได้เล่น โดยมีเครื่องมือ และอุปกรณ์พร้อม ในศูนย์ กีฬาชุมชน
จากนโยบายข้างต้น นายมาซา ซาวาลา ผู้อำนวยการธนาคารกลางแห่งชาติได้ประเมินตัวเลข อัตราการเติบโต ทางเศรษฐกิจไว้ที่ร้อยละ ๑๒ ในปี ๒๐๐๔ เพราะว่าในไตรมาสแรกอัตราการเติบโตสูงถึงร้อยละ ๒๙.๘ เมื่อเทียบกับ ไตรมาสของปีที่แล้วซึ่งมีการยุยงให้ผละงานทำให้ จีดีพีลดลงถึงร้อยละ ๒๗.๘ ส่วนภาคการผลิตน้ำมันและอุต สาหกรรม เกี่ยวเนื่องลดลงถึงร้อยละ ๔๗ ประเทศทั้งประเทศเกือบจะเป็นอัมพาต
ในไตรมาสแรกของปี ๒๐๐๔ ภาคอุตสาหกรรมอื่นๆเติบโตมากถึงร้อยละ ๔๘ การก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๙.๕ การค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๗.๙ ส่วนด้านการขนส่งและการโกดังสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๕.๓
นโยบายชาติประชานิยมแท้ถ้าหากว่านำมาใช้จริงก็สามรถพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมให้เติบโตและ ยั่งยืนอย่างพอดี และเป็นธรรมมากกว่า นโยบายเสรีนิยมใหม่ซึ่งหลีกไม่พ้นที่จะสร้างปัญหาสังคมในด้านคนว่างงานเพิ่มขึ้น ช่องว่าง ระหว่างคนจนคนรวยเพิ่มขึ้น ปัญหาอาชญากรรมเพิ่มขึ้น การขาดดุลการค้า การขาดดุลชำระเงิน เงินเฟ้อ และหนี้ต่างประเทศเพิ่ม ในที่สุดก็ต้องกู้เงิน จาก ไอเอ็มเอฟ มาแก้ปัญหาและต้องรับเงื่อนไขขายชาติ ขายประชาชน ขายทรัพย์สิน และทรัพยกร ของแผ่นดินให้ต่างชาติไปหมด




หนังสืออ้างอิง

DeRosa, Mike. 2003. “ The Bush-Venezuelan Coup: One Year Later”. The Connecticut Green Party. 28 March 2003.
Ellsworth, Brian. 2004. “Chavez’s Social Reforms Impress American Liberals U.S.’’ . Sun-Sentinel. 6 October 2004.
Marquez, Humberto. “Chavez to Further Strengthen Social Reforms”. Third World Resurgence 169-170 : pp. 42-43.


Web site:
http://www.alternet.org
http://www. Ctgreens.org
http://www.embavenez-us.org
http://www.globalpolicy.org
http://www.handsoffvenezuela.org
http://www.infoplease.com
http://www.marxist.com
http://www.redpepper.org.uk
http://www. Venezuelanalysis.com
http://www.vheadline.com